บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมงานประชุม China- ASEAN submarine cable cooperation forum เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาด้านเคเบิลใต้น้ำระหว่างผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ พร้อมทั้งขยายความร่วมมือด้านธุรกิจเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567
งานครั้งนี้ มีผู้แทนจาก NT นำโดย วรรณภา ศรีสง่างามกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายตลาดผลิตภัณฑ์สื่อสารข้อมูล, อรุณศักดิ์ นิตย์อินทร์ ผู้จัดการส่วนวิศวกรรมโครงข่ายสื่อสัญญาณ, ดร.นัทธพงศ์ เหลี่ยมเจริญ ผู้จัดการส่วนโครงข่ายระหว่างประเทศ และ พิทักษ์ เที่ยงพุก ผู้จัดการส่วนสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศ เข้าร่วมงานเพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการดำเนินธุรกิจด้านเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศร่วมกับผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน
โดย วรรณภา ศรีสง่างามกุล
ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายตลาดผลิตภัณฑ์สื่อสารข้อมูล ได้ขึ้นบรรยาย ในหัวข้อ The
Growth Engine and Digital Infrastructure Opportunities in Thailand สร้างโอกาสและการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่ง NT ได้แสดงศักยภาพของความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศที่หลากหลายและมีเสถียรภาพ
ด้วยโครงข่ายระหว่างประเทศที่เชื่อมไปยังประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกผ่านเคเบิลใต้น้ำที่มากที่สุดถึง 8 ระบบ ระบบ
Infrastructure ในประเทศที่เชื่อมต่อไปยังชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ระบบ Thailand Crossing ที่สามารถเชื่อมระบบเคเบิลใต้น้ำในย่านเอเชียด้านฝั่งตะวันออกและตะวันตกเข้าหากันได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ตอกย้ำการเป็นหนึ่งใน SUBMARINE CABLE PROVIDER รายหลักของ ASEAN
และพร้อมรองรับการใช้งานวงจรสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศของธุรกิจจากทั่วโลก
รวมถึงรองรับ แนวโน้มของการสื่อสารในอนาคตและการเชื่อมต่อด้านโทรคมนาคมต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น
เช่น Cloud Provider, Content Provider, OTTs เป็นต้น ตลอดจนสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาสังคม
เพื่อสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น
สำหรับ การประชุม China- ASEAN submarine cable cooperation forum ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 170 คน โดยมีผู้แทนรัฐบาลของ
10 ประเทศ และผู้ให้บริการโทรคมนาคมจากประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาด้านเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ตลอดจนการขยายความร่วมมือด้านเคเบิลใต้น้ำและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในระดับภูมิภาค