6 พ.ย. 2567 264 23

NT พร้อมลุย SNP Gateway เน็ตดาวเทียมวงโคจรต่ำเร็วสุด 10 Gbps เริ่มต้น 7 ประเทศ ทั่วเอเชีย

NT พร้อมลุย SNP Gateway เน็ตดาวเทียมวงโคจรต่ำเร็วสุด 10 Gbps เริ่มต้น 7 ประเทศ ทั่วเอเชีย

NT เปิดเผยความ ร่วมมือล่าสุดกับ Eutelsat OneWeb ภายใต้ Eutelsat Group ผู้ให้บริการโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำระดับโลก ในการเปิดให้บริการ SNP Gateway สำหรับระบบดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit - LEO) ณ สถานีดาวเทียมสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค


พันเอกสรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ NT กล่าวในงานประชุมและสัมมนา APSCC 2024 Satellite Conference & Exhibition (APSCC 2024) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมาว่า "การพัฒนา SNP Gateway สำหรับดาวเทียมวงโคจรต่ำในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของ NT ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารของประเทศไทยและภูมิภาค สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราในการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน การเลือกสถานีดาวเทียมสิรินธรเป็นที่ตั้งของ SNP Gateway แห่งนี้ เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตำแหน่งที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย ไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อระดับประเทศ แต่ยังเชื่อมโยงประเทศไทยกับโครงข่ายการสื่อสารระดับโลก" พันเอกสรรพชัยย์ กล่าว


หวังสุดคือ Data Application เพื่อการพัฒนาแอปฯ ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูล

"NT ตอกย้ำความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นกับ One Web  ในการสร้างสถานี SNP Gateway เรามีความคาดหวังว่าจะ Operate ร่วมกัน โดยตั้งเป้าเปิดบริการอย่างเป็นทางการ ต้นเดือนธันวาคม ปี 2567 และคาดว่า Commercial ในเชิงพาณิชย์ต้นเดือน ม.ค 2568 โดยทำในส่วนของ International ต่างประเทศก่อน ส่วนประเทศไทยเองยังอยู่ในระหว่างการขอ Regulatory รอ กสทชเป้าหมายหลักในปัจจุบัน เรามองถึง Demand ความต้องการ ในต่างประเทศค่อนข้างจะมีความต้องการสูงพอสมควร เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ในประเทศไทยก็มีความต้องการ กับอนาคตที่รองรับความเร็วมากขึ้น ส่งข้อมูลได้ไวขึ้น ข้อมูลเซ็นเซอร์ต่างๆ มีการวางแผน พูดคุยกับพันธมิตรไทยและต่างประเทศ ขั้นตอนต่างๆ นโยบายของรัฐบาล สนับสนุนการแข่งขันในอนาคต Cloud Service มีคุณภาพที่ดี ซึ่งเราอาจจะยังเห็นไม่เยอะมากในปัจจุบัน แต่กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบเป็น Service ผูกกับเซ็นเซอร์ในประเทศ ที่จะต้องดำเนินการต่อไปด้าน data application ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ใช้ประโยชน์จากดาต้าที่เป็น Virtualization ต่อไป Infrastructure ครอบคลุมทั่วถึง ก็จะไปมุ่งเน้นแอปพลิเคชั่น สนับสนุนร่วมกับพันธมิตรในอนาคต และร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทย เป็น Digital Hub



Mr. Bala Balamurali, Vice President, Southeast and East Asia, Eutelsat OneWeb กล่าวเสริมว่า "เราขอแสดงความขอบคุณต่อ NT สำหรับความเชี่ยวชาญ ความร่วมมือ และการสนับสนุนในการสร้างสถานีเชื่อมโยงโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ OneWeb (SNP Gateway) นี้ให้สำเร็จ ซึ่งภายหลังการก่อสร้างสถานีเชื่อมโยง (SNP Gateway) แห่งนี้แล้วเสร็จ บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูง ที่มีความหน่วงต่ำของเราจะสามารถเริ่มให้บริการ เพื่อส่งมอบบริการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพและครอบคลุมทั่วประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก" Mr. Bala กล่าว

