12 พ.ย. 2567 308 0

ทำไม? คนไทย 97% ยังกังวลเรื่องความปลอดภัย แม้ 64% จะเชื่อมั่นในมาตรการปัจจุบัน

ทำไม? คนไทย 97% ยังกังวลเรื่องความปลอดภัย แม้ 64% จะเชื่อมั่นในมาตรการปัจจุบัน
  • สถิติน่าตกใจ! พบ 53% ของคนไทยเคยประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และ 97% ยังกังวลเรื่องความปลอดภัย สะท้อนความท้าทายด้านความปลอดภัยทางถนนที่ยังต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
  • ขณะที่ผลกระทบต่อผู้ขับขี่จักรยานยนต์ พบ 63% ของผู้ขับขี่สองล้อเคยประสบอุบัติเหตุ และ 92% รู้สึกไม่ปลอดภัย ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นพาหนะหลักของคนไทย
  • ผู้ใช้ถนนไทยมองเทคโนโลยีเป็นความหวังใหม่ โดย 90% เชื่อมั่นว่าระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน และ 74% สนใจซื้อรถที่มีระบบนี้

ผลสำรวจโดย HERE Technologies เผยว่า 90% ของผู้ใช้ถนนชาวไทย ไว้วางใจในระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง เพื่อถนนที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

  • 97% ของผู้ใช้ถนนชาวไทยที่ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นมีความกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • 90% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) มีความสำคัญต่อความปลอดภัยบนท้องถนน
  • 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจในการซื้อยานพาหนะที่มาพร้อมกับ ADAS

ผลสำรวจล่าสุดโดย HERE Technologies แพลตฟอร์มข้อมูลและเทคโนโลยีตำแหน่งชั้นนำ เผยให้เห็นถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย และความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) ในการลดอุบัติเหตุ


ไฮไลท์สำคัญจากการสำรวจความคิดเห็น รถยนต์ปลอดภัย ถนนปลอดภัย (Safer cars, safer roads)” ประกอบด้วย:

ความกังวลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในวงกว้าง

ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่ง (53%) เผยว่าเคยประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงสองปีที่ผ่านมา แม้ว่า 64% เชื่อว่ามาตรการความปลอดภัยในปัจจุบันของประเทศไทยได้ผล แต่ 97% ของผู้ทำแบบสอบถามยังคงกังวลอย่างมากต่ออุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมขับขี่โดยประมาท เช่น การขับรถเร็วเกินกำหนดและการขับขี่อย่างก้าวร้าว ข้อมูลนี้เน้นย้ำถึงความไม่สอดคล้องระหว่างประสิทธิภาพของมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนนที่รับรู้และความกังวลที่แท้จริงที่ผู้ขับขี่ต้องเผชิญอยู่ทุกวันเนื่องจากการขับขี่โดยประมาทถือเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนน ผลการตอบแบบสอบถามนี้จึงตอกย้ำถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายและการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมบนท้องถนนของประเทศไทยให้เข้มงวดยิ่งขึ้น

ผู้ขับขี่ยานพาหนะสองล้อยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยง

ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับยานพาหนะสองล้อ โดยมีประชากรนับล้านใช้รถจักรยานยนต์และสกู๊ตเตอร์เป็นพาหนะในการเดินทางประจำวัน ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า 63% ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และสกู๊ตเตอร์เคยประสบอุบัติเหตุในช่วงที่ผ่านมา และ 92% รู้สึกไม่ปลอดภัยบนท้องถนน สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของผู้ขับขี่กลุ่มนี้

ผลกระทบเชิงบวกจากโครงการริเริ่มความปลอดภัยบนท้องถนนของประเทศไทย

ประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยบนถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำระบบหักคะแนนจากการกระทำผิดกฎจราจรมาใช้ในเดือนมกราคม 2566 ระบบนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อลงโทษพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งได้ส่งผลกระทบเชิงบวก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 76% ระบุว่าระบบหักคะแนนช่วยปรับปรุงพฤติกรรมการขับขี่ของพวกเขา ความสำเร็จของแผนริเริ่มนี้ของรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของมาตรการบังคับใช้กฎหมายในการยับยั้งการขับขี่ที่อันตราย ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำหรับการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามาตรการบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้จะเห็นผล แต่ยังมีความต้องการเพิ่มเติมในการนำเทคโนโลยีเพื่อมาเสริมมาตรการดังกล่าว ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนในระดับสูงส่งผลให้ความสนใจในเทคโนโลยี ADAS เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างความปลอดภัยทั้งแก่ผู้ขับขี่และความปลอดภัยบนท้องถนน


ความไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นในเทคโนโลยี ADAS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) กำลังกลายมาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นทางออกสำคัญสำหรับความปลอดภัยบนท้องถนน โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (51%) คุ้นเคยกับ ADAS เช่น ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน และระบบเตือนการออกนอกเลน ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากถึง 90% เห็นด้วยว่าระบบเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และ ความปลอดภัยบนท้องถนน

