ผลวิจัยจาก 40 ประเทศ ชี้องค์กรกำลังเผชิญความท้าทายในการนำ AI มาใช้ ขณะสร้างจุดยืนเพื่อนวัตกรรมในอนาคต
ผลการวิจัย Dell Technologies Innovation Catalyst Research 99% สำหรับองค์กรไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) โดยองค์กรที่รายงานการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2023 มีสูงถึง 91% (เพิ่มขึ้น 25%) และลดลงเหลือ 75% สำหรับองค์กรที่รายงานการเติบโตรายได้ลดลง (1-5%) และมีรายได้คงที่หรือถดถอย
จากการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจำนวน 6,600 คน ครอบคลุม 40 ประเทศ รายงานชี้ให้เห็นว่า แม้องค์กรส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ AI และ GenAI แต่ระดับความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ล้วนแตกต่างกันไปมาก เกือบทุกองค์กรในประเทศไทย (98%) กล่าวว่าตัวเองมีจุดยืนที่ดีในการแข่งขันและมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 80% ทั่วโลก 82%) ขณะเดียวกัน ครึ่งหนึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจที่เป็นองค์กรในไทยต่างไม่แน่ใจว่าอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 50% ทั่วโลก 48%) และทุกองค์กร (100%) รายงานถึงความยากลำบากในการตามให้ทันกับสถานการณ์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% ทั่วโลก 57%) โดย 40% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทยกล่าวว่ายังขาดบุคลากรที่มีความสามารถ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 41% ทั่วโลก 35%) โดย 37% รายงานถึงความกังวลใจเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 31%) และ 34% ขององค์กรในประเทศไทยรายงานถึงการขาดงบประมาณ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 31% ทั่วโลก 29%) ว่าเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม
GenAI จากแนวคิดสู่การใช้งานจริง
60% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่า GenAI ให้ศักยภาพที่โดดเด่นในการปฏิรูปการทำงาน ช่วยสร้างคุณค่าในการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยไอที (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 52%) และ 65% อ้างถึงการสร้างผลลัพธ์ที่ดี (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 53% ทั่วโลก 52%) ขณะที่ 62% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย อ้างถึงศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าได้ดีขึ้น (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 51%) นอกจากนี้ ผู้ร่วมการสำรวจยังตระหนักดีถึงความท้าทายที่ต้องรับมือ 88% ขององค์กรในไทยกลัวว่า AI จะนำพาปัญหาใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยภัยและความเป็นส่วนตัวมาด้วย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 69% ทั่วโลก 68%) และ 90% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) เห็นพ้องว่าข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรตนมีค่ามากเกินกว่าจะเอามาไว้ในเครื่องมือ GenAI ที่บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงได้
ในภาพรวม การตอบแบบสอบถามยังชี้ว่าองค์กรต่างๆ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของ GenAI ในการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การนำมาใช้งานจริง 27% ของผู้ร่วมการสำรวจจากไทยกล่าวว่ากำลังเริ่มนำ GenAI มาใช้งาน เนื่องจากองค์กรต่างๆ กำลังนำมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งความกังวลหลักจะอยู่ที่การทำความเข้าใจว่ามีความเสี่ยงตรงจุดไหนบ้าง และใครรับผิดชอบความเสี่ยงเหล่านั้น โดย 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย เห็นพ้องว่าองค์กรควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของ AI มากกว่าตัวระบบ การใช้งาน หรือสาธารณะเองก็ตาม
ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ในประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มว่า “ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าบรรดาธุรกิจในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงของ AI และ GenAI ที่ให้ศักยภาพสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและยกระดับประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้แก่ลูกค้า ความท้าทายในขณะนี้ คือการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การใช้งานจริง และการสร้างระบบนิเวศของพันธมิตรที่เชื่อถือได้คือสิ่งสำคัญยิ่งที่ช่วยให้องค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย สามารถปรับขยายเพื่อรองรับนวัตกรรมได้ อีกทั้งช่วยตอบโจทย์ความกังวลใจหลักอย่างความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม และการสร้างความยั่งยืน
องค์กรกำลังต่อกรกับความท้าท้ายของภาพรวมภัยคุกคามในปัจจุบัน
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับองค์กรในวงกว้าง ความกังวลเหล่านี้ มีที่มาที่ไป เนื่องจาก 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่าได้รับผลกระทบจากการโจมตีความปลอดภัยภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 83%) ผู้ร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ (96%) กำลังนำกลยุทธ์ Zero Trust มาใช้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 90% ทั่วโลก 89%) และ 94% ขององค์กรในประเทศไทย กล่าวว่าองค์กรตนมีแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response Plan) อยู่แล้ว ในการรับมือการโจมตี หรือข้อมูลรั่วไหล (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 78%)
ปัญหาหลักสามอันดับแรก ได้แก่ มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และการละเมิดข้อมูล ในรายงานยังเน้นว่าปัญหาที่เกิดจากฟิชชิ่ง เป็นสัญญานบ่งชี้ถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้นตามมา โดยพนักงานมีบทบาทต่อภัยคุกคามในภาพรวม ตัวอย่างเช่น 86% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 72% ทั่วโลก 67%) เชื่อว่าพนักงานบางคนหลบหลีกข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยในองค์กรเพราะทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และ 91% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย กล่าวว่าภัยคุกคามจากในองค์กรเป็นความกังวลอย่างมาก (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 70% ทั่วโลก 65%) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องการฝึกอบรมเพราะบุคลากรคือด่านแรกในการป้องกัน
โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
การวิจัยยังเผยว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยมีบทบาทสำคัญในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง GenAI กำลังเดินหน้าพัฒนาและมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รองรับการปรับขยายได้ ถูกหยิบยกว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ธุรกิจต้องปรับปรุงเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีส่วนใหญ่ในประเทศไทย (78%) กล่าวถึงความชื่นชอบในโมเดลแบบ on-prem หรือไฮบริด ว่าช่วยตอบโจทย์ความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดจากการนำ GenAI มาใช้ในองค์กร
นอกจากนี้ ความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลทั่วองค์กร ยังนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรม 53% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 33%) กล่าวว่าปัจจุบันตนสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมได้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังรับมือกับความท้าทาย 98% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 82%) กล่าวว่าข้อมูลคือปัจจัยที่สร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ GenAI ต้องสัมพันธ์กับการใช้และปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ผู้ร่วมการสำรวจเกินครึ่ง (62%) ในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 47% ทั่วโลก 42%) ยังอ้างว่าตัวเองคาดว่าภายในห้าปีข้างหน้า จะมีปริมาณข้อมูลมากมายที่หลั่งไหลมาจากเอดจ์
ผลวิจัยที่น่าสนใจอื่นๆ รวมถึงประเด็นต่อไปนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.dell.com/innovationcatalyst
Dell Technologies พร้อมขับเคลื่อนภาคโทรคมนาคม สู่ยุค AI
เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศเปิดตัว Dell AI for Telecom โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อเร่งให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) นำ AI มาใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว
การศึกษาล่าสุดของ MeriTalk study สนับสนุนการจัดทำโดย เดลล์ เทคโนโลยีส์ พบว่า 48% ของผู้บริหารด้านโทรคมนาคม มองว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมได้มากที่สุด ภายใน 5 ปีข้างหน้า แต่กระนั้น 68% รู้สึกว่าองค์กรของตัวเองยังต้องดิ้นรนเพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้าที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
