1 ก.ค. 2567 584 23

โคราชโมเดล ยกระดับสู่ 'มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต' ครม.สัญจร สังกัดดีอี ประเดิมผลงาน Digital Korat และเมืองสีคิ้ว พร้อมพัฒนาใช้ไอทีอย่างไรบ้างต้องไปดู

โคราชโมเดล ยกระดับสู่ 'มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต' ครม.สัญจร สังกัดดีอี ประเดิมผลงาน Digital Korat และเมืองสีคิ้ว พร้อมพัฒนาใช้ไอทีอย่างไรบ้างต้องไปดู

ประเดิมวันแรกก่อนรัฐบาลประชุม ครม.สัญจร 1-2 ก.ค นี้ กระทรวงดีอีและหน่วยงานในสังกัด พร้อมสื่อมวลชนก.ดีอี ร่วมเปิดเผยผลงานที่ทำอยู่ ทำต่อ ทำแล้ว และต้องทำต่อไป ทั้งเป็นโครงการด้านดิจิทัลต่อเนื่องจากรัฐบาลเดิม นำมาต่อยอดเป็นภาระกิจครั้งใหญ่เปิดประตูจังหวัดที่ประชากรหนาแน่นของภาคอีสาน อาทิ วางระบบ Health Link เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพแบบไร้รอยต่อให้กับชาวโคราช พร้อมดันเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ตลอดจนโครงการ Korat Digital ผลงานที่รัฐมนตรีประเสริฐภูมิใจนำเสนอเพื่อพัฒนาบ้านเกิด ในโครงการ SIKHIO SMART LIVING


1 กรกฎาคม 2567, นครราชสีมา – ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) พร้อมด้วยคณะทำงาน ลงพื้นที่ร้านหมอยาพลาซ่าเฮลธ์พลัส และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ (Health Information Exchange: Health Link) และเยี่ยมชมการสาธิตการใช้ระบบ Health Link โดยมี รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) และนายแพทย์ธนกฤต จินตวร First Executive Vice President, BDI ให้การต้อนรับ พร้อมสั่งการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อบรรจุแพลตฟอร์ม Health Link เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานสำคัญในแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ  อ่านข่าวนี้ :  https://www.adslthailand.com/post/17697


ดีอี ปั้น “โคราชโมเดล” ยกระดับสู่ “มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” รับ Digital Economy Hub

1 กรกฎาคม 2567 ในวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครราชสีมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จัดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “Digital Korat: The Future Starts now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” โดยมี เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิด ร่วมด้วย ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี ผู้บริหารกระทรวงดีอี และหน่วยงานในสังกัด กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.)สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (บีดีไอ) บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (เอ็นที) บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)  พร้อมทั้งเครือข่ายพันธมิตร และประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2557 ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา




เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน เรามีความต้องการยกระดับประเทศ ไปสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ Thailand Vision “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” โดยหนึ่งในเป้าหมายคือ การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub) ดังนั้นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ ให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล ร่วมกับการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ตอบสนองความต้องการของประชาชน ให้ได้รับบริการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพประชาชน รวมถึงบุคลากรภาครัฐ สร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค การนำดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำอย่างมั่นคงปลอดภัย ต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน


ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า โครงการ “Digital Korat: The Future Starts now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” เป็นการขับเคลื่อนและยกระดับจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งถือเป็นจังหวัดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ เป็นประตูสู่ภาคอีสานที่มีศักยภาพความพร้อมในหลายด้าน สู่การเป็นเมืองดิจิทัลในระดับภูมิภาค ภายใต้ภารกิจของกระทรวง ดีอี ใน 4 มิติ ประกอบด้วย 1. ดิจิทัลเพื่อความเท่าเทียม (ด้านสังคม) 2. ดิจิทัลเพื่อความปลอดภัย (ด้านความมั่นคง) 3. ดิจิทัลเพื่อโอกาสที่ดีกว่า (ด้านเศรษฐกิจ) 4. ดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ด้านการดำเนินงานภาครัฐ) ผ่านการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวง ดีอี และภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

1.การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นจังหวัดต้นแบบในการใช้ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ลดการใช้กระดาษ (Paper Less) การส่งเสริมการใช้งานด้านดิจิทัลในระบบบริการสาธารณสุข และการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล

