รายงาน Global Threat Landscape สำหรับครึ่งหลังของปี 2023 จาก FortiGuard Labs ย้ำว่าผู้จำหน่ายต้องยึดแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเปิดเผยช่องโหว่ด้านความปลอดภัย เพื่อช่วยให้องค์กรใช้แนวทางและหลักปฏิบัติด้าน ไซเบอร์ ไฮจีน ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมบริหารจัดการแพตซ์ได้ดีขึ้น
เดเรค แมนคีย์ ประธานฝ่ายกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย และรองประธานอาวุโสฝ่ายข่าวกรองภัยคุกคามระดับโลก FortiGuard Labs กล่าวว่า “รายงาน Global Threat Landscape Report ในครึ่งหลังของปี 2023 จาก FortiGuard Labs” ชี้ให้เห็นว่าผู้คุกคามสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ความปลอดภัยใหม่ที่ถูกเปิดเผยได้รวดเร็วขนาดไหน โดยในสภาพการณ์เช่นนี้ ทั้งผู้จำหน่ายและลูกค้าต่างมีบทบาทที่ต้องรับผิดชอบ ในมุมของผู้จำหน่ายต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และทุ่มเทเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับความโปร่งใสอย่างตรงไปตรงมาในการเปิดเผยช่องโหว่ด้านความปลอดภัย จากที่ NIST ชี้ให้เห็นว่าในปี 2023 มีช่องโหว่มากกว่า 26,447 รายการจากผู้จำหน่ายทั้งหมด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ลูกค้าต้องมีการอัปเดตแพตช์อย่างเข้มงวด เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี”
ฟอร์ติเน็ต ผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเน็ตเวิร์กกิ้งและซีเคียวริตี้ เผยผลรายงาน Global Threat Landscape Report ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 จาก FortiGuard Labs โดยรายงานฉบับล่าสุดสำหรับครึ่งปีหลัง จะให้ภาพรวมสถานการณ์ภัยคุกคามปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มที่น่าจับตามองตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฏาคม ถึงธันวาคม 2023 และการวิเคราะห์ความเร็วที่ผู้โจมตีทางไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ใหม่ที่ถูกค้นพบทั่วทั้งอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการเพิ่มขึ้นของแรนซัมแวร์ที่เจาะจงเป้าหมายและกิจกรรมของมัลแวร์แบบไวเปอร์ ที่มุ่งทำลายข้อมูลในภาค OT และภาคอุตสาหกรรม
ประเด็นสำคัญที่พบในช่วงครึ่งหลังของปี 2023
การสนทนาบนเว็บมืด (Dark Web Discourse) รายงาน Global Threat Landscape Report ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 จาก FortiRecon ให้ภาพรวมการสนทนาระหว่างผู้ก่อการคุกคามในฟอรัมบนเว็บมืด มาร์เก็ตเพลส ช่องทาง Telegram ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่เผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ติดตามจำนวนมาก รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ โดยข้อมูลที่พบมีดังต่อไปนี้
การพลิกสถานการณ์เพื่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ประเด็นของการขยายพื้นที่การโจมตีต่อเนื่อง และการขาดแคลนทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาท้าทายสำหรับธุรกิจมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานซับซ้อนที่ประกอบไปด้วยโซลูชันแตกต่างหลากหลายได้อย่างเหมาะสม โดยยังไม่รวมเรื่องการติดตามการแจ้งเตือนมากมายจากผลิตภัณฑ์แต่ละตัวให้ทัน รวมถึงกลยุทธ์ เทคนิคต่างๆ และขั้นตอนที่ผู้คุกคามใช้ในการโจมตีเหยื่อ
การพลิกสถานการณ์เพื่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ต้องอาศัยวัฒนธรรมด้านการร่วมมือ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในสเกลที่ใหญ่กว่าการดูแลเฉพาะในองค์กรตนเท่านั้น ทุกองค์กรต่างมีบทบาทในการขัดขวางภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกัน การร่วมมือกับองค์กรชั้นนำที่เชื่อถือได้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึง CERTs หน่วยงานรัฐบาล และสถาบันทางศึกษา คือพื้นฐานสำคัญที่ฟอร์ติเน็ตมุ่งมั่น เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเตรียมตัวและตอบสนองต่อภัยไซเบอร์ทั่วโลก
การพัฒนาด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและความร่วมมือจากอุตสาหกรรม และกลุ่มทำงานต่างๆ เช่น กลุ่มพันธมิตร Cyber Threat Alliance กลุ่ม Network Resilience Coalition องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) พันธมิตรต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ (Partnership Against Cybercrime) และ Cybercrime Atlas ของ WEF จะช่วยปรับปรุงมาตรการป้องกันต่างๆ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งช่วยกันต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ในระดับสากลได้
ราชิช แพนเดย์ รองประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “รายงาน Global Threat Landscape Report ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 จาก FortiGuard Labs ให้ความสำคัญกับความเร็วในการที่ผู้ก่อภัยคุกคามนำช่องโหว่ที่เปิดเผยใหม่มาใช้ในการโจมตี ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ทั้งผู้จำหน่ายและลูกค้าต่างมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้จำหน่ายต้องสร้างความมั่นใจเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งตลอดวงจรการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และรักษาความโปร่งใสในการเปิดเผยช่องโหว่ด้านความปลอดภัย และเนื่องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น การใช้แพลตฟอร์มเป็นศูนย์กลางและขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของ AI จึงเป็นหัวใจสำคัญ เพราะแนวทางนี้จะเป็นการรวมเครื่องมือรักษาความปลอดภัยต่างๆ เข้าด้วยกัน ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และช่วยในการปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยคุกคามเกิดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้องค์กรสร้างปราการป้องกันที่ให้ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยืดหยุ่นและรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “ภาพรวมภัยคุกคามที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแนวทางการรับมือ โดยใช้แพลตฟอร์มเป็นศูนย์กลางในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะโซลูชันแบบดั้งเดิมที่แยกส่วนกันทำงาน ไม่สามารถจัดการกับเทคโนโลยีหลากหลาย และโมเดลการทำงานแบบไฮบริด รวมถึงการผสานรวมของ IT/OT ที่เป็นลักษณะของเครือข่ายสมัยใหม่ได้ แพลตฟอร์มของฟอร์ติเน็ตที่รวมการทำงานของเครือข่ายและความปลอดภัยไว้ด้วยกัน และขับเคลื่อนการทำงานด้วย AI ช่วยตอบโจทย์ความซับซ้อนในเรื่องนี้ได้ ให้การป้องกันภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุม ช่วยจัดการช่องโหว่ได้แบบอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์แบบผสานรวมดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดความซับซ้อนในการดำเนินงานแล้ว ยังช่วยให้มั่นใจว่า องค์กรจะสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างแข็งแกร่งทั้งปัจจุบันและในอนาคต”
ข้อมูลเพิ่มเติม