19 พ.ย. 2567 50 0

ยูโอบี ฟินแล็บ เปิด 6 โครงการนำร่องกรีนเทคของไทย เตรียมพร้อมรับมือปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืนในไทย

ยูโอบี ฟินแล็บ เปิด 6 โครงการนำร่องกรีนเทคของไทย เตรียมพร้อมรับมือปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืนในไทย

15 โครงการนำร่องกรีนเทคทั่วอาเซียนได้รับทุนสนับสนุนกว่า 2.7 ล้านบาท

ยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) หน่วยงานส่งเสริมนวัตกรรมของ ธนาคารยูโอบี ได้มอบเงินทุนสนับสนุนมูลค่ารวมกว่า 2.7 ล้านบาท (100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์) ให้แก่บริษัทด้านเทคโนโลยีสีเขียว หรือกรีนเทค (GreenTech) ที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อนำร่องโซลูชันด้านความยั่งยืน 15 โครงการร่วมกับยูโอบีและองค์กรพันธมิตรต่างๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน  โดยมีบริษัทกรีนเทคของไทย 5 บริษัทได้รับคัดเลือกและรับเงินทุนสนับสนุนเพื่อนำร่อง 6 โซลูชันสำหรับยูโอบี ประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตร โดยบริษัทและโครงการที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมดได้รับการเปิดตัวที่งาน GreenTech Accelerator 2024 Showcase Day ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Insights Forum ของ Singapore FinTech Festival

โครงการ GreenTech Accelerator 2024 เป็นโครงการระดับภูมิภาคครั้งที่ 2 ของยูโอบี ฟินแล็บ จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้บริษัทกรีนเทคในอาเซียนสามารถขยายกิจการให้เติบโตและดำเนินการปรับเปลี่ยนองค์กร สร้างความร่วมมือกับพันธมิตร และสร้างโครงการนำร่องเพื่อรับมือกับปัญหา   ท้าทายด้านความยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาค โครงการนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเร่งการพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีที่ยั่งยืนในสิงคโปร์และประเทศต่างๆ ในอาเซียน สำหรับปีนี้บริษัทกรีนเทคจำนวน 33 แห่งผ่านการคัดเลือกจากผู้สมัครกว่า 350 รายเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดย 12 บริษัทมาจากสิงคโปร์, 9 บริษัทมาจากมาเลเซีย และ 12 บริษัทมาจากประเทศไทย

บัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการ GreenTech Accelerator 2024 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของธนาคารในการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืน โดยอาศัยการดำเนินงาน เครือข่ายบุคลากรที่ทำงานร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนากรีนเทคที่สร้างผลกระทบเชิงบวกมากขึ้น และยูโอบี ฟินแล็บ จะยังคงทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมกรีนเทค โดยประสานงานให้บุคลากร องค์กรธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐและบริษัท        กรีนเทคมารวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืนที่เกิดขึ้นจริง เราเชื่อว่าด้วยการสนับสนุนที่เหมาะสมจากเครือข่ายที่แข็งแกร่งและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง บริษัทกรีนเทคจะสามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของอาเซียน”

ปัญหาท้าทายที่แท้จริง โซลูชันที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม

จากผลสำรวจ Business Outlook Study 2024 (เอสเอ็มอี & องค์กรขนาดใหญ่) ของยูโอบี พบว่าองค์กรธุรกิจในอาเซียนร้อยละ 87 มองว่าความยั่งยืนมีความสำคัญต่อธุรกิจของตน แต่มีเพียงร้อยละ 44 เท่านั้นที่ปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ในการปรับใช้แนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน ประมาณ 1 ใน 3 ระบุว่า จำเป็นต้องมีการสนับสนุนเพื่อเชื่อมโยงกับพันธมิตรด้านโซลูชันที่เหมาะสม

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้ โครงการ GreenTech Accelerator 2024 จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืนจากธุรกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงทั่วอาเซียน สำหรับในปีนี้ยูโอบีและองค์กรพันธมิตร 26 ราย รวมถึงศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ภิวัฒน์ และคิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค (Kingdom Organic Network) จากประเทศไทยจากประเทศไทย, DKSH Healthcare และ Ngee Ann Polytechnic จากสิงคโปร์ และ Great Cosmo จากมาเลเซียได้จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาท้าทายมากกว่า 50 รายการ โดยครอบคลุม 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ การประหยัดพลังงาน อาหารและเกษตรกรรม เมืองที่ยั่งยืนและการวางผังเมือง การรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนและการจัดการคาร์บอน

ในระหว่างการดำเนินโครงการ บริษัทกรีนเทค 33 แห่งที่เข้าร่วมโครงการได้เสนอโซลูชันโดยอ้างอิงจากข้อมูลเรื่องปัญหาท้าทาย และมีโครงการนำร่อง 15 โครงการได้รับเลือกให้รับทุนสนับสนุนจากยูโอบี ฟินแล็บ ทั้งนี้ 6 โครงการนำร่องจากทั้งหมดจะถูกดำเนินการร่วมกับองค์กรพันธมิตรในประเทศไทย ส่วนที่เหลือ 3 โครงการจะดำเนินการในมาเลเซีย และอีก 6 โครงการในสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยูโอบีจะดำเนินโครงการนำร่อง 5 โครงการภายในธนาคารยูโอบีในประเทศไทยและสิงคโปร์ โดยหนึ่งในโครงการนำร่องที่จะดำเนินการที่อาคารยูโอบี พลาซา กรุงเทพ (UOB Plaza Bangkok) คือ เทคโนโลยีของ AltoTech Global สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารฯ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จะร่วมมือกับ บริษัท GEPP Sa-Ard ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อนำร่องโครงการลดปริมาณขยะแบบบูรณาการสำหรับอีเวนต์ต่างๆ ที่จัดขึ้นในศูนย์การแสดงสินค้า  โครงการนำร่องนี้จะช่วยให้อิมแพ็ค เมืองทองธานี ผู้จัดงาน และผู้เข้าร่วมงานสามารถลดปริมาณขยะ เพิ่มอัตราการรีไซเคิล และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการจัดการขยะ นอกจากนั้น ร่วมมือกับ  CERO ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทกรีนเทคที่ได้รับการคัดเลือก นำเสนอ Immersive Sustainability Solution ในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการจัดงานอีเว้นท์และการเข้าร่วมอีเว้นท์แบบ Realtime นอกจากนั้น CERO จะร่วมมือกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดการแข่งขัน Carbon League ครั้งแรกของประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมด้านความยั่งยืนต่าง ๆ เช่น การรีไซเคิล การลดขยะ การเลือกอาหารที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ และการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสนุกกับการตรวจสอบติดตามและลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของตนเองได้ด้วยพฤติกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมค่านิยมคาร์บอนต่ำในกลุ่มคนรุ่นใหม่

ยูโอบี ฟินแล็บ ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร ได้คัดเลือกบริษัทกรีนเทคและโซลูชันนำร่องที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ด้วยเหตุผลที่ว่าโซลูชันเหล่านี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะกำหนดมาตรฐานใหม่เกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรม พร้อมทั้งผลักดันการปรับใช้เทคโนโลยีสีเขียวอย่างแพร่หลายทั่วภูมิภาคอาเซียน

โครงการเพิ่มเติมสำหรับการขับเคลื่อนความยั่งยืนในอาเซียน

โครงการ GreenTech Accelerator 2024 ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการแรกในปี 2022 ที่สิงคโปร์ ซึ่งมีผู้สมัครเข้าร่วมมากกว่า 150 ราย และนำไปสู่การจัดตั้งโซลูชันนำร่องและโครงการความร่วมมือ 8 รายการ สำหรับโครงการในปีนี้ มีการขยายขอบเขตของโครงการให้กว้างไกลออกไปนอกสิงคโปร์ โดยครอบคลุมตลาดหลักของยูโอบีในอาเซียนอย่างเช่นมาเลเซียและไทย

โครงการนี้เปิดโอกาสให้บริษัทกรีนเทคได้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรมาสเตอร์คลาสภายใต้การดูแลของผู้ฝึกสอนระดับภูมิภาคกว่า 30 คน รวมไปถึงโอกาสในการสร้างเครือข่าย และโครงการดังกล่าวยังช่วยให้บริษัทกรีนเทคกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นผ่านเครือข่ายที่กว้างขวางของยูโอบี ฟินแล็บ ซึ่งประกอบด้วยผู้นำด้านอุตสาหกรรมกว่า 27,000 ราย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ผู้ให้บริการโซลูชัน ธุรกิจเอกชนและรัฐวิสาหกิจ

ยูโอบี ฟินแล็บ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านความยั่งยืนในอาเซียน โดยมีแผนจะเปิดตัวโครงการอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งมุ่งเน้นการผลักดันการประยุกต์ใช้งานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านความยั่งยืนในปี 2025

รายชื่อ 15 โครงการนำร่องในโครงการ GreenTech Accelerator 2024

ลำดับที่

โครงการนำร่อง / พันธมิตร

ประเทศ

รายละเอียด

1

อัลโต้เทค โกลบอล

 

ยูโอบี ประเทศไทย

ประเทศไทย

อัลโต้เทค โกลบอล จะจัดหาเทคโนโลยีเพื่อช่วยวิเคราะห์รูปแบบการใช้พลังงานที่สำนักยูโอบี พลาซา กรุงเทพ ค้นหาจุดที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเสนอคำแนะนำในการทำงานเชิงอัตโนมัติเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2

นาโน โค๊ตติ้ง เทค

 

ยูโอบี ประเทศไทย

ประเทศไทย

UOB CRES จะนำโซลูชันของบริษัทนาโน โค๊ตติ้ง เทค มาใช้กับแผงโซลาร์เซลล์ 116 แผง และกระจกอาคาร 1,745 ตารางเมตรที่สำนักยูโอบี พลาซา กรุงเทพ รวมถึงชั้น ของอาคารและสะพานเชื่อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

3

CERO

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ประเทศไทย

อิมแพ็ค เมