ขณะที่ทั่วโลกต่างกำลังหาวิธีรับมือเพื่อกำกับดูแลการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีบทบาททั้งต่อชีวิตประจำวันของผู้คน องค์กร อุตสาหกรรม กระทั่งถึงระดับที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยซึ่งได้รับการประเมินดัชนีความพร้อมด้าน AI1 ปี 2023 ในลำดับที่ 37 แม้ว่าในช่วงเวลาที่เผยแพร่บทความนี้ (มิถุนายน 2567) จะยังอยู่ในช่วงการร่างกฎหมายที่จำเป็น ก็ต้องได้รับการเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวปฏิบัติทั้งจากภายในและต่างประเทศ รวมถึงแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากล
OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP จึงร่วมเป็นหนึ่งช่องทางในการเพิ่มการตระหนักถึงความสำคัญของ AI ต่อธุรกิจ โดยนำเสนอแนวทางการกำกับดูแลการใช้ AI บนหลักการด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารองค์กร (AI Governance) ที่จำเป็นต้องสร้างความสมดุลและยั่งยืนทั้งในแง่การป้องกันและการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเนื้อหาที่เป็นประโยชน์บางส่วนจากการบรรยายของ ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด2 ที่ปรึกษาอาวุโส และผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในหัวข้อ AI Governance – Thailand’s Approach ในงาน TMA Digital Dialogue 2024
การกำกับดูแลการใช้ AI (AI Governance) สำหรับผู้บริหารองค์กร
เสาที่ 1: AI Governance Structure
เตรียมความพร้อมองค์กรด้วยการวางโครงสร้างรากฐานสำหรับการกำกับดูแลการประยุกต์ใช้ AI ภายในองค์กร ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
เสาที่ 2: AI Strategy
การกำหนดกลยุทธ์การประยุกต์ใช้ AI เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจเลือก use case ที่เหมาะสมจะใช้งาน AI การพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างแพลตฟอร์ม AI (เช่น ซื้อหรือเช่า) การบริหารจัดการความเสี่ยง และการวาง Roadmap การใช้งาน AI ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
- แนวทางแบบ human-in-the-loop ที่มนุษย์มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น AI ทางการแพทย์
- แนวทางแบบ human-over-the-loop ที่มนุษย์มีอำนาจในการควบคุมดูแล เช่น AI ตรวจวัดคุณภาพ
- แนวทางแบบ human-out-the-loop ที่มนุษย์อยู่นอกกรอบที่ AI ทำงานอัตโนมัติ (แต่มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ) เช่น AI Chatbot
ทั้งนี้ ระดับการมีส่วนร่วมของมนุษย์ควรขึ้นอยู่กับลักษณะของความเสี่ยงของระบบ AI และผลกระทบจากข้อผิดพลาด
เสาที่ 3: AI Operation
ขั้นตอนการดำเนินการหลังการประยุกต์ใช้ AI แล้วว่าจะติดตาม ตรวจตรา และเฝ้าสังเกต (Monitoring) ได้อย่างไร ประกอบด้วย
ข้อพิจารณาเพิ่มเติม
รายละเอียดต่าง ๆ ภายใน AI Governance Framework อาจมีความแตกต่าง และได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับขนาด ประเภทอุตสาหกรรม และลักษณะ/รูปแบบความเสี่ยงที่ป้องกันได้ขององค์กร
การติดตาม AI Governance Guideline ฉบับปรับปรุงล่าสุดจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเอื้อให้เกิดการปรับกรอบการทำงานขององค์กรที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
ควรหมั่นตรวจสอบและประเมินกรอบการกำกับดูแลการประยุกต์ใช้ AI เป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าบริบทต่าง ๆ ที่กำกับดูแล AI ที่องค์กรใช้งาน จะยังคงมีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น สามารถผลักดันให้เกิดการสร้างกรอบการกำกับดูแล AI ที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำองค์กรจะรู้สึกมั่นใจได้ว่าองค์กรกำลังพัฒนาและประยุกต์ใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ช่วยลดความเสี่ยง สร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของ AI เพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจ
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ OPEN-TEC ได้รวบรวมไว้จากงานสัมมนา “TMA Digital Dialogue 2024” ที่จัดโดย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) โดยกลุ่ม Digital Technology Management Group ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
บทความโดย OPEN-TEC
แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งจาก
1เปิด 6 โปรเจกต์ดันแผน AI ประเทศไทย
2ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ให้เกียรติเป็นแขกรับเชิญสัมภาษณ์ในรายการ open talk โปรแกรมภายใต้ OPEN-TEC EP.40 ร่วมสำรวจโลกของ Generative AI ตั้งแต่การทำความรู้จัก ทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานขั้นพื้นฐาน การประยุกต์ใช้ ไปจนถึงความท้าทาย และโอกาสจากการใช้ Generative AI เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารองค์กร โดย ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Center: AIGC)