12 ก.ย. 2567 181 10

ETDA เปิดแผนงานปี 68 ต่อยอด 4 โจทย์ใหญ่ในบทบาท AI Governance เร่งยกระดับ SMEs ช่วยภาครัฐ

ETDA เปิดแผนงานปี 68 ต่อยอด 4 โจทย์ใหญ่ในบทบาท AI Governance เร่งยกระดับ SMEs ช่วยภาครัฐ

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดแถลงข่าวประจำปี “14 ปี ETDA ก้าวที่มั่นคง เพื่อชีวิตดิจิทัลที่มั่นใจ” เปิดแผนงานปี 2568 พร้อมผลงานเด่นในรอบ 4 ปี ลุยทำตาม 4 โจทย์ใหญ่ นอกจากการเป็น AI Governance ยังมีการยกระดับ SMEs รัฐ เอกชน สู่ Digital Transform ผนวกกับใช้ Digital ID กับ e-Service  เพื่อเร่งขยายการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ที่จะส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ


ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า กว่า 14 ปี ของ ETDA กับการขับเคลื่อนอนาคตธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ให้ก้าวสู่สังคมดิจิทัลด้วยบทบาทสำคัญ ทั้ง ‘Co-Creation Regulator’ กำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัลภายใต้กฎหมาย 2 ฉบับ ควบคู่ไปกับบทบาท  ‘Promoter’ มุ่งส่งเสริม รัฐ เอกชน SMEs ผนวก Tech Provider ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพ สู่เป้าหมายใหญ่ 30:30 ทั้งการเพิ่มสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เพิ่มเป็น 30% ของ GDP และนำพาประเทศไทยขึ้นสู่ 30 อันดับแรกของโลก ในด้านความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ภายในปี 2670 ดังนั้น ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2564-2567) ถือเป็นช่วงการทำงานในวาระที่ 1 ได้เห็นประเด็นที่ท้าทาย จึงเร่งเชื่อมงานต่อ สู่การทำงานในวาระที่ 2 ที่มุ่งเน้นขยายการใช้งานเทคโนโลยีในทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น ต่อยอด Ecosystem ที่ได้วางรากฐานเอาไว้ โดยได้เดินหน้าผ่านการขับเคลื่อนงานใน 4 มิติหลัก 

1. Digital Infrastructure & Ecosystem - คนไทย...ทำธุรกรรมออนไลน์ น่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย Digital ID  2. Digital Service Governance - ลดความเสี่ยง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน คนไทย...เชื่อมั่นใน บริการดิจิทัล 3. Digital Adoption & Transformation หนุนทุกภาคส่วน ให้พร้อม Transform และ 4. Digital Workforce, Literacy & Protection เพิ่มแรงงานดิจิทัลคุณภาพสู่ตลาด เสริมรายได้ชุมชน พัฒนาทักษะประชาชนรู้เท่าทัน และขยายสู่กลุ่มเปราะบาง 




สำหรับการดำเนินงานในปี 2568 เน้นขยายการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม กับ 4 โจทย์ใหญ่ของ ETDA  ดังนี้

1. ต่อยอด Digital Infrastructure and Ecosystem - โดยเน้นงาน 4 กลุ่มสำคัญ คือ Document Management  เสริมศักยภาพโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ Digital Platform Services เพิ่มการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล AI Governance & Data Sharing เสริมการประยุกต์
ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ Legal & Standard พัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง พร้อมมุ่งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้ให้บริการ (Service Provider) ผ่าน Innovation Sandbox

2. เร่งกลไก Digital Service and Governance - ผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมสำหรับการการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล ผ่านกลไกทั้งมาตรฐาน แนวปฏิบัติ (Best Practices) เพื่อให้เกิด Ecosystem ที่จะช่วยลดความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการ ผนวกการวิเคราะห์ผลกระทบ เช่น Labor Platform และ e-Commerce Platform เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเหมาะสม และสนับสนุนการมี Community ที่เข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเกิด Self-regulation ในอนาคต พร้อมรวมบทบาทสายด่วน 1212 ETDA เพื่อรองรับช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนของแพลตฟอร์มขนาดเล็กเสริมศักยภาพขององค์กรด้วย AI Governance ศูนย์ AIGC ทั้งการขยาย Sector สู่กลุ่ม Telecommunication และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ การมี AI Guideline & Tool ใหม่ๆ เช่น  AI Project Management, Data Governance for AI เตรียมออก Implementation Guidance ของไทยที่อ้างอิง UNESCO เกี่ยวกับจริยธรรมของ AI 

3. เสริมความเข้มข้น Digital Adoption and Transformation – โดยผลักดันให้เกิดการใช้ Digital ID เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการภาครัฐและเอกชนที่มากขึ้น โดยเฉพาะบริการรัฐ ที่ตั้งเป้าเชื่อมระบบให้ได้ 80% ภายในปี 2568 นี้ มีแนวทางการใช้งาน Digital Document Wallet สำหรับการทดลองใช้งาน พร้อมกับส่งเสริมการใช้งานผ่านแคมเปญ MEiD (มีไอดี) และเร่ง SMEs ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ โดยนำโมเดลการทำงานขยายลงพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่นอกจาก ภาคการค้า การบริการ ยังขยายต่อในภาคการเกษตร มุ่งเน้นการเพิ่มความรู้ เพิ่มรายได้ ขยายฐานลูกค้าและตลาดให้มากขึ้น

4. เพิ่มประสิทธิภาพ Digital Workforce, Literacy & Protection – ผ่านการดำเนินงาน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1) เพิ่มปริมาณแรงงานเฉพาะด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ ตั้งเป้า 90,000 คนในปี 2570 ผ่านหลักสูตรระดับผู้บริหาร e-Learning การรับรองทักษะดิจิทัล (DSPC) และการรับรองทักษะโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI)   2) เพิ่มรายได้ชุมชนและลดอัตราการว่างงาน ตั้งเป้าปี 2570 มีชุมชนเข้าร่วม 1,000 ชุมชน โดยต่อยอด Model การพัฒนาชุมชนในระดับภูมิภาค จับมือพาร์ทเนอร์ ปั้นโค้ชดิจิทัลชุมชน ผนวกการพัฒนาชุมชนทั้งการเพิ่มความรู้ และการผนวกเครื่องมือทางออนไลน์ พร้อมผลักดันสู่การจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ก่อนส่งต่อพาร์ทเนอร์เพื่อส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง และ 3) เสริมสร้างให้คนไทยรู้เท่าทันเทคโนโลยีและภัยออนไลน์ ขยายต่อเนื่องในกลุ่มเปราะบาง ตั้งเป้ามี EDC Trainer กระจายลงอำเภอเพิ่มขึ้นอีก 10% (ไม่น้อยกว่า 80 อำเภอ) และมี 2570 เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% พร้อมเผยแพร่ความรู้และสื่อ และเสริมการวัดผลกระทบทางสังคม (Social Impact) ในเชิงพื้นที่ ไปพร้อมๆ กับการต่อยอดสร้าง Community เครือข่ายการทำงาน เพิ่มความยั่งยืนในการพัฒนาทักษะดิจิทัลคนไทย และปี 68 นี้ ETDA เตรียมพัฒนาแหล่งรวบรวมข้อมูลกลาง (Content Management) เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อและความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น 



“ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา ETDA ยังคงก้าวอย่างมั่นคง ในการสร้างอนาคตดิจิทัลของประเทศไทยผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่ Ecosystem ไปจนถึงการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงของคนไทยในทุกกลุ่มอย่างปลอดภัย เพื่อพาประเทศก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นใจ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันได้” ดร.ชัยชนะ กล่าว