5 ส.ค. 2567 137 0

แคสเปอร์สกี้สำรวจความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล เผยสถิติย้อนแย้ง ผู้ใช้ 49% ปกปิดเว็บแคม 40% พึ่งพาโหมดไม่ระบุตัวตน

แคสเปอร์สกี้สำรวจความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล เผยสถิติย้อนแย้ง ผู้ใช้ 49% ปกปิดเว็บแคม 40% พึ่งพาโหมดไม่ระบุตัวตน

การศึกษาเรื่อง ‘Excitement, Superstition and great Insecurity – How global Consumers engage with the Digital World’ (ความตื่นเต้น ความเชื่อ และความไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง – ผู้บริโภคทั่วโลกมีส่วนร่วมกับโลกดิจิทัลอย่างไร) ได้เปิดเผยมุมมองที่ขัดแย้งกันในกลุ่มผู้ใช้เรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของตน ตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสอบถาม 49% มองว่าการปิดเว็บแคมของอุปกรณ์ดิจิทัลช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถาม 40% ไว้วางใจโหมดไม่ระบุตัวตนบนอินเทอร์เน็ต เพื่อปกป้องกิจกรรมออนไลน์ของตน ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลมานานหลายทศวรรษ และยอมรับว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นปัญหาสำคัญที่แท้จริง แต่การแยกแยะระหว่างสิ่งที่ปลอดภัยและสิ่งที่ไม่ปลอดภัยยังคงเป็นเรื่องยาก

ผลสำรวจล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้มีนิสัยและทัศนคติเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัลที่ขัดแย้งกัน ผู้ใช้ 49% เชื่อว่าการปิดเว็บแคมบนอุปกรณ์ของตนเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัวของตน

ในทางกลับกัน ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่ง (44%) เล่นมินิเกมออนไลน์และทำแบบทดสอบเพื่อความสนุกสนาน ส่งรายละเอียดส่วนตัวไปยังแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือเพื่อเข้าเล่นเกมเหล่านั้น และโพสต์ผลลัพธ์ลงในโซเชียลมีเดีย โดยให้เพื่อนๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมลักษณะนี้โดยไม่ระวังเรื่องการแชร์ข้อมูล

ผู้ใช้เกือบครึ่งหนึ่งกังวลว่าฟีเจอร์ voice assistant อาจคอยฟังและรวบรวมข้อมูลส่วนตัวอยู่ตลอดเวลา และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบหนึ่งในสาม (28%) เลือกใช้เป็นโหมดเครื่องบินระหว่างการสนทนาส่วนตัวที่สำคัญ

ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ 40% เข้าใจผิดว่าการเปิดใช้งานโหมดไม่ระบุตัวตน (incognito mode) จะทำให้ตัวตนทางออนไลน์ไม่ถูกเปิดเผย นอกจากนี้ ผู้ใช้ 24% ยังยินดีที่จะคลิกลิงก์ที่ไม่คุ้นเคยในโปรแกรมส่งข้อความ ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้


แอนนา ลาร์คินา นักวิเคราะห์เนื้อหาบนเว็บ แคสเปอร์สกี้ อธิบายเพิ่มเติมว่า “การวิจัยของเราเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล เพื่อเน้นเรื่องความปลอดภัยและการป้องกันที่จำเป็นต้องมีการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ โดยอาศัยแหล่งข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ได้รับการยืนยันเท่านั้น ซึ่งรวมถึงการละเลยเทคนิคและความเชื่อที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ นอกจากนี้ การนำโซลูชันความปลอดภัยที่ครอบคลุมนั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีค่าอย่างยิ่ง ด้วยการป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามและความเสี่ยงที่มีความหลากหลาย”

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มเรื่อง ‘Excitement, Superstition and great Insecurity – How global Consumers engage with the Digital World’ ได้ที่

https://www.kaspersky.com/blog/myths-and-reality-of-digital-world 

ข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจ

แคสเปอร์สกี้ได้มอบหมายให้ Arlington Research ดำเนินการสำรวจออนไลน์กับผู้ตอบแบบสอบถาม 10,000 คน ในเดือนมิถุนายน 2024 เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อความเชื่อทางดิจิทัลในปัจจุบัน บทบาทของ AI ในชีวิตของมนุษย์ และหัวข้อความเป็นอมตะทางดิจิทัล ตัวอย่างประกอบด้วยผู้ตอบแบบสอบถาม 1,000 คนจากสหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศส และ 500 คนจากสเปน อิตาลี โปรตุเกส บราซิล เม็กซิโก รัสเซีย คาซัคสถาน อินเดีย จีน อินโดนีเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอฟริกาใต้