28 มิ.ย. 2567 323 0

แคสเปอร์สกี้เปิดรายงานไตรมาส 1 ปี 2567 เหตุการณ์โจมตีจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 28%

แคสเปอร์สกี้เปิดรายงานไตรมาส 1 ปี 2567 เหตุการณ์โจมตีจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 28%

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทย ในไตรมาสแรกของปี 2567 (มกราคม - มีนาคม) แคสเปอร์สกี้ตรวจพบและสกัดการโจมตี 157,935 รายการ ซึ่งสูงกว่าไตรมาสแรกของปีที่แล้วถึง 28.14% ซึ่งมี 123,253 รายการ

ประเทศไทยมีสถิติที่น่าจับตามองในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 จำนวนเหตุการณ์ทางไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีเหตุการณ์พุ่งสูงขึ้นสูงสุดในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีตัวเลขต่ำสุดในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ในขณะที่สิงคโปร์มีตัวเลขเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายสูงสุดมากกว่า 5.3 ล้านรายการที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์

ผู้ก่อภัยคุกคามใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกละเมิดเพื่อโฮสต์เว็บไซต์และใช้เป็นแหล่งแพร่กระจายมัลแวร์ไปยังผู้ใช้ที่ไม่ระแวดระวัง เมื่อเหยื่อไปที่เว็บไซต์เหล่านี้ผ่านโฆษณาปลอม ลิงก์ฟิชชิ่งในอีเมล SMS และวิธีการอื่นๆ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของเหยื่อจะถูกสำรวจหาช่องโหว่และเข้าบุกรุกในภายหลัง สำหรับผู้ใช้ของแคสเปอร์สกี้ที่พบกับภัยคุกคามออนไลน์ โซลูชันของ แคสเปอร์สกี้จะตรวจหาแหล่งที่มาของภัยคุกคามหรือตำแหน่งของอ็อบเจ็กต์และบล็อกภัยคุกคามนั้น


ประเทศไทยพร้อมที่จะเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่ามูลค่าสินค้ารวมจะสูงถึง 100-165 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573

การเข้าร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง สภาพแวดล้อมนวัตกรรมใหม่อย่างสตาร์ตอัป และการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างแข็งขัน สร้างโอกาสทางธุรกิจมากมายสำหรับบริษัทและองค์กรในการสร้างสรรค์ ขยาย และมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศ


เมื่อการดำเนินการแบบดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

ธุรกิจและองค์กรในประเทศไทยเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่สำคัญ ในปี 2566 โซลูชัน B2B ของแคสเปอร์สกี้สกัดกั้นความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิงทางการเงินได้ 25,227 รายการ ซึ่งส่งผลให้ไทยอยู่ในอันดับที่สี่ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ได้บล็อกเหตุการณ์ภัยคุกคามเฉพาะที่ (local threats) เป็นอันดับสามด้วยจำนวน 4,700,000 รายการ และบล็อกการโจมตี RDP (remote desktop protocol) ที่มากเป็นอันดับสามด้วยจำนวน 10,205,819 รายการ

นอกจากนี้ แรนซัมแวร์ในประเทศไทยมีจำนวนมากและปรากฏเป็นหัวข้อข่าวที่พบบ่อยอีกด้วย ในปี 2566 ประเทศไทยติดอันดับหนึ่งโดยมีตัวเลขการพยายามโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จำนวนสูงสุดในภูมิภาค 109,315 รายการ

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัลอย่างรวดเร็วได้เพิ่มศักยภาพของการโจมตี การป้องกันเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลมีความสำคัญ ไม่เพียงแต่ในการรักษาความลับเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสมบูรณ์ ความพร้อมใช้งาน ชื่อเสียง ความไว้วางใจ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดเท่านั้น แต่ยังช่วยปกป้องทรัพย์สินอันมีค่าและรับประกันการดำเนินงานที่ราบรื่นอีกด้วย การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นเครือข่ายความปลอดภัยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจสร้างความเสียหายได้”


เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เนื่องจากความก้าวหน้าของภัยคุกคามอันตราย ช่องว่างทางความรู้ด้านเทคนิค และกฎหมายสำหรับการจัดการภัยคุกคาม เราคาดการณ์ว่าจำนวนของภัยคุกคามในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป องค์กรทุกขนาดจึงจำเป็นต้องตรวจสอบระบบการรักษาความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่ายังดำเนินการปกป้องอย่างต่อเนื่อง”

ธุรกิจและองค์กรสามารถเพิ่มปกป้องขอบเขตการรักษาความปลอดภัยของตนไปอีกขั้นด้วย Kaspersky Next

Kaspersky Next คือกลุ่มผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการโจมตีของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและเกิดขึ้นใหม่ๆ ในปัจจุบัน ตอบสนองความต้องการไม่ว่าจะเป็นการป้องกันเอ็นด์พ้อยต์ที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี EDR ที่จำเป็น รวมถึงความต้องการเจาะลึก XDR เพียงแค่คลิก Kaspersky Next ไม่กี่ครั้ง ก็สามารเปิดการป้องกันบนคลาวด์เนทีฟที่แข็งแกร่งและปรับเปลี่ยนตามการความต้องการได้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kaspersky Next https://www.kaspersky.com/next