รู้ไหมว่า ประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากถึง 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน หรือเพียง 25% เท่านั้น ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastics) อาทิ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องโฟมบรรจุอาหาร ซึ่งถูกทิ้งเป็นขยะมูลฝอยและมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี[1]
ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เราตระหนักถึงความสำคัญของบรรจุ
ภัณฑ์พลาสติกในการปกป้องคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดจากการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคอย่างไม่เหมาะสมมาโดยตลอด เรามุ่งมั่นลดการใช้พลาสติกใหม่ และส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน (Sustainable Packaging Management) ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ การให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างเหมาะสม ตลอดจนการเก็บกลับขวด PET ใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิลกลับมาผลิตเป็นขวดอีกครั้ง หรือที่เรียกกันว่า “ขวด rPET” (Recycled PET bottles) หมุนเวียนใช้ใหม่ได้ไม่รู้จบ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เราจึงขอแนะนำหลักการ 3R (Reduce-Reuse-Recycle) และ 5 ขั้นตอน “รักษ์โลก” เพื่อแยกขวด PET ที่ใช้แล้ว ก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยทุกคนสามารถทำตามได้ง่าย ๆ
หลักการ 3R (Reduce-Reuse-Recycle)
5 ขั้นตอน “รักษ์โลก” ง่าย ๆ คัดแยกขวด PET ที่ใช้แล้ว เพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
1. สังเกตขวดพลาสติก PET ใส ไม่มีสี ที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 1 ใต้ขวด
2. ดื่มน้ำให้หมด
3. บีบขวดให้แบน
4. ปิดฝาขวดให้เรียบร้อย
5. นำไปทิ้งที่ถังสำหรับขยะรีไซเคิลหรือจุดรับเพื่อส่งต่อไปรีไซเคิลตามกระบวนการ
ปัญหาขยะพลาสติกเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องใส่ใจและให้ความสำคัญ เพราะสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องของใครคนใด คนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของพวกเราทุกคน ดังนั้น สิ่งที่เราทุกคนสามารถทำได้ตั้งแต่วันนี้คือร่วมกันลดปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจากการใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มต้นคัดแยกขยะอย่างเหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวด PET ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% เพียงเท่านี้ เราทุกคนก็สามารถเป็นพลังสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้
[1] ข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ เดือนมกราคม 2565