12 ม.ค. 2567 18,015 30

ดีอี ร่วมกับ ปปง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยึดทรัพย์เครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ พื้นที่ 3 จังหวัด มูลค่ากว่า 1,205 ล้านบาท

ดีอี ร่วมกับ ปปง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยึดทรัพย์เครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ พื้นที่ 3 จังหวัด มูลค่ากว่า 1,205 ล้านบาท

ดีอี ร่วมกับ ปปง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยึดทรัพย์เครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด มูลค่ากว่า 1,205 ล้านบาท


กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับ สำนักงาน ปปง. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าว “รายคดีสำคัญ” พร้อมเปิดปฏิบัติการกวาดล้างยึดทรัพย์และทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ 3 จังหวัด เชียงใหม่ –นนทบุรี และกรุงเทพฯ จำนวน 13 จุด ยึดทรัพย์มูลค่ากว่า 1,205 ล้านบาท


ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย สุทธิเกียรติ วีระกิจพานิช ที่ปรึกษารัฐมนตรีดีอี, เทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ปปง.), พลตำรวจเอก รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ วิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมายและโฆษกประจำสำนักงาน ปปง. ร่วมแถลงข่าวปฏิบัติการยึดทรัพย์เครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัด 


ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาล โดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งการให้ดีอี เร่งปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ พร้อมเน้นย้ำการทำงานใกล้ชิดร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์อย่างเด็ดขาด โดยได้จัดตั้งศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ AOC 1441 เพื่อให้เป็น One Stop Service แก้ปัญหาออนไลน์แก่ประชาชน โดยให้บริการ 24 ชั่วโมง ตลอดจนมี War-room ในการติดตามสถานการณ์ สั่งการปฏิบัติการป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์อย่างทันเวลา รวมทั้งการบูณาการความร่วมมือด้านการสืบสวนสอบสวน เพื่อดำเนินคดีอาชญากรรมออนไลน์และขยายผลไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดการติดตามทรัพย์สินให้กับผู้เสียหาย ทั้งนี้จากความร่วมมือกันทำงานอย่างเข้มข้น ได้นำมาสู่นำมาสู่การจับกุมคดีสำคัญ และดำเนินการผู้กระทำความผิด และคุ้มครองสิทธิ์ผู้เสียหายได้เป็นจำนวนมาก ดังนี้  


คดี ธารารัตน์ฯ กับพวก ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน         มีพฤติการณ์กระทำความผิดในลักษณะ ร่วมกันกระทำความผิดเป็นขบวนการ ทั้งในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์  โดยใช้วิธีการโทรศัพท์สุ่มเข้ามาหลอกลวงประชาชน แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ และหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการโพสต์ข้อความผ่าน Facebook เพื่อชักชวนให้บุคคลทั่วไปมาแลกเปลี่ยนเงินสกุลบาทเป็นเงินสกุลหยวนในอัตราที่ถูกกว่าอัตราแลกเปลี่ยนของสถาบันการเงิน โดยมีผู้เสียหายหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก

จากการสืบสวนพบว่า กลุ่มของนางสาวธารารัตน์ฯ กับพวก มีการโอนเงินมากกว่า 3 พันล้านบาท ไม่สอดคล้องกับอาชีพรายได้ รวมทั้งกลุ่มผู้กระทำความผิดดังกล่าวมีการโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากของกลุ่มผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเว็บพนันออนไลน์ และทำธุรกรรมเพื่อปกปิด อำพราง ซ่อนเร้น หรือยักย้ายถ่ายเทเงินและแปลงสภาพเป็นทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย โดยในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ณ สำนักงาน ปปง. คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพิ่มเติมไว้ชั่วคราว มูลค่าประมาณ 924 ล้านบาท


สำหรับปฏิบัติการเข้าตรวจค้นในครั้งนี้ ทางสำนักงาน ปปง. ร่วมกับตำรวจไซเบอร์ลงพื้นที่ตรวจค้นและยึดทรัพย์เครือข่ายของผู้กระทำความผิดในรายคดีดังกล่าว เป้าหมาย 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ จำนวน 4 จุด นนทบุรี จำนวน 2 จุด และกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 จุด รวม 13 จุด  ผลจากการเข้าตรวจค้นพบทรัพย์สินผลการเข้าตรวจค้นพบทรัพย์สินเพิ่มเติมจำนวนหลายรายการ รวมมูลค่าประมาณ 161.5 ล้านบาท และตรวจพบบ้านพักหรู จำนวน 2  หลัง รวมมูลค่าประมาณ 120 ล้านบาท  ซึ่งได้ยึดไว้และดำเนินการตรวจสอบตามกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ ในคดีความผิดที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน หรือการฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระในคดีรายอื่นๆ สำนักงาน ปปง. อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหายเพื่อดำเนินการคุ้มครองสิทธิฯ โดยให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายในรายคดีที่เกี่ยวข้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานแสดงรายละเอียดแห่งความเสียหายและจำนวนความเสียหายที่ได้รับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานปปง. ภายในระยะเวลา 90 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามแต่คดี โดยผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์สำนักงาน ปปง. (www.amlo.go.th


“กระทรวงดีอี และพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มีความมุ่งมั่นที่จะกวาดล้างอาชอาญกรรมทางเทคโนโลยีทุกรูปแบบ ทั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซิมผี-ซิมม้า พนันออนไลน์ หลอกโหลดแอป และอื่นๆ เพื่อลดความเสียหายและลดความเสี่ยงให้กับพี่น้องประชาชนทุกคน รวมทั้งหามาตรการใหม่ๆ เพื่อยับยั้งการทำงานของมิจฉาชีพด้วย และบูรณาการการทํางานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เมื่อได้รับแจ้งจาก ผู้เสียหาย” ประเสริฐ กล่าว


ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถโทรปรึกษาสายด่วน AOC 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง