ปัญหาการโดนแฮก หรือโจรกรรมข้อมูล
ในยุคนี้กลายเป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครต่างก็วิตกกังวล เพราะการใช้งานเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันนั้นง่ายต่อการถูกสอดส่องและติดตามไปทำเงิน
เพราะข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสามารถนำไปใช้หาประโยชน์ได้หลายอย่าง
ดังนั้นจึงมีผู้ไม่หวังดีมากมายที่จ้องจะตักตวงทุกโอกาสที่สามารถแฮกข้อมูลได้
ไม่ว่าจะบน โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
หรือแม้แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ก็สามารถโดนดักได้เช่นกัน
ซึ่งแฟลชไดร์ฟเองก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สามารถโดนแฮกข้อมูลหรือแพร่ไวรัสเข้าสู่เครื่องได้เช่นกัน แต่สำหรับยุคปัจจุบันนั้นถึงแม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะยังคงมีอยู่ แต่ทางผู้ผลิตก็ยังคงพยายามพัฒนาให้แฟลชไดร์ฟมีความปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้แฟลชไดร์ฟในปัจจุบัน ก็ควรมีการทำความเข้าใจก่อนว่ามีวิธีการใดบ้าง ที่จะช่วยให้การใช้งานของคุณไม่ถูกเล่นงานจากผู้ไม่หวังดี โดยพื้นฐานจะมีวิธีการรับมือหลัก ๆ 2 รูปแบบได้แก่
1.สร้างความปลอดภัยจากตัวสินค้า
แฟลชไดร์ฟ แบบเข้ารหัส คือสินค้าทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการความรัดกุมในการเข้าถึงข้อมูล โดยลักษณะการใช้งานจะเป็นการเข้ารหัสในรูปแบบของฮาร์ดแวร์ นับเป็นการสร้างกำแพงป้องกันขั้นแรกที่ดีสำหรับการป้องกันการถูกขโมย หรือโดนแอบนำไปใช้งาน
2.สร้างความปลอดภัยจากการใช้งาน
อย่างไรก็ตามภัยคุกคามที่รุกรานแฟลชไดร์ฟได้มากที่สุดจะมาจากการทำงานภายในของซอฟต์แวร์มากกว่า ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ยากต่อการหลีกเลี่ยง แต่ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันได้ หากมีวินัยในการใช้งาน
วิธีการใช้งานที่ปลอดภัย
1.ไม่เสียบแฟลชไดร์ฟกับอุปกรณ์สาธารณะ หากไม่จำเป็น
การเสียบแฟลชไดร์ฟกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดก็ตามที่มีการใช้ร่วมกับผู้คนจำนวนมาก
ถือเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง
เนื่องจากมีผู้คนมากมายเข้ามาผลัดเปลี่ยนใช้งานกันโดยตลอด
ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่าภายในมีโปรแกรมอันตรายอะไรบ้าง โดยหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรเสี่ยงใช้งาน
รวมถึงการใช้แฟลชไดร์ฟร่วมกับคนอื่นก็อันตรายไม่แพ้กัน
2.หมั่นสแกนไวรัสเป็นประจำ
ก่อนและหลังการใช้งานทุกครั้ง
คุณควรที่จะสแกนไวรัสเพื่อตรวจสอบโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ที่แอบสอดแทรกเข้ามาภายในแฟลชไดร์ฟ
3.เปิดโฟลเดอร์ด้วยการคลิกขวา
เมื่อเข้าถึงข้อมูลในแฟลชไดร์ฟสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่งก็คือการกดดับเบิ้ลคลิกบนโฟลเดอร์
เพราะการกดแบบนั้นจะเป็นการเปิดโอกาสให้ไวรัสเข้ามา
โดยให้ใช้วิธีการคลิกขวาแล้วกดปุ่มเปิดแทนจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
4.จัดระเบียบโฟลเดอร์
นอกจากการจัดระเบียบข้อมูลภายในจะช่วยสร้างประสิทธิภาพด้านการใช้งานแฟลชไดร์ฟแล้ว
มันยังทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบไฟล์ไม่พึงประสงค์
หรืออาจใช้วิธีการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาหลาย ๆ ตัวเพื่อหลอกให้ไวรัสฝังลงไป
จะได้ง่ายต่อการลบออกโดยไม่กระทบกับไฟล์งานตัวจริง
5.สร้างโฟลเดอร์กันไวรัส
วิธีการสร้างโฟลเดอร์จัดการกับไวรัส
มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมก็คือการสร้างโฟลเดอร์ autorun.inf
ในแฟลชไดร์ฟ แล้วทำการซ่อนไฟล์
ก็จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสให้กับคอมพิวเตอร์ได้ดียิ่งขึ้น
6.ใช้แฟลชไดร์ฟ 2 อัน
ถือเป็นวิธีที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้มากเป็นอย่างยิ่ง
โดยจะแบ่งเป็นแฟลชไดร์ฟสำหรับใช้ส่วนตัว 1 อัน และใช้ภายนอก 1 อัน
โดยแฟลชไดร์ฟส่วนตัวนั้นจะใช้งานกับอุปกรณ์ที่เราใช้และเห็นว่าปลอดภัยเท่านั้น
ในขณะที่แฟลชไดร์ฟภายนอกจะใช้สำหรับการต่อเข้ากับอุปกรณ์นอกบ้านที่ไม่สามารถตรวจสอบได้
เหมาะสำหรับใช้ทำงานกลุ่ม หรือให้เพื่อนยืม แต่ต้องมีการสแกนไวรัสเป็นประจำ
และนี่ก็คือวิธีการใช้งานแฟลชไดร์ฟอย่างไรให้ปลอดภัย จากไวรัสหรือแฮกเกอร์ ซึ่งถ้าหากปฏิบัติตามคำแนะนำจาก https://usb-perfect.com/ ก็จะช่วยยกระดับการป้องกันให้สมบูรณ์แบบได้เกือบ 100% เลยทีเดียว