2.ความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนากำลังคน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

3.ความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กับ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เพื่อพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ศูนย์กลางโลจิสติกส์ (Logistic Hub) และส่งเสริม Soft Power ของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น ศิลปะ และการสร้างสรรค์ผลงานผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล




นอกจากนี้กระทรวง ดีอี ยังได้จัดกิจกรรมสัมมนาและอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดิจิทัลในด้านต่างๆ ได้แก่

- การจัดกิจกรรมอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมกว่า 2,0000 คน

- กิจกรรมแนะนำอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) และแอปพลิเคชัน อสด. โดยผู้แทน สดช. เพื่อให้เกิดการพัฒนาและขยายเครือข่าย อสด.

- กิจกรรมแนะนำบริการและข้อมูลที่ถูกต้องจากภาครัฐ โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวออนไลน์

- โครงการ GCC 1111 แจ้งเบาะแสข่าวปลอม เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย สื่อลามก อนาจาร เว็บไซต์พนัน รวมทั้งข้อมูลอาชญากรรมออนไลน์ในทุกรูปแบบ ผ่านโทรสายด่วน 1111

- ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ AOC 1441 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ ให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยออนไลน์ ประสานเรื่องการแจ้งความดำเนินคดี ระงับบัญชีธนาคาร


- กิจกรรมจัดแสดงนิทรรศการของกระทรวงดิจิทัลฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และภาคเอกชน ได้แก่

1) การนำเสนอภารกิจ/โครงการสำคัญของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ดีอี

2) การนำเสนอหลักสูตรวิชาการด้านดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคเอกชน เช่น VR Training และ EV เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

3) การนำเสนอนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคเอกชน ได้แก่ Smart City ของบริษัท Huawei และ AI Mapping Robot ของบริษัท Metthier รวมถึงเทคโนโลยีทางการสื่อสารจาก บริษัท AIS และ True









“กระทรวงดีอี พร้อมขับเคลื่อนและยกระดับ จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นแบบของมหานครดิจิทัลแห่งอนาคต ก่อนขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ ที่มีศักยภาพ และความพร้อม ด้วยการวางโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอย่างทั่วถึง สร้างสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างองค์ความรู้ พัฒนาทุนมนุษย์ให้กับประชาชน และบุคลากรหน่วยงานรัฐ ต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยทุกคนอย่างยั่งยืน พร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล ( Digital Economy Hub ) ของภูมิภาค” รมว.ประเสริฐ กล่าว


สดช. จับมือ DEPA และ 3 มหาวิทยาลัยในโคราช ลงนาม MOU ด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัล มุ่งหวังพัฒนาบุคลากรและคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมร่วมเวทีเสวนา ในหัวข้อ “Digital Korat: The Future Starts Now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” และเชิญชวนคนในพื้นที่โคราชเป็นอาสาสมัครดิจิทัล ตั้งเป้ามียอด 2 ล้านคนภายใน 5 ปี

1 กรกฎาคม 2567 - เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและมอบนโยบายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ภูมิภาค สร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเท่าเทียม
ในโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ “
Digital Korat: The Future Starts now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” หัวข้อ “Digital Korat : The Future Starts now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” โดยมี ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวรายงาน พร้อมด้วยศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนผู้บริหารและบุคลากรหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นักเรียน นักศึกษา เครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงาน จำนวนกว่า 2,000 คน ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2557 ศูนย์การศึกษา
หนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา


ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) โดยนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยรองศาสตราจารย์ ดร. โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยรองศาสตราจารย์ ดร. อนันต์ ทองระอา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยรองศาสตราจารย์ ดร. อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นสักขีพยาน



นอกจากนี้ ในช่วงบ่าย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วยนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับตัวแทนจากนักเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) ร่วมเวทีเสวนา ในหัวข้อ “Digital Korat : The Future Starts Now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวความคิดในการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการสร้างพลังให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนและเกิดความเท่าเทียมกันในสังคม


ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันพัฒนากำลังคนดิจิทัลในจังหวัดนครราชสีมา โดยเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และความสามารถด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านดิจิทัลในสถาบันการศึกษาและชุมชน ให้สามารถนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมและชุมชนได้ ทั้งยังเป็นการผนึกกำลังเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชนในด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัลอีกด้วย ทั้งนี้ สดช. และ depa มีบทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากำลังคนดิจิทัลในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการพัฒนาหลักสูตรและโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวโน้มของอุตสาหกรรมดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมและเพิ่มโอกาสการจ้างงานให้กับนักศึกษาในพื้นที่





“สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ยังได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในมิติด้านสังคม ซึ่งได้นำโครงการที่สร้างความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนของสังคม มาร่วมนำเสนอ ประกอบด้วย 1) โครงการยกระดับศูนย์ดิจิทัลชุมชน : สาธิต e-Service ของศูนย์ดิจิทัลชุมชน 2) โครงการการพัฒนาอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) : การเรียนรู้และทดสอบระบบด้วยแอปพลิเคชัน อสด. 3) โครงการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศ (Digital Literacy : DL) : การทดสอบสมรรถนะด้านดิจิทัล 4) บริการดิจิทัลสำหรับผู้พิการ : สาธิตการใช้แอปพลิเคชันสำหรับความพิการทางการได้ยิน (Smart Ear) และการเรียนรู้บัตรคำสามภาษา 5) โครงการอินเทอร์เน็ตสาธารณะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 6) ภารกิจด้านกิจการอวกาศแห่งชาติ : จัดแสดงโมเดลดาวเทียม IPSTAR  รวมทั้ง สดช. ได้จัดกิจกรรมแนะนำอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) และแอปพลิเคชัน อสด. เพื่อให้เกิดการพัฒนาและขยายเครือข่าย อสด. ซึ่งอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) เหล่านี้ เป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีจิตสาธารณะ และมีความสนใจด้านดิจิทัล โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและนำความรู้ที่ได้รับจากแอปพลิเคชันไปสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานดิจิทัล พร้อมทั้งแนะนำบริการและข้อมูลที่ถูกต้องจากภาครัฐ รวมถึงการให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวสังคมออนไลน์ และให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยทาง สดช. ตั้งเป้าหมายมีอาสาสมัครดิจิทัลจำนวน 2 ล้านคนจากทั่วประเทศ ภายใน 5 ปีนี้” ภุชพงค์ฯ กล่าวทิ้งท้าย



กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดตัวโครงการ SIKHIO SMART LIVING ยกระดับความปลอดภัย การบริการภาครัฐ และการบริหารจัดการข้อมูลของเมือง

1 กรกฎาคม 2567, จังหวัดนครราชสีมากระทรวงดีอี และ ดีป้า ร่วมเปิดตัวโครงการ SIKHIO SMART LIVING เดินหน้าส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว ครอบคลุมมิติด้านความปลอดภัย ด้านบริการภาครัฐ และด้านการบริหารจัดการข้อมูลเมือง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารจัดการเมืองในภาคประชาชน สังคมและท้องถิ่น


ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) เป็นประธานเปิดโครงการ SIKHIO SMART LIVING โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารจัดการเมืองในภาคประชาชน สังคมและท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว โดยมี สานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอสีคิ้ว ปรีชา จันทรรวงทอง นายกเทศมนตรีเมืองสีคิ้ว ข้าราชการ ผู้บริหาร และพนักงานจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมในพิธีเปิดโครงการโดยพร้อมเพรียง ณ หอประชุมเทศบาลเมืองสีคิ้ว


จากนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ นายกเทศมนตรีเมืองสีคิ้ว ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการ SIKHIO SMART LIVING โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี และ นายอำเภอสีคิ้ว ร่วมเป็นสักขีพยาน


กระทรวงดีอี โดย ดีป้า มุ่งส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันมีเมืองที่ผ่านการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 36 เมืองจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะยกระดับเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ไม่น้อยกว่า 105 เมืองในปี 2567 – 2570 พร้อมประเมินว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ล้านบาท” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว



ความคืบหน้าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย

·  ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเมืองอัจฉริยะ จำนวน 36 เมือง ในพื้นที่ 27 จังหวัด ทั่วประเทศ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

·  โครงการโคราชเมืองอัจฉริยะ (Korat Smart City) จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 มีระบบบริการอัจฉริยะ 7 ด้าน

·  เทศบาลเมืองสีคิ้ว ได้รับการประกาศเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ สิงหาคม 2565 มีระบบบริการอัจฉริยะ 3 ด้าน Smart Environment Smart Governance และ Smart Living


การดำเนินงานโครงการ Sikhio Smart Living

·   โครงการ Sikhio Smart Living มีแนวคิดในการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
ในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว 3 ด้าน ได้แก่

·   ด้านความปลอดภัย (CCTV) เสริมประสิทธิภาพของ CCTV ให้มีความทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตอบโจทย์เรื่องของการเฝ้าระวังภัยของชุมชน และลดภาระของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ได้แก่ ตรวจจับการเคลื่อนไหวผิดปกติในพื้นที่ที่กําหนด, ตรวจจับการบุกรุกข้ามเส้นที่กําหนด และการตรวจจับวัตถุที่ถูกวางทิ้งไว้หรือหายไปจากพื้นที่ที่กําหนด ตลอดจนการวิเคราะห์ และประมวลผลภาพ เพื่อให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ ได้หลายลักษณะ เช่น การติดตามเส้นทางหลบหนีของรถผู้กระทำผิดจากลักษณะรถทะเบียนรถ ว่าผู้กระทำผิดได้ขับรถผ่านไปทิศทางไหน ผ่านกล้องตัวไหนบ้าง เพื่อนำข้อมูลมาขยายผลเพื่อดำเนินการขั้นต่อไปได้

·  ด้านการบริการภาครัฐ ด้วยการพัฒนาระบบร้องเรียนร้องทุกข์ ผ่าน LINE OA ช่วยเพิ่มศักยภาพในการให้บริการด้านการร้องเรียน ร้องทุกข์ และติดตาม ด้วยการเชื่อมโยงทุกระบบงาน Smart City ให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างใกล้ชิดรวดเร็วและแม่นยำ มากขึ้น ซึ่งเป็นการสื่อสารแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายผ่านระบบ LINE OA นำไปสู่การบริหารข้อมูลเมือง เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน โดยมีฟีเจอร์ที่สามารถรองรับการบริการภาครัฐพร้อมทั้งจัดเรียงประเภทของข้อมูล (Data type) ให้พร้อมใช้งานได้ต่อไป 

·   ด้านการจัดทำแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform: CDP) เป็นระบบที่สามารถเชื่อมโยง จัดเก็บ แสดงผลตามบริบทของพื้นที่อำเภอสีคิ้วจากระบบ CCTV และ LINE OA โดยการนำข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งฐานข้อมูลจากระบบสามารถเป็นตัวกำหนดนโยบายใหม่ของผู้บริหาร และนำมาใช้ในการบริหารเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

"ดีป้า ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ คาดหวังโครงการ Sikhio Smart Living จะเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งในด้านความปลอดภัย ด้านการบริการภาครัฐ และด้านการบริหารจัดการเมือง ได้อย่างเต็มรูปแบบต่อไป" ผอ.ดีป้า กล่าวย้ำ







ประเสริฐ เปิดเผยต่อว่า การส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะถือเป็นหนึ่งในแผนพัฒนา Mega Program เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย ได้รับการบรรจุในเครื่องยนต์ที่ 1 การเพิ่มขีดความสามารถ
ด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ ภายใต้นโยบายการดำเนินงานของกระทรวง หรือ
The Growth Engine of Thailand เพื่อสร้างสังคมให้มีความน่าอยู่ ทันสมัย กระจายความเจริญและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค พัฒนาท้องถิ่นให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข พร้อมเร่งส่งเสริมการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศผ่านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมี ดีป้า เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรระดับพื้นที่



นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี ยังให้เกียรติเป็นประธานมอบอุปกรณ์ดิจิทัลแก่โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย พร้อมกันนี้ ภายในงานยังมี Technology Showcase ของโครงการ SIKHIO SMART LIVING และกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ กระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ และรับสมัครชุมชนเข้าร่วมโครงการ OTOD: Smart Living เป็นครั้งแรก