ในประเทศไทย ในพื้นที่ห่างไกล ปัจจุบันหลายแห่งมีเครือข่ายรองรับอยู่แล้ว รวมถึง Mobility ดังนั้น ดาวเทียมเป็นส่วนหนึ่งในตัวเลือก ในส่วน Market Point ยังไม่เคยเห็นว่าคืออะไร มีเท่าไหร ถ้าเป็น 5G ครอบคลุม เชื่อมต่อในหลักล้านอุปกรณ์ พอเป็นดาวเทียม ขึ้นอยู่กับตัวเซ็นเซอร์ และถ้าหากมีระบบนิเทศ ecosystem ที่ต่อยอด เช่น Smart Meter มีทางเลือกคือดาวเทียม ใช้กับ LoRa ได้

 "Operation Model ทาง OneWeb ร่วมกับ NT ขายให้กับโอเปอเรเตอร์ ไม่ได้ขายให้กับลูกค้าทั่วไปโดยตรง จากนั้นโอเปอเรเตอร์ค่อยเอาไปขายให้กับ End-User อีกที ตลาดคนละกลุ่มและไม่ได้แข่งขันกับโอเปอเรเตอร์ แต่ช่วยเรื่อง IoT ต่างๆ ในประเทศไทยพื้นที่ห่างไกลมีสัญญาณมือถือรองรับครอบคลุม

"ในไทย ความฝันอยู่ไม่ไกล หาก Regulation อัยการตรวจร่าง กสทชโอเปอเรเตอร์ที่เป็น Wholesale เจ้าอื่นๆ ด้วย คาดว่าจะจบ โดยใช้เวลาประมาณ เดือน ก็จะได้ใช้งาน ช่วงต้นปีหน้า และเมื่อเริ่มให้บริการก็จะเริ่มมีรายได้ทันที"


สำหรับรายได้ของ NT จะมาจากอะไร

มาจากการเป็น Provider รับจ้าง ก่อสร้างขึ้นมา เป็น Hub เอาไปขาย Wholesale แล้วเอาไปขายให้กับ End-User อีกที โดยมีการดีลกับทาง OneWeb โดยคาดหวังว่าบริการในไทยจะให้เสร็จพร้อมๆ กัน และเริ่มให้บริการพร้อมๆ กันในต่างประเทศ ความคาดหวัง รายได้ปีละ 200 ล้านบาท ในส่วนของค่า Operation และ Provider ส่วนของรายได้ในเชิงพาณิชย์ หรือ Commercial จะเป็นตลาดแบบเดียวกับที่เป็นบรอดแบรนด์ หากมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น มีพื้นที่ใหญ่ขึ้น

NT มีการพูดคุยกับพันธมิตรในต่างประเทศ พม่า ลาว ซึ่งมีความต้องการสูง เกิดสงคราม ไฟเบอร์ออฟติค รัฐบาลเข้าไม่ถึง มีพื้นที่ห่างไกลที่เข้าไม่ถึง จึงใช้โซลูชั่นนี้ช่วยให้อินเทอร์เน็ตครอบคลุม ส่วนดาวเทียมไทยคม 4 หรือ IP Star ซึ่งจะหมดอายุทางวิศวกรรมในปี 2568 มีการเริ่ม Migrate มีการพิจารณา เรื่องต้นทุนถูกกว่า ความถี่สัญญาณถูกกว่า และรอ ดาวเทียมไทยคม 9

"หลักการของดาวเทียม เข้ามาช่วยในเรื่องความครอบคลุมสัญญาณในพื้นที่ห่างไกล เชื่อว่ามีความต้องการ และมองลูกค้าในมือ 50,000 ราย ในปีแรก มองเห็น Demand และโอกาสในการให้บริการ ปกติเราจะมองเรื่อง ดาวเทียมทหาร แต่จริงๆ แล้ว Commercial มีโอกาสในการให้บริการ เหมือนกับมือถือ มี Maximum Capacity สูงสุด มีความต้องการ มีช่องว่าง อย่างไรก็ตาม เทรนด์ สปีดต้องสูงขึ้นอยู่แล้ว ในอนาคตจะเหมือนเรามี 3G มี 4G 5G"

