การประชุมสุดยอด Asia-Pacific Digital Talent Summit 2024 ร่วมจัดโดยหัวเว่ย มูลนิธิอาเซียน และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO)
การประชุมสุดยอด Asia-Pacific Digital Talent Summit 2024 ประสบความสำเร็จในการรวบรวมผู้นำรัฐบาล รวมถึงเลขาธิการอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแห่งบรูไนดารุสซาลาม ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา และเยาวชนที่มีความสามารถกว่า 130 คน จาก 18 ประเทศทั่วภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ นวัตกรรม และการเติบโตทางด้านดิจิทัล เพื่ออนาคตที่เชื่อมต่อด้วยดิจิทัลและโลกอัจฉริยะ
การจัดงานในนครหนานหนิงครั้งนี้ ได้มอบเวทีสำคัญในการหารือเกี่ยวกับอนาคตของการพัฒนาความสามารถทางด้านดิจิทัล ที่มีต่อเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้
ในสุนทรพจน์กล่าวต้อนรับ ดร. เกา คิม ฮวน (H.E. Dr. Kao Kim Hourn) เลขาธิการอาเซียน ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของความสามารถทางด้านดิจิทัลในการขับเคลื่อนการเติบโตและนวัตกรรมของภูมิภาค เพื่อให้ภูมิภาคมีความสามารถในการแข่งขันในเศรษฐกิจโลก “ความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและมูลนิธิอาเซียนที่ทำให้งานนี้เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่สำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลในหมู่เยาวชนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โปรแกรมนี้ มอบโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถกว่า 130 คน ได้สัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวหนึ่งสัปดาห์ในประเทศจีน ซึ่งพวกเขาจะได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ขณะที่พวกเขาเริ่มต้นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นนี้ ผมมั่นใจว่าพวกเขาจะมีบทบาทสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพทางดิจิทัลของภูมิภาค ขับเคลื่อนนวัตกรรม และนำพาเราไปสู่อนาคตดิจิทัลที่ยั่งยืนและครอบคลุม เพื่อเป็นการตอบรับ อาเซียนกำลังพัฒนานโยบายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายความสามารถทางดิจิทัลระหว่างประเทศสมาชิก ส่งเสริมการยอมรับคุณวุฒิร่วมกัน และส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาความสามารถ ประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้จากแนวทางของจีนในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลในหมู่เยาวชน การบูรณาการการศึกษาดิจิทัลของจีนเข้าสู่หลักสูตรการศึกษา โดยเน้นที่วิชาต่างๆ เช่น การเขียนโปรแกรมและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการสำคัญ เช่น แผนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ และความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่างหัวเว่ย - ที่ให้การฝึกอบรมและฝึกงาน เป็นหัวใจสำคัญของความพยายามนี้”
ตามวิสัยทัศน์นี้ ไซมอน หลิน (Simon Lin) ประธานหัวเว่ยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ที่หัวเว่ย โปรแกรมพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสร้างขึ้นบน 3 เสาหลัก: ความร่วมมือ, ความมุ่งมั่น, และการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชน หลักการเหล่านี้ผลักดันให้เราพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถทางดิจิทัลกว่า 200,000 คน ผ่านโครงการต่างๆ เช่น Huawei ICT Academy ในมหาวิทยาลัยกว่า 310 แห่ง, การแข่งขัน Tech4City และการประชุมสุดยอดด้านความสามารถทางดิจิทัล (Digital Talent Summit) เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมผู้นำในอนาคตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และร่วมกับพันธมิตรของเราสร้างเวทีที่ใหญ่ขึ้น สำหรับเยาวชนให้เติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยี”
ดาโต๊ะ ดร. ฮาบิบะ อับดุล ราฮิม (Datuk Dr. Habibah Abdul Rahim) ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอกอัครราชทูต เอ็ม.ไอ. เดอรี อามาน (M.I. Derry Aman) ประธานคณะกรรมการมูลนิธิอาเซียน ยังได้แบ่งปันวิสัยทัศน์ที่มีคุณค่าเกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างอนาคตดิจิทัลที่สดใสในประเทศอาเซียน “การลงทุนกับเยาวชน เป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพทางดิจิทัลไม่เพียงแต่ในอาเซียนและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกด้วย” ตามที่เอกอัครราชทูตเดอรี กล่าว ในแง่นี้ เอกอัครราชทูตเดอรี ได้กล่าวชื่นชมความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียนและหัวเว่ยในการร่วมจัดโปรแกรมนี้ ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชนโดยการให้ผู้เข้าร่วมได้รับทักษะทางดิจิทัลและวัฒนธรรมที่สำคัญ ในระหว่างงาน ตัวแทนรัฐบาลจากทั่วภูมิภาคได้แบ่งปันข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และความก้าวหน้าในการพัฒนาความสามารถทางดิจิทัล
