บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของประเทศไทย และที่ 11 ของโลกในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ในการเป็นองค์กรที่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ ประจำปี 2566 โดย Equileap ซึ่งเป็นการประเมินที่ครอบคลุม 65 บริษัทในประเทศไทยและ 15,000 บริษัททั่วโลก
Equileap เป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านข้อมูลและตัวชี้วัดความเสมอภาคทางเพศ
โดย Equileap จะประเมินบริษัททั่วโลกจากหลักเกณฑ์ 19 ข้อ
แบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ 1) ความสมดุลของเพศในระดับผู้บริหารและพนักงาน
2) การจ่ายค่าจ้างและความสมดุลระหว่างการทำงาน - ชีวิตส่วนตัว 3)
นโยบายที่ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และ 4) ความมุ่งมั่น
ความโปร่งใส และความรับผิดชอบ ทั้งนี้ บีเจซี ได้แสดงถึงความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องในเรื่องเหล่านี้ผ่านทางความมุ่งมั่นของผู้นำองค์กรและการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลาย
ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วม (Diversity, Equity, Inclusion หรือ DEI) โดยสอดคล้องกับ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR)
ในปัจจุบัน
อัตราส่วนของพนักงานชายและหญิงของ บีเจซี อยู่ที่ 40% และ 60% ตามลำดับ
โดยมีผู้หญิงมากกว่า 50% ในทุกระดับการทำงาน โดย บีเจซี ยังมุ่งเน้นการทำโครงการและจัดกิจกรรมต่าง
ๆ ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้มีความหลากหลาย ความเสมอภาค
และการมีส่วมร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย เช่น โครงการ DiverCity
และการฝึกอบรมพนักงานเรื่อง DEI ประจำปี
รวมไปถึงงานสัมมนาระดับนานาชาติอย่าง “ธุรกิจ
ความหลากหลายทางเพศสภาพ และ วิถีแห่งอนาคต” โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 1,000 คน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รวมผู้นำจากทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน นักการทูต
และสถาบันการศึกษามาอยู่บนเวทีเดียวกันเพื่อร่วมสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศให้กับสังคม
และภาคธุรกิจของประเทศไทย
นอกจากนี้ บีเจซี ยังมีนโยบายต่างๆ
และสวัสดิการที่ส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนและ DEI อีกด้วย
โดยในปีนี้บริษัทยังมีการปรับปรุงสวัสดิการพนักงานให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศอย่างเท่าเทียมกัน
เช่น การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรสําหรับทุกเพศ การลาเพื่อแต่งงานสําหรับทุกเพศ
และการลาเพื่อการผ่าตัดแปลงเพศ เป็นต้น ซึ่งนับตัวอย่างของความทุ่มเทที่ บีเจซี
มีให้กับการส่งเสริมความหลากหลายและความเสมอภาคให้กับพนักงานทุกคน
การจัดอันดับนี้
นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญของ บีเจซี ในการมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมทางเพศ
และเป็นบรรทัดฐานที่ดีให้กับสังคมต่อไป