16 ก.ย. 2567 76 0

สดช. นำเสนอผลงานเด่น 8 โครงการ ภายในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงดีอี ครบรอบ 8 ปี

สดช. นำเสนอผลงานเด่น 8 โครงการ ภายในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงดีอี ครบรอบ 8 ปี

สดช. นำเสนอผลงานเด่น 8 โครงการ ภายในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงดีอี ครบรอบ 8 ปี พร้อมเดินหน้า ต่อยอด และผลักดันโครงการสำคัญ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้านดิจิทัล ตอบโจทย์พันธกิจองค์กร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน 



ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำเสนอผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครบรอบ 8 ปี

โดยมี ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานพิธีเปิดงานวันสถาปนากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครบรอบ 8 ปี โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมงาน ณ อาคารสำนักงานด้านทิศตะวันออกของโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยาย ศูนย์ราชการฯ โซน C แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ




ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 8 โครงการเด่น ของ สดช. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 1) โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service : GDCC) โดยได้จัดหาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud service: GDCC) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ที่มีความต้องการใช้งาน ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย พื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัล  เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ (Cloud Infrastructure) ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสากล มีความสามารถในการรองรับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และข้อมูลแบบเปิด (Open data) จำนวนทั้งสิ้น 42,606 VM รวมทั้งให้บริการคลาวด์ สำหรับระบบงานทั่วไปหรือบริการข้อมูลเปิด ซึ่งเป็นการให้บริการคลาวด์สาธารณะ รวมถึงบริการ e-office ระบบบริการจัดการระบบคลาวด์กลางภาครัฐจากผู้ให้บริการคลาวด์หลายราย และบริการระบบเว็บไซต์กลางหรือ CMS 2) การขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการความต้องการใช้คลาวด์ (Demand) ของหน่วยงานภาครัฐ การบริหารจัดการให้มีบริการคลาวด์อย่างเพียงพอ (Supply) การบริหารจัดการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Management) เพื่อกำกับ ตรวจสอบ ควบคุมมาตรฐานการบริการ คุณภาพการบริการ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามประเภทของข้อมูลและประเภทของบริการคลาวด์ รวทั้งปรับปรุงระบบนิเวศการใช้คลาวด์ และการจัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสม 3) การศึกษาและการจัดทำ Thailand Digital Outlook 2024 โดยมีการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 102 ตัวชี้วัด ซึ่งต่อยอดและขยายจากปีก่อนหน้าที่ศึกษาไว้จำนวน 94 ตัวชี้วัด ดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาคประชาชน ภาคธุรกิจ/เอกชน และหน่วยงานบริการปฐมภูมิ ได้ทำการสำรวจตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้มีการสำรวจจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50,570 ตัวอย่างทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้ง 8 มิติ ได้แก่ มิติการเข้าถึง มิติการใช้งาน มิตินวัตกรรม มิติอาชีพ มิติสังคม มิติความน่าเชื่อถือ มิติการเปิดเสรีของตลาด และมิติการเติบโตและสภาพความเป็นอยู่ 4) การวัดมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Contribution to GDP) โดยมีการคาดการณ์มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ซึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 2.1 ล้านล้านบาท ในปี 2565 เป็น 3.79 ล้านล้านบาท ในปี 2570 ซึ่งจะคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ต่อ GDP ประเทศ ทั้งนี้ World Bank ได้มีการคาดการณ์การค้าโลก ซึ่งจะขยายตัวที่ 2.6 % (ปี 67) และ 3.3 % (ปี 68) และในปี 2567 การส่งออกบริการแบบดิจิทัล (Digital delivery) ทั่วโลกขยายตัวอยู่ที่ 9% 5) โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึง เช่น การให้บริการด้านดิจิทัลแก่ประชาชน การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนและเยาวชน รวมถึงเป็นสถานที่ในการค้าขายสินค้าออนไลน์ เพื่อลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ปัจจุบันมีจำนวน 1,722 ศูนย์ทั่วประเทศ และมียอดผู้ใช้บริการจำนวน 812,534 คน 6) การพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา อสด. ประจำหมู่บ้านให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนของกระทรวงดีอีในระดับพื้นที่ ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ รวมทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ และสามารถต่อยอดการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลให้มีความหลากหลาย ปัจจุบันมียอดสมาชิก อสด. จำนวน 33,936 คนทั่วประเทศ และมีสมาชิก อสด. ที่เป็นผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะอาสาสมัครดิจิทัล  จำนวน 30,893 คน 7) การเป็นประธานคณะมนตรีองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (ASIA PACIFIC SPACE COOPERATION ORGANIZATION : APSCO) ประเทศไทยได้รับมอบภารกิจการเป็นประธานคณะมนตรีองค์การ APSCO ต่อจากสาธารณรัฐเปรู โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้มอบหมายให้นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานคณะมนตรีองค์การ APSCO โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี (พ.ศ. 2567 – 2568) ทั้งนี้องค์การ APSCO จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านอวกาศ โดยมีประเทศสมาชิก จำนวน 8 ประเทศ และ 8) การขอรับทุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) โดยกองทุนดีอี ถือเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมดิจิทัล มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผู้ขอรับทุนจำนวน 492 โครงการ ภายใต้กรอบนโยบาย 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (Digital Manpower) การส่งเสริมรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) เกษตรดิจิทัล (Digital Agriculture) และการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล (Digital Technology) สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สดช. มีความมุ่งมั่น พัฒนา ต่อยอด และพร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ตามพันธกิจของ สดช. คือ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีประชาคมโล