8 ก.พ. 2567 10,183 2

ข้อมูลของคุณปลอดภัยมากแค่ไหน? ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ธุรกิจเข้าถึงได้ ลดความเสี่ยงการโจรกรรมข้อมูลด้วยเรียลไทม์ AI และ ML

ข้อมูลของคุณปลอดภัยมากแค่ไหน? ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ธุรกิจเข้าถึงได้ ลดความเสี่ยงการโจรกรรมข้อมูลด้วยเรียลไทม์ AI และ ML

องค์กรธุรกิจต้องเร่งปรับกลยุทธ์ด้านความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายและการหยุดชะงักของธุรกิจจากการถูกโจมตีระบบและข้อมูลสำคัญ ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ หนึ่งในธุรกิจของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการดิจิทัลครบวงจรในกลุ่มทรู ผู้นำโทรคมนาคม-เทคโนโลยี เดินหน้าพัฒนาโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ส่งเสริมความยั่งยืนในการทรานสฟอร์มธุรกิจ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด  ควบคู่กับความปลอดภัยขั้นสูง

จุดแข็งของระบบบริหารจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และ ML (Machine Learning) สามารถตรวจจับความผิดปกติและตอบสนองการโจมตีได้อัตโนมัติแบบเรียลไทม์  พร้อมกระบวนการด้านความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมบริการด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น บริการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Operation Center – SOC)  Managed Security Services บริการ Outsource การบริหารจัดการระบบความปลอดภัยไซเบอร์ และบริการให้คำปรึกษาด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ อาทิ การประเมินความเสี่ยง การปกป้องข้อมูลรั่วไหล และปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และบริการค้นหาช่องโหว่และจุดอ่อนของระบบ เพื่อสร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งให้องค์กรธุรกิจทุกขนาด ในทุกอุตสาหกรรม สามารถรับมือกับภัยไซเบอร์และการโจมตีระบบบนโลกดิจิทัลทุกรูปแบบ พร้อมร่วมขับเคลื่อนการเติบโตยั่งยืนของสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ 


ฐิติรัตน์ ศิริพัฒนาเลิศ หัวหน้าสายงานด้านความปลอดภัยระบบข้อมูลสารสนเทศ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า การทรานสฟอร์มและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น ทำให้องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปี 2566 ที่ผ่านมา สถิติภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ของประเทศไทยมีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึงเท่าตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยเป็นเป้าหมายใหญ่ของการโจมตี รองมาคือ หน่วยงานราชการ ธุรกิจประกันภัย และธุรกิจค้าปลีก นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ยังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการโจมตี เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ของธุรกิจ SMEs ยังไม่เพียงพอ รวมถึงการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ปัจจุบัน SMEs มีความเสี่ยงที่จะเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์สูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ถึง 3 เท่า

แนะธุรกิจทุกขนาดปรับกลยุทธ์ความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ หนึ่งในธุรกิจของทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ตรงความต้องการและได้ประโยชน์มากขึ้น บนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ที่มีระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง เพื่อรองรับการทรานสฟอร์มธุรกิจ (Business Transformation) ที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีระบบปฏิบัติการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการเก็บข้อมูลสำคัญในระบบดิจิทัล เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น อาจมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย เสี่ยงต่อการถูกโจมตีระบบหรือโจรกรรมข้อมูล อีกทั้งผู้โจมตียังมีความสามารถในการคิดค้นและใช้เครื่องมือใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง องค์กรธุรกิจจึงต้องเร่งปรับกลยุทธ์ด้านความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยให้ความสำคัญใน 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และสร้างความตื่นตัวต่อภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรทุกระดับ 2) การปรับเปลี่ยนระบบความปลอดภัยในกระบวนการและระบบต่างๆ ขององค์กร และ3) การลงทุนในเทคโนโลยีและระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและคุ้มค่าในการจัดการความเสี่ยงจากภัยคุกคาม  ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อธุรกิจ ทั้งความเสียหายด้านการเงิน สูญเสียโอกาสทางการตลาดจากธุรกิจที่สะดุดหรือไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้ รวมถึงความน่าเชื่อถือขององค์กร