ความต้องการรถยนต์ที่มาพร้อมกับ ADAS กำลังเพิ่มขึ้น

ความสนใจในยานพาหนะที่มาพร้อมกับ ADAS กำลังเพิ่มขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนถึง 74% แสดงให้เห็นว่าต้องการที่จะซื้อยานพาหนะที่ติดตั้งระบบดังกล่าว โดยมีประโยชน์ด้านความปลอดภัย (67%) เป็นแรงจูงใจหลัก รองลงมาคือความน่าเชื่อถือและความสะดวกในการใช้งานของเทคโนโลยีดังกล่าว

เชื่อมั่นใน ADAS และเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการ

ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของ ADAS อยู่ในระดับสูง โดย 85% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติสามารถทำให้ท้องถนนปลอดภัยยิ่งขึ้นและ ลดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการขับรถเร็วได้ ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการรวม ADAS เข้ากับยุทธศาสตร์ความปลอดภัยบนท้องถนนแห่งชาติของประเทศไทย โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 83% เรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณลักษณะด้านความปลอดภัยขั้นสูงในยานพาหนะเป็นอันดับแรก


จากกรณีศึกษาดังกล่าว มร. เรียวอิจิ อินาบะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นว่า “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ความมั่นใจในการขับขี่และความสะดวกสบายทั้งผู้ขับและผู้โดยสาร พร้อมความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้สะท้อนค่านิยมหลักที่อยู่ใน DNA ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส โดยมีเทคโนโลยีความปลอดภัยหลายระบบที่ได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น ADAS ที่รู้จักกันในชื่อ ‘Mitsubishi Motors’ Diamond Sense’ ระบบควบคุมการขับเคลื่อนและสมดุลขณะเข้าโค้ง (AYC) โครงสร้างตัวถังนิรภัยเหล็กกล้า ที่ใช้เหล็กแรงดึงสูง (‘RISE Body’) และระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ASC) เรามุ่งมั่นที่จะมอบความอุ่นใจในการขับขี่ในระดับสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขับขี่บนภูมิประเทศที่ท้าทาย และสภาพถนนที่หลากหลายในประเทศไทย”

อาบิจิต เซนกุปตา ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย HERE Technologies เสริมว่า “ความต้องการ ADAS ที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีการขับขี่ที่ปลอดภัยและก้าวหน้ามากขึ้นในประเทศ” เห็นได้ชัดว่าผู้ใช้ถนนชาวไทยกำลังมองหาโซลูชันที่ก้าวข้ามมาตรการด้านความปลอดภัยแบบเดิม และแสวงหาเทคโนโลยีที่สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุและปรับปรุงประสบการณ์การขับขี่โดยรวม ความสนใจที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งสัญญาณถึงโอกาสสำคัญสำหรับผู้ผลิตยานยนต์และผู้กำหนดนโยบายที่จะให้ความสำคัญกับการผสานรวมคุณลักษณะ ADAS เข้ากับยานพาหนะและกฎระเบียบข้อบังคับ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเดินทางที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ที่ HERE Technologies เรามุ่งเน้นไปที่การส่งมอบเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งที่สามารถช่วยตอบสนองความต้องการนี้และ ส่งเสริมให้ทั้งผู้ใช้ถนนและผู้กำหนดนโยบายเปิดกว้างเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยกว่าและเชื่อมต่อกันมากขึ้นบนท้องถนนของประเทศไทย”

คลอเดีย เคอห์ล รองผู้อำนวยการ Counterpoint Research กล่าว “ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 50 รายต่อวัน ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด เนื่องจากการขับรถโดยประมาท สภาพถนนไม่ดี และการเมาแล้วขับ เทคโนโลยี ADAS สามารถตรวจจับสถานการณ์อันตรายล่วงหน้าได้ และช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุและปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน ระบบ ADAS ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านความเสี่ยงและความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมถึงการพัฒนาทักษะการขับขี่เพื่อบรรลุเป้าหมายของประเทศไทยในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลงร้อยละ 50 ภายในปี 2570”

อนุจ เจน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และการพัฒนาธุรกิจ AWS Automotive & Manufacturing ยังแสดงความคิดเห็นว่า "อนาคตของการคมนาคมขนส่งมีรากฐานมาจากเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน" ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) มีศักยภาพที่จะปฏิวัติประสบการณ์การขับขี่ นำไปสู่ยุคใหม่แห่งท้องถนนที่ปลอดภัยและวางใจได้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกด้านการระบุตำแหน่ง ADAS สามารถระบุตำแหน่งยานพาหนะได้อย่างแม่นยำ ช่วยตรวจจับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถนำทางในสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ส่งผลให้อุบัติเหตุน้อยลงและช่วยรักษาชีวิตผู้คนได้มากขึ้น ผ่านความร่วมมือของเรากับผู้นำในอุตสาหกรรมการขนส่งและยานยนต์ อย่าง HERE Technologies, AWS กำลังช่วยให้ลูกค้าเร่งการนำเทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาใช้และพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะนำไปสู่ระบบนิเวศการขนส่งที่ปลอดภัยขึ้น วางใจได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น