ดร. เจีย วันเดค (Dr. Chea Vandeth) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา กล่าวสุนทรพจน์ว่า การประชุมสุดยอดนี้ เป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาทักษะดิจิทัลระหว่างประเทศสมาชิก และได้แบ่งปันความก้าวหน้าที่โดดเด่นของการพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลในกัมพูชา “ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตของภูมิภาคของเราขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ และการเตรียมคนของเราให้มีทักษะที่จำเป็นในการเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยีเหล่านั้น” ดร. ฮาจิ อัซมาน บิน อาหมัด (Dr. Haji Azman Bin Ahmad) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาแห่งบรูไนดารุสซาลาม ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถทางดิจิทัล
ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาความสามารถทาง ICT ของ ม.อ.” ซึ่งเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและชุมชนในวงกว้างโดยการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภาคการศึกษาและอื่นๆ
รองศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.สุธิภรณ์ ตรึกตรอง ผู้รักษาการรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง) พร้อมด้วย ฟ่าน เสี่ยวเชียนผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรมและการรับรองระดับโลกของหัวเว่ย และ โจว จินจุนผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และการรับรองภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ได้แบ่งปันความร่วมมือและวิสัยทัศน์ของ ม.อ. และหัวเว่ย โดย โจว จินจุนกล่าวในสุนทรพจน์ของเขาว่า “หัวเว่ย เอเชียแปซิฟิก (Huawei APAC) ตั้งเป้าที่จะมีวิศวกรที่ได้รับการรับรอง 80,000 คน และสร้างผู้เชี่ยวชาญ HCIE (Huawei Certified ICT Expert) จำนวน 1,500 คน ในอีก 5 ปีข้างหน้า”
การอภิปรายในหัวข้อ “เชื่อมต่ออนาคต: ยกระดับทักษะดิจิทัลเพื่อความสำเร็จในอนาคต” เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสุดยอดครั้งนี้ โดยมี ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ รองประธานสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้เปิดการอภิปราย และนำโดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน การอภิปรายที่เต็มไปด้วยพลังนี้มีผู้เชี่ยวชาญจาก สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (International Telecom Union: ITU APAC), ม.อ. และ Huawei Seeds Global Ambassadors เข้าร่วมงาน การอภิปรายได้พูดถึงความซับซ้อนในการสร้างผู้นำสำหรับวันพรุ่งนี้โดยการเชื่อมช่องว่างทางดิจิทัล และหารือเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการใช้ทักษะดิจิทัลและส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัล
การประชุมสุดยอดสิ้นสุดลงด้วยการแสดงของนักเรียน 17 กลุ่มที่นำเสนอวัฒนธรรมของตนเองในพิธีอำลา รศ. ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน ดาโต๊ะ ดร. ฮาบิบะ อับดุล ราฮิม ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ SEAMEO และ ไซมอน หลิน ประธานหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เข้าร่วมกับนักเรียนเพื่อจุดประกายแผนที่ทางเดิน สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการเดินทางที่น่าตื่นเต้นและประสบความสำเร็จ
หลังจากการประชุมสุดยอด นักเรียนจะได้เข้าร่วมทัวร์ที่เข้มข้นในวิทยาเขตของหัวเว่ย ที่เซินเจิ้นและตงกวน ซึ่งพวกเขาจะได้เข้าร่วมชั้นเรียนการเรียนรู้ดิจิทัลและศึกษาด้านเทคโนโลยี ICT และการประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ พวกเขายังจะแข่งขันในรอบรองชนะเลิศระดับภูมิภาคของการแข่งขัน Tech4Good โดยผู้ชนะสองอันดับแรกจะได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศระดับโลกในปี 2568 ที่ประเทศจีน พร้อมรับโอกาสในการได้รับการสนับสนุน การเดินทางไปประเทศจีน และการสนทนาแบบตัวต่อตัวกับผู้บริหารของหัวเว่ยในท้องถิ่น