เกราะป้องกันภัยคุกคาม ด้วยระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่เหนือกว่า

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้  เดินหน้าพัฒนาโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งมอบบริการระดับมืออาชีพ ให้ทุกองค์กรมั่นใจได้มากกว่า ด้วยหลากหลายจุดเด่น ดังนี้

· ขับเคลื่อนระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยี ML และ AI เพิ่มขีดความสามารถในการคาดการณ์การโจมตีระบบบนโลกไซเบอร์ ทั้งการตรวจจับความผิดปกติ  วิเคราะห์ แจ้งปัญหาได้แบบเรียลไทม์ และเชื่อมโยงกับระบบอัตโนมัติ ทำให้ตอบสนองต่อการโจมตี ตัดกระบวนการโจมตีได้อย่างทันท่วงที

· การันตีมาตรฐานสากลในการให้บริการแบบ Secure Digital Transformation and Operation อาทิ ระบบความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO 27001

· ทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองชั้นนำระดับโลก  อาทิ CISSP, CISM, GIAC, OSCP เป็นต้น ช่วยดูแลความปลอดภัยให้ธุรกิจต่อเนื่องทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

· ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และพันธมิตรชั้นนำ ในการพัฒนาบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตลอดจนร่วมกันผลักดันการสร้างความตระหนัก และเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ครบวงจร ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม

ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความท้าทายด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความซับซ้อนในการพัฒนาระบบ รวมถึงการลงทุนอุปกรณ์และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้ จึงพัฒนาโซลูชันและบริการที่สามารถตอบโจทย์และเติมเต็มความต้องการขององค์กรธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในทุกอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทุกรูปแบบได้อย่างทันท่วงที

·       Security Operations Center (SOC) ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัย ให้บริการที่เหนือกว่าด้วย Next Generation SOC ใช้เทคโนโลยี AI และ ML ช่วยจัดการภัยคุกคามแบบอัตโนมัติ  ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจจับภัยคุกคาม ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาและรับมือได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO/IEC 27001:2013

·       Managed Security Services บริการ Outsource เพื่อการบริหารจัดการระบบความปลอดภัยไซเบอร์ ที่ช่วยให้องค์กรทุกขนาดมีระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่เหมาะสม โดยไม่ต้องกังวลเรื่องบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและการลงทุนในระบบความปลอดภัย

·       Governance Risk and Consulting บริการให้คำแนะนำปรึกษาด้านการประเมินความเสี่ยง บริหารระบบความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO 27001

·       Offensive Cybersecurity บริการทดสอบเจาะระบบ และค้นหาช่องโหว่ ในการเข้าถึงระบบต่างๆ รวมถึงจำลองเหตุการณ์การโจมตีในระบบเพื่อค้นหาจุดอ่อนในการเข้าถึงระบบ

·       PDPA and Data Protection  บริการให้คำปรึกษาในการปกป้องข้อมูลรั่วไหล และปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล



ฐิติรัตน์  กล่าวให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมและตอบคำถาม Adslthailand.com ต่อด้วยว่า “ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้” มีความตั้งใจอยากให้ทุกองค์กร มีการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเรื่องของไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็จะทำให้เกิดช่องโหว่ มีการโจมตีเพิ่มมากขึ้น มีการนำเรื่องของการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์มาสร้างรากฐานให้กับเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความปลอดภัย เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทย มีความยั่งยืนเรื่องของสังคมและเศรษฐกิจ เป็นสังคมดิจิทัลที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีความปลอดภัยด้วย

