20 ส.ค. 2567 132 0

CyberGenics เบิกฤกษ์สกัดภัยไซเบอร์ ด้วย Emergency Incident Response (EIR) Call แห่งแรกในไทย

CyberGenics เบิกฤกษ์สกัดภัยไซเบอร์ ด้วย Emergency Incident Response (EIR) Call แห่งแรกในไทย

พร้อมบริการ MXDR ยกระดับบริการความปลอดภัยไซเบอร์ขั้นสุดแบบเรียลไทม์!!

ไซเบอร์จีนิคส์ (CyberGenics) ผู้นำด้านการให้คำปรึกษา และให้บริการ Cybersecurity Solutions แบบครบวงจร เปิดตัวบริการใหม่ล่าสุดด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้แก่ บริการ Emergency Incident Response (EIR) Call สำหรับ Cybersecurity Incident Response แห่งแรกในประเทศไทย และการบริการ Managed Extended Detection and Response (MXDR) สำหรับกลุ่มธุรกิจองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมั่นใจไร้กังวลและมีประสิทธิภาพ มุ่งเจาะกลุ่มธุรกิจองค์กรที่เน้นการดูแล เฝ้าระวัง วิเคราะห์และแจ้งเตือน ตรวจจับภัยคุกคามก่อนเกิดเหตุ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง

อัตพล พยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด ในเครือของบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปัจจุบันในขณะที่ทุกภาคอุตสาหกรรมยังคงทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันกันอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แต่จุดเสี่ยงสำคัญคือการโจมตีทางไซเบอร์จึงกลายเป็นภัยคุกคามที่ทุกองค์กรไม่อาจมองข้ามได้ ดังนั้น องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งเพื่อให้ธุรกิจมีความพร้อมในการรับมือกับช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในรูปแบบต่างๆ ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS ได้คาดการณ์ว่าในปี 2568 มูลค่าการลงทุนด้านระบบ Cybersecurity จะเพิ่มขึ้นถึง 1.8 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตขึ้นปีละ 13.3% ทำให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมระบบ Cybersecurity ของไทยเพิ่มขึ้น 6.3 พันล้านบาทในปี 2568 หรือมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 12.3%

ในฐานะที่ ไซเบอร์จีนิคส์ เป็นผู้นำด้านการให้คำปรึกษา และให้บริการ Cybersecurity Solutions แบบครบวงจรของไทย ได้มีการพัฒนาระบบการให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจองค์กรในปัจจุบันแบบตรงจุดมากขึ้นถึง 2 บริการ เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับธุรกิจและองค์กรในประเทศไทย ได้แก่

1. บริการ Emergency Incident Response (EIR) Call การรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางไซเบอร์ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางสายด่วนฉุกเฉิน การประเมินสถานการณ์และกำหนดระดับความเสี่ยงด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ สำหรับ Cybersecurity Incident Response แห่งแรกในประเทศไทย ที่สามารถให้ความช่วยเหลือธุรกิจและองค์กรทุกขนาดในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินทางไซเบอร์ทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา ด้วยบริการที่ครอบคลุมทุกด้านของการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ตั้งแต่ การตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Detection and Response): ตรวจจับการโจมตีทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์และดำเนินการตอบสนองการโจมตีที่เกิดผลกระทบต่อองค์กร เพื่อหาแนวทางการป้องกันได้อย่างรวดเร็ว การวิเคราะห์และจัดการภัยคุกคาม (Threat Analysis and Management) วิเคราะห์และจัดการภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบขององค์กร การกู้คืนระบบ (System Recovery) ช่วยให้ระบบกลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วหลังจากการโจมตี ไปจนถึงการป้องกันในอนาคต (Future Prevention) การให้คำปรึกษาและแนะนำในการป้องกันการโจมตีในอนาคต

2. บริการ Managed Extended Detection and Response (MXDR) บริการที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การป้องกันและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่ซับซ้อนอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วที่สุด โดยเป็นการรวมกันของบริการด้านความปลอดภัยที่มีความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามในเชิงลึก โดยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเช่น AI และ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ พร้อมกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ความช่วยเหลือองค์กร ในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินทางไซเบอร์ทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งเบาภาระงานขององค์กร ในกรณีที่อาจมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไม่เพียงพอ ในเรื่องของการลดเวลาการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบขององค์กร ลดความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลและการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ช่วยให้ระบบการทำงานขององค์กรมีความปลอดภัยและเสถียรมากขึ้น โดยมีการทำงานดังนี้

1. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection): รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น Identity, Endpoint, Network, Email, Web, IoT Security และ Cloud เพื่อนำมาวิเคราะห์

2. การวิเคราะห์ (Analysis): ใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อหาความผิดปกติ

3. การตรวจจับ (Detection): ตรวจจับเหตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามโดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ทั้งภัยคุกคามที่รู้จักและไม่รู้จัก

4. การตอบสนอง (Response): ทีมงานเชี่ยวชาญจะดำเนินการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่ถูกตรวจพบทันที โดยการปิดกั้น, ลดผลกระทบ และกำจัดภัยคุกคามที่เกิดขึ้น

5. การรายงาน (Reporting): จัดทำรายงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการตอบสนอง เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ดูแลระบบเข้าใจถึงความเสี่ยงและสถานะของความปลอดภัยในองค์กร

"ไซเบอร์จีนิคส์ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาความสามารถและศักยภาพด้านรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เพื่อป้องกันภัยคุกคามหรืออาชญากรรมทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความก้าวหน้าและล้ำสมัยมาใช้งานกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้ทุกธุรกิจองค์กรป้องกันข้อมูลสำคัญจากผู้ไม่ประสงค์ดีได้ทุกรูปแบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” อัตพล กล่าวทิ้งท้าย