19 ส.ค. 2567 573 22

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย TCWI 2024 ชี้คนไทยเกินครึ่งขาดทักษะด้านไซเบอร์ AIS เปิดตัวเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกัน..ครั้งแรกในไทย

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย TCWI 2024  ชี้คนไทยเกินครึ่งขาดทักษะด้านไซเบอร์ AIS เปิดตัวเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกัน..ครั้งแรกในไทย

AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลชั้นนำของไทยที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานที่ถูกต้องปลอดภัยและเหมาะสมให้กับลูกค้าและคนไทย ภายใต้โครงการ AIS อุ่นใจ CYBER เปิด “ผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 เป็นปีที่ 2 ตอกย้ำเจตนารมณ์การทำงาน เดินหน้าส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่สามารถนำผลการศึกษาไปต่อยอดเพื่อสร้างความรู้ ทักษะ รวมถึงเส้นทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง




พร้อมกันนี้ได้พัฒนาเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล หรือ Digital Health Check เป็นครั้งแรกในไทยที่ทุกคนสามารถประเมินระดับความสามารถในการรับมือจากภัยไซเบอร์พร้อมศึกษาความรู้จากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง มากไปกว่านั้น AIS ยังได้นำเสนอเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยบริการ AIS Secure Net ที่วันนี้ได้เพิ่มการปกป้องที่ครอบคลุมมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้า AIS ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างอุ่นใจ ปลอดภัย ไร้กังวล และที่สำคัญลูกค้า AIS สามารถใช้บริการ AIS Secure Net ได้ฟรี เป็นระยะเวลา 12 เดือน



สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทย การป้องกันภัยไซเบอร์กลายเป็นประเด็นที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ทำให้การทำงานของ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยยิ่งทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งในมุมของการสร้างภูมิปัญญาหรือ Wisdom ที่จะนำไปสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ และในมุมของการใช้ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีมาส่งมอบเครื่องมือปกป้องภัยไซเบอร์และมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งานออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ”



โดยในปีที่ผ่านมา AIS ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการ ได้เปิดตัวดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index ฉบับแรกของไทยที่ทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหยิบเอาผลการศึกษาของเราไปต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่อย่างสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน


สำหรับปีนี้ผลการศึกษาก็ยังสะท้อนให้เห็นว่า แม้คนไทยจะมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นจนผลในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ยังมีจุดที่น่ากังวล เพราะคนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัยที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่าการเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น


สายชล อธิบายเพิ่มเติมว่า เราจึงทำงานควบคู่กันทั้งการส่งเสริมทักษะความรู้ และพัฒนาเครื่องมือปกป้องการใช้ งานทำให้วันนี้เราพัฒนาเครื่องมือ “Digital Health Check” เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าและคนไทย”


โดยวันนี้ลูกค้าสามารถสมัครใช้งาน AIS Secure Net ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงกด *689*6# รวมถึงการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG ชูจุดเด่นปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ในราคาสุดคุ้มเดือนละ 39 บาทเท่านั้น สมัครง่ายๆ เพียงกด *689*10# โทรออก



AIS ยังคงมุ่งมั่นในการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้คนไทยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือ การสนับสนุนการทำงานของพี่ๆตำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” สายชล กล่าว


ศรัณย์ ผโลประการ ผู้บริหารของ AIS กล่าวในช่วงสัมภาษณ์ต่อด้วยว่า ในเชิงของเทคโนโลยี เริ่มต้นในการแจ้งเบาะแส และแนะนำบริการ AIS Secure Net ที่ลูกค้าสามารถแสดงความประสงค์จะให้ทาง AIS ช่วยบล็อค แต่หลังจากนี้ไป ในช่วงปีนี้ - ปีหน้า นับเป็นปีแห่งการปกป้องจากมิจฉาชีพ ต่อไป Network หรือเครือข่ายเอง ในช่วงต้นปีหน้าจะมีความสามารถในการ Block Link และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่พึงประสงค์ ที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม และจะมีการแจ้งเบาะแสที่ง่ายขึ้นและรวดเร็ว รวมไปถึงมีความร่วมมือกับตำรวจสอบสวนกลาง ในการแชร์ข้อมูล Black List กัน และร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์รายอื่น เพื่อให้การ Block ทำได้รวดเร็วขึ้น ทุกวันนี้ กว่าจะ Block ได้ เวลาผ่านไป 2-3 วัน เพราะถ้าช้า มิจฉาชีพจะส่ง SMS แพร่กระจายไปไกลถึงลูกค้าจำนวนมาก จะต้องทำให้ระยะเวลาสั้นลงเหลือในระดับชั่วโมง

"สิ่งที่ AIS พูดในงานวันนี้ คือสิ่งที่พูดได้ในที่สาธารณะ แต่ก็มีสิ่งที่พูดไม่ได้ จากที่ตำรวจจับสถานีฐานปลอม และ SIM Box ได้ ก็เป็นความร่วมมือที่ช่วยปกป้องจากมิจฉาชีพ สำหรับบริการ Family Link ของ Google สำหรับปกป้องเด็กเล็ก สำหรับวัยทำงานและวัยเกษียณ ที่หลักๆ ตกเป็นเป้าสำคัญของมิจฉาชีพ อาจจะไม่เก่งเทคโนโลยีเท่าคน gen ปัจจุบัน แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ สมัครเอาไว้ ส่วนวัยทำงานเน้นด้านเทคโนโลยี และการให้ความรู้ ให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพการทำงานคร่าว คือ หากเว็บไซต์นั้นอยู่ใน Black List จะถูก redirect เพื่อแจ้งเตือนว่าเป็นเว็บไซต์อันตราย โดยฐานข้อมูล Black List ของ AIS เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทั่วโลก รวมไปถึง Dark Web เว็บไซต์ที่เป็นไวรัส มัลแวร์ นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่มาหลอกเรา เว็บไซต์มิจฉาชีพอันตราย โดยใช้เบาะแสที่เราทราบ + เติม Black List เข้าไป จะเรียนรู้ Web Link ของมิจฉาชีพ สามารถ Block เว็บอันตรายทั่วโลก และเว็บอันตรายที่มาหลอกเรา"

แต่เดิม AIS Secure Net Kids โดยมีค่าบริการเดือนละ 19 บาท มีการ Block เว็บที่ไม่เหมาะสม โดยร่วมมือกับ Google มีบริการที่คล้ายๆ กัน คือ Family Link ซึ่งทาง AIS แนะนำให้ใครที่อยากจะปกป้องบุตรหลาน ไปใช้บริการ AIS Family Link ของ Google ทำให้ผู้ปกครองสามารถจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตของลูกได้ ส่วนเด็กโตคงไปจำกัดเขาไม่ได้ แต่เด็กเล็กช่วยกลั่นกรองเว็บไซต์ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เด็กๆ ได้ จำกัดระยะเวลาใช้งานต่อวันได้


เอไอเอส มีความพยายามในการตัดวงจรมิจฉาชีพให้มากที่สุด ทำให้มิจฯ ไม่สามารถจะทำให้ครบวงจรได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการการลงทะเบียนซิม ที่ 1 คนลงทะเบียนซิม ตามการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ตามข้อกำหนดจำนวนเลขหมาย ที่กำหนดให้ลูกค้าลงทะเบียนหมายเลขจะสามารถลงทะเบียนได้สูงสุด 5 หมายเลขเท่านั้น ถือเป็นการตัดตอนวิธีหนึ่ง ที่ทำให้จำนวนซิมม้าลดน้อยลง การปิดสัญญาณโทรศัพท์มือถือตามแนวตะเข็บชายแดน เพื่อตัดตอนแกงค์คอลเซ็นเตอร์ไม่ให้ตั้งฐานในประเทศเพื่อนบ้านแล้วดำเนินการได้ รวมไปถึงการตรวจสอบ ตรวจจับการใช้งานที่ผิดปกติ โดยประสานงานผ่านกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และสิ่งที่เราทำกันวันนี้คือ การตัดวงจรด้วยการ Block Link, Block SMS ที่แปลกปลอม ไม่ปลอดภัย ไม่น่าไว้วางใจ พอ Block แล้ว link ตาย เข้าถึงไม่ได้ ก็ไม่ครบวงจรมิจฉาชีพ

ณ ปัจจุบันแพ็กเกจ AIS Secure Net สมัครได้สำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งเติมเงินและรายเดือน แต่เร็วๆนี้ลูกค้าองค์กร (นิติบุคคล) จะใช้ได้ด้วย สามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร กด *689*6# ฟรี 12 เดือน


ส่วนอีกแพ็กเกจ บริการ AIS Secure Net+ Protected by MSIG ที่นอกจากจะปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวงแล้ว ยังมาพร้อมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ฟรี โดยมอบความคุ้มครอง ทั้งการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ เดือนละ 39 บาท สมัคร กด *689*10# โทรออก

"ลูกค้ารายเดือน เป็นวัยคนทำงานอย่างพวกเรา มีความรู้ระดับนึง แต่คนทั่วไป ชาวบ้าน ใช้แบบเติมเงิน สมัครได้ง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้บริการประกันไซเบอร์ มาสักระยะแล้ว แต่มีเป็นแบบกรมธรรม์รายปี ลูกค้าเติมเงินสมัครยาก ก็เลยมีบริการที่สมัครจ่ายต่อเดือน ให้ผู้ใช้เติมเงินสมัครได้ง่ายขึ้น"

นอกจากนี้ สายชล กล่าวเพิ่มเติมต่อด้วยว่า "ได้พูดถึง เครื่องมือปกป้องการใช้งาน "Digital Health Check" เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้รู้เท่าทัน นอกจากนี้ ทางกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ร่วมมือกับธนาคารในการ Block บัญชีเงินฝากต้องสงสัย และมีการตัดวงจรมิจฉาชีพในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งก็เหมือนแมวจับหนู ไล่จับไปเรื่อยๆ เพราะมีการ พัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้กับประชาชน เพราะมิจฉาชีพก็พัฒนารูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ผู้ใช้ต้องมีสติและระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ของฟรี ไม่มีในโลก อะไรง่ายเกินจริง รู้สึกแปลก ให้เฉลียวใจไว้ก่อน"



ผู้ที่สนใจตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th และสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index