นอกจากนี้ ทรู ดิจิทัล มุ่งเน้นกลุ่มของธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้เพื่อเป็นรากฐานให้บริษัทได้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถใช้งานได้ เข้าถึงได้ และมีความปลอดภัย เพื่อให้ทุกองค์กรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นจึงออกแบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่องค์กรใหญ่ เพราะเมื่อเกิดการโจมตี องค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีความเสียหายค่อนข้างสูง จึงต้องมุ่งเน้นให้มีความสามารถในการป้องกัน และรับมือความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทรู ดิจิทัลได้รังสรรค์เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์องค์กรขนาดเล็ก ทำให้สามารถใช้งานง่าย มีค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้ เพื่อตอบโจทย์องค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้เข้ามาช่วยพัฒนา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ในการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วมีจุดโหว่ องค์กรมีความไม่เข้าใจในการใช้งาน เกิดความไม่ปลอดภัย ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ก็อยากให้องค์กรมีความปลอดภัยทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น มีการสร้าง Foundation ทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ให้ครบในทุกเทคโนโลยี



"ในการนี้ ทาง ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้นำสื่อมวลชน เยี่ยมชม ห้อง SOC เรามักจะได้ยินในมุมของห้อง Network คือ NOC Network Operation Center คอยมอนิเตอร์พวกอุปกรณ์ Network ต่างๆ ส่วน SOC คือ Security Operation Center ทำหน้าที่ในการมอนิเตอร์พวก Cyber Threat ที่เกิดขึ้น จากอุปกรณ์ Log ที่เราได้รับมาจากลูกค้า หน้าที่ของเราคือการรวบรวม Log ทั้งหมด การทำงานของอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Server, Firewall, Web Application Firewall หรืออุปกรณ์ Security ต่างๆ AntiVirus รวบรวมเข้ามา แล้วก็เอามาทำการ colidate ระหว่างพวก Log ต่างๆ มาหาพฤติกรรมน่าสงสัยที่เกิดขึ้น ว่ามีพฤติกรรมใดน่าสงสัยหรือไม่ เป็นเหตุการณ์ที่ตรงกับการโจมตีของแฮกเกอร์หรือเปล่า เราก็จะมี Use Case ต่างๆ ในการโจมตีในแต่ละประเภท โดยจะมีทีม L1 เข้าไป Take Action ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงนี้ ข้อมูลทุกอย่างครบถ้วนหรือยัง เพื่อตรวจสอบเบื้องต้นให้ลูกค้าก่อน จากนั้นค่อยแจ้ง Alert ให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้ไปตรวจสอบแก้ไขการทำงานเพิ่มเติม ซึ่งเราก็จะมีการแนะนำให้ว่าควรแก้ไขตรงไหน ทำให้ลูกค้ามีความปลอดภัย ตอนนี้ ศูนย์ SOC มีผู้เชี่ยวชาญดูแลประมาณ 80 คน ดูแลลูกค้าทั้งหมด"

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ช่วยเสริมเกราะความปลอดภัย เพราะทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ต ตามมาด้วยข้อมูล ที่ทำให้องค์กรตกเป็นเหยื่อ ขโมยข้อมูล Ransomware เข้ามา ปัจจุบันข้อมูลไม่ได้อยู่แค่บนเซิร์ฟเวอร์ แต่อยู่บน Cloud อยู่บน Infrastructure อยู่บนซอฟต์แวร์ของ Service Provider องค์กรต้องการความปลอดภัยของข้อมูล และช่วงปีที่ผ่านมา การโจมตีภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้น ในช่วง 2 เดือนที่แล้ว ปีที่แล้วก็ได้เพิ่มเติมการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ในกลุ่ม SMEs ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งช่วงปีที่ผ่านมา กลุ่มนี้ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของ ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ยังไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ ซึ่งเมื่อเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ ทำให้เกิดความเสียหาย องค์กรหยุดชะงัก ไม่สามารถให้บริการงานได้ จึงทำให้องค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง หันมาสนใจเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เพิ่มมากขึ้น เริ่มสร้างการตระหนักรู้ในกลุ่มองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ก็เลยมีโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ในงบประมาณที่จับต้องได้
 
"ช่วงที่ผ่านมา ทั่วโลกพบกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ ซึ่งมีการมอนิเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงการสังเกตพฤติกรรมแปลกๆ บนเครือข่าย ที่อาจจะมีการโจมตีในช่วงกลางดึก ตี 1 - 2 ตื่นมาตอนเช้า 9 โมง พนักงานก็ทำงานได้ตามปกติ มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการรับมือและรองรับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ในการเรียนรู้พฤติกรรมการโจมตีทางไซเบอร์ในองค์กร ใช้เวลาค่อนข้างนาน ประมาณ 277 วัน ในการศึกษาพฤติกรรมทางไซเบอร์ พบว่ามีการพยายามที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อขายในตลาดมืด องค์กรมีการใช้งาน Cloud Infrastructure เพิ่มสูงขึ้น มุ่งเน้นการโจมตี Cloud Infrastructure เพิ่มขึ้น 99% ปัจจุบันมีการโจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบ เช่น Windows และโจมตีผ่านมัลแวร์สูงถึง 27%"
 
ในเรื่องของเทคนิคการโจมตี 50% เป็นการนำ Ramsomware เข้ามาเจาะข้อมูล เรียกค่าไถ่ให้จ่ายเงิน อีก 25% เป็นการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรไปขายในตลาดมืด อีกประมาณ 8% เป็นการส่งอีเมลหลอกลวงในองค์กร ให้พนักงานที่ตกเป็นเหยื่อกดคลิก - เปิดไฟล์แนบ ไฟล์ต้องสงสัย เพื่อนำไปสู่การโจรกรรมข้อมูลต่อไป

"ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อ 1 ครั้ง มีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 110 ล้านบาท ในกรณีที่ถูกโจรกรรมข้อมูลออกไป ทำให้องค์กรจะต้องชดเชยค่าเสียหายให้กับลูกค้า ธุรกิจ SME มักจะมองว่า ตัวเองไม่ตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ เนื่องจากเป็นองค์กรขนาดเล็ก น่าจะมุ่งเป้าไปที่องค์กรขนาดใหญ่มากกว่า แต่จากการวิเคราะห์ พบว่า 71% ของธุรกิจ SME ยอมรับว่า ตนเองเคยถูกโจมตีทางด้านไซเบอร์ เมื่อประสบเหตุ การรับมือทำได้ไม่ดีนัก และกระทบ ความสามารถในการแข่งขัน และทำให้สูญเสียลูกค้าไปประมาณ 30% ดังนั้น SME จึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการโจมตี"


Market Size หรือส่วนแบ่งการตลาดของ Cybersecurity ในไทย

ในปี 2567 ส่วนแบ่งการตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยรวมอยู่ที่ ประมาณ 13,000 ล้านบาท ทั้งในแง่ของการให้บริการด้านการให้คำปรึกษา ประเมินความเสี่ยง และให้บริการไซเบอร์ซีเคียวริตี้โซลูชั่น มีลูกค้าต่างประเทศมากกว่า 100 รายใน 10 ประเทศ ในโซนเอเชีย มีพาร์ทเนอร์ ให้บริการลูกค้าในราคาที่เข้าถึงได้ โดยลูกค้าต่างชาติ จะมี อินเดีย เวียดนาม อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สัดส่วนรายได้ ต่างประเทศ 20% ในไทยเป็น 80% ดูแลคอมพิวเตอร์ลูกค้ามากกว่าแสนเครื่อง ทำให้ลูกค้ามั่นใจ ในลูกค้า 100 ราย มีสัดส่วนลูกค้า SMEs 5% นอกนั้นเป็น Enterprise อยากได้ลูกค้า SMEs เพิ่มขึ้นประมาณ 20% โดยมองเป้าหมาย SMEs 50 - 200 คน 