โปรแกรม Dell AI for Telecom นับเป็นส่วนหนึ่งของ Dell AI Factory ที่ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านี้ ด้วยการนำความเชี่ยวชาญด้าน AI ของเดลล์ รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการบริการ พร้อมซอฟต์แวร์และซิลิคอนที่ครอบคลุมระบบนิเวศ AI ทั้งหมดมารวมไว้ด้วยกัน โดยโปรแกรมนี้จะพัฒนาและนำโซลูชัน AI มาใช้ภายในองค์กร เพื่อให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถใช้โซลูชัน AI เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย ปรับปรุงการให้บริการลูกค้าและสร้างคุณค่าจากเอจด์ เอ็นเตอร์ไพร์ซได้มากยิ่งขึ้น
“การใช้ประโยชน์จากโอกาสมากมายที่ AI ได้แสดงให้เห็น กลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่น่าสนใจมากที่สุดในการปฏิรูปเครือข่ายสู่คลาวด์” แดนนี่ อัลมาร์จี้ รองประธานฝ่าย Presales ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “Dell AI for Telecom นำความเชี่ยวชาญด้าน AI และระบบโครงสร้างพื้นฐานของเดลล์ มารวมไว้ด้วยกัน พร้อมด้วยพันธมิตรทั่วทั้งระบบนิเวศ เพื่อช่วยผู้ประกอบการเครือข่ายติดตั้งโซลูชัน AI สำหรับใช้ภายในเครือข่ายและบนเครือข่าย ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ปรับปรุงประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสใหม่จากการทำรายได้ในส่วนเอดจ์”
เดลล์ ร่วมกับ NVIDIA ปฏิรูปเครือข่ายโทรคมนาคม ด้วยโซลูชัน AI
เดลล์ขยายความร่วมมือกับ NVIDIA ในประเด็นต่อไปนี้
ร่วมกันสร้างและตรวจสอบการทำงานของโซลูชัน AI เพื่อโทรคมนาคม สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ซึ่งเป็นโซลูชันที่สร้างและตรวจสอบการทำงานด้วย Dell AI Factory พร้อมกับ NVIDIA โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge และ NVIDIA GPUs รวมถึงซอฟต์แวร์ AI ของผู้จำหน่ายรายอื่น โดยโซลูชันเหล่านี้ ช่วยให้ผู้ให้บริการ CSPs นำ AI มาใช้ดังต่อไปนี้
บริการ Dell Professional Services ช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ในเรื่องของกลยุทธ์ การติดตั้งและดำเนินงานด้วยโซลูชัน AI สำหรับกรณีการใช้งานในภาคโทรคมนาคม
ร่วมมือกับผู้ประกอบการเครือข่าย เพื่อการนำ AI และนวัตกรรมมาใช้ได้รวดเร็ว
เดลล์ ร่วมมือกับผู้ให้บริการ CSPs ในส่วนของ Dell Telecom Open Ecosystem Labs อยู่แล้ว ในการพัฒนาโซลูชัน AI โดยใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐาน Dell AI Factory พร้อมระบบนิเวศด้านพันธมิตร เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า อีกทั้งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่าย
“ในความร่วมมือกับ เดลล์ เทคโนโลยีส์ และ NVIDIA ทาง Lintasarta จะนำเสนอบริการ GPU-as-a-Service (Deka GPU) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน AI ของเดลล์ และ NVIDIA GPUs สำหรับธุรกิจระดับประเทศ เพื่อให้องค์กรเหล่านี้เข้าถึงความสามารถล้ำหน้าของ AI ที่ปรับให้เหมาะกับงานที่ต้องใช้พลังในการประมวลผลสูง” กิเดียน ซูแรนต้า ประธานบริหารด้านคลาวด์ Lintasarta กล่าว
“การสร้างแพลตฟอร์ม AI สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ นับเป็นก้าวสำคัญในการผสาน AI เข้ากับระบบสนับสนุนทางธุรกิจ (BSS) นอกจากนวัตกรรมดังกล่าวจะมุ่งส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในภาคโทรคมนาคมแล้ว ยังช่วยผลักดันการเติบโตของรายได้ ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้รวดเร็วเกินคาด อีกทั้งให้ประสิทธิภาพจากการช่วยลดภาระงานแบบเดิม และช่วยปรับปรุงมาตรฐานเพื่อให้โมเดลภาษาขนาดใหญ่สามารถเข้าใจผลิตภัณฑ์ของผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือได้ง่าย รองรับการเรียกใช้ API ที่มีการจัดการที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ปัญหา โดยการร่วมมือกับเดลล์ เทคโนโลยีส์ เรามุ่งที่การเร่งสร้างนวัตกรรมและนำ AI มาใช้งานเพื่อมอบคุณค่าและบริการชั้นเยี่ยมให้กับลูกค้าของเรา” ไห่ซัง ควอน หัวหน้า MNO AI Platform ของ SK Telecom กล่าว
“เครือข่ายโทรคมนาคม เป็นโครงสร้างสำคัญที่นำแอปพลิเคชัน AI มาให้กับผู้บริโภคและองค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซในวงกว้าง เดลล์ กำลังเร่งให้มีการนำ AI factories ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI รวมถึง AI-RAN ในภาคโทรคมนาคม ด้วยชุดโซลูชันของ NVIDIA อีกทั้งช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานในเครือข่ายของตน และช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า” รอนนีย์ วาสิสตา รองประธานอาวุโส ฝ่ายโทรคมนาคม NVIDIA กล่าว
“เราร่วมมือกับ เดลล์ เทคโนโลยีส์ โดยใช้ Dell AI Factory และแพลตฟอร์ม Amdoc’s amAIz เพื่อมอบโซลูชัน AI ที่จะปฏิรูปการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร และเร่งการนำ GenAI มาใช้งาน” แอนโธนี กูนทิลลีก ประธานกลุ่ม เทคโนโลยี และหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ Amdocs กล่าว
การวางจำหน่าย
ข้อมูลเพิ่มเติม