 โดยในประเทศไทย ยังไม่มีบริการ Service ที่มีความสมบูรณ์ เราใช้ Social Network ซึ่งจะต้องวิ่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์นอกประเทศ แต่กฎหมายยังไม่สามารถบังคับใช้กับการรับส่งข้อมูลนอกประเทศได้


SNP Gateway แห่งใหม่ของไทย

สถานที่ตั้งอยู่ที่สถานีดาวเทียมสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการออกแบบและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อรองรับการรับ-ส่งสัญญาณผ่านโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ OneWeb โดยมีคุณสมบัติเด่นดังนี้:

  • ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10 Gbps
  • ค่าหน่วงเวลา (Latency) ต่ำเพียง 20-50 มิลลิวินาที
  • ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
  • ระบบสำรองและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
  • มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 400 ล้านบาท


ขอบเขตการให้บริการ SNP Gate way

รองรับการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารผ่านโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ OneWeb ครอบคลุมพื้นที่:

  • ประเทศฟิลิปปินส์
  • ประเทศกัมพูชา
  • ประเทศลาว
  • ประเทศเมียนมา
  • ประเทศไต้หวัน
  • ประเทศเกาหลีใต้
  • บางส่วนของประเทศอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงกับ SNP Gateway ในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกได้

ประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ

การให้บริการผ่าน SNP Gateway จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในหลากหลายภาคส่วน:

  • ภาคธุรกิจ: เพิ่มความเร็วและเสถียรภาพในการเชื่อมต่อสำหรับองค์กร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องการการสื่อสารแบบ Real-time เช่น การเงิน การธนาคาร และ ระบบโลจิสติกส์
  • ภาคการศึกษา: สนับสนุนการเรียนรู้ทางไกลในพื้นที่ห่างไกล เชื่อมต่อโรงเรียนในชนบทสู่แหล่งความรู้ดิจิทัล
  • ภาคประชาชน: ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ที่โครงข่ายโทรคมนาคมภาคพื้นดินเข้าไม่ถึง รวมถึงพื้นที่เกาะ น่านน้ำมหาสมุทร และชายแดน
  • ภาครัฐ: สนับสนุนการให้บริการภาครัฐและการจัดการภัยพิบัติ พร้อมระบบสำรองฉุกเฉินสำหรับการสื่อสารในภาวะวิกฤต


กำหนดการเปิดให้บริการ

NT มีกำหนดเปิดให้บริการ SNP Gateway อย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ของปี 2567 โดยจะเริ่มทดสอบระบบในเดือนพฤศจิกายน 2567 นี้ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพการให้บริการสูงสุด โดยคาดว่าจะสามารถรองรับการให้บริการครอบคลุมผู้ใช้งานในภูมิภาคได้มากกว่า 50,000 ราย ภายในปีแรกของการให้บริการ

ข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการ SNP Gateway สามารถติดต่อได้ที่:

เกี่ยวกับ NT

NT เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารผ่านดาวเทียมชั้นนำของประเทศไทย ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมครบวงจร ทั้งโครงข่ายภาคพื้นดินภายในประเทศและโครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศ พร้อมพันธมิตรทางธุรกิจระดับโลกด้านอุตสาหกรรมอวกาศอย่าง Eutelsat OneWeb

เกี่ยวกับ Eutelsat Group

Eutelsat และ OneWeb ประกาศรวมตัวกันเป็น Eutelsat Group กลายเป็นผู้ให้บริการดาวเทียมรายแรกที่ให้บริการผ่านระบบดาวเทียมทั้งวงโคจรค้างฟ้า (GEO) และวงโคจรต่ำ (LEO) ครอบคลุมทั่วโลก เพื่อผสานความเชี่ยวชาญด้านดาวเทียม GEO ของ Eutelsat กับโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) ที่ล้ำหน้าของ OneWeb โดย Eutelsat OneWeb ภายใต้ Eutelsat Group ได้ร่วมมือและร่วมลงทุนกับ NT เพื่อจัดตั้ง SNP Gateway ในประเทศไทย รองรับการเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) มุ่งให้บริการที่ยืดหยุ่นและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ตอบสนองความต้องการด้านการสื่อสารและการเชื่อมต่อในภูมิภาคต่อไป