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เป็น Local Cybersecurity เจ้าเดียวที่ให้บริการครบวงจรได้ครบถ้วน

การมอนิเตอร์ 24 x 7 มีผู้เชียวชาญให้คำแนะนำ ชี้ช่องโหว่ ช่วย SMEs เป็น OutSource ช่วยดูแลลูกค้า ช่วยทีม Internal Cybersecurity ดูแลให้รัดกุม ปลอดภัย ประเมินความเสี่ยงให้ มีนักเจาะระบบเพื่อดูช่องโหว่ มีเรื่องกฎหมาย การขอ Consent ตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัยข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัยในเครือข่าย ไอที ฟอร์แม็ตเครื่อง มีคำแนะนำเรื่องความปลอดภัยให้ 

จุดแข็ง มีการนำ AI เข้ามาช่วยในการตรวจสอบ มีความสามารถในการตรวจสอบ ตรวจจับการโจมตีช่องโหว่ ตรวจพบ มีคำสั่งให้ตัดการเชื่อมต่อทันที ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายได้ ต้องตรวจจับได้ภายใน 1 นาที จากระยะเวลาในการโจมตี 4 นาที ความเร็วในการตรวจสอบ Real-Time มีการตรวจสอบแบบ 24 x 7 อยู่แล้ว มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและนำ AI มาช่วยลดส่วนที่ไม่สำคัญไม่จำเป็นของคน เอาคนไปโฟกัสเรื่องสำคัญและจำเป็นจริงๆ AI มาช่วยตรวจสอบการโจมตี ตั้งรับและป้องกัน ตรวจจับให้แม่นยำมายิ่งขึ้น

"ค่าบริการที่จับต้องได้ ประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน (องค์กร 50 คน) หลังให้บริการแล้วช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา มีลูกค้าเยอะขึ้น มีความต้องการมากขึ้น มีการรับพนักงานเยอะขึ้น ปีที่แล้วมีพนักงานประมาณ 70 กว่าคน เป็นตำแหน่งงานที่มีความต้องการ เพราะมีความจำเป็น แม้องค์กรจะมีระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ปรับแต่งไม่เหมาะสมก็เลยต้องการผู้ช่วย ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแนะนำ"



ตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เติบโตต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมามุ่งเน้นธุรกิจรายใหญ่ แต่ปัจจุบันองค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็ก SME ตกเป็นเป้าหมายเยอะ ก็อยากจะให้องค์กรในกลุ่มนี้เข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ง่ายขึ้น SME โดนโจมตีเพิ่มขึ้นถี่มากๆ จึงจะต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ไซเบอร์ซีเคียวริตี้มากๆ องค์กรอื่นอาจจะไม่ได้เน้น รายได้น้อย ลูกค้าน้อย แต่หากมีความเสี่ยงก็ควรลงทุน มองลูกค้า SME ที่ถูกโจมตีจนไม่สามารถให้บริการได้ จึงอยากนำเสนอโซลูชั่นให้ SME  

ฐิติรัตน์ ย้ำในตอนท้ายว่า ข้อสำคัญเทคนิคที่โดนโจมตีบ่อยๆ เป็นการเปิดพอร์ตที่ไม่ปลอดภัย ทำให้สามารถรีโมท เข้ามาจัดการเข้าถึงข้อมูลได้ รหัสผ่านหลุด พยายามเปลี่ยนรหัสผ่าน เจาะระบบ ได้รหัสผ่านมา 30% คนไทยมีรหัสผ่านหลุดถึง 10 ล้านคน ไม่ควรตั้งรหัสผ่านเดียวกันทุกบัญชีโซเชียลมีเดีย ไม่ตั้งค่ารหัสผ่านส่วนตัวกับขององค์กรเป็นรหัสเดียวกัน


สำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจใช้บริการ “ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้” สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.truedigital.com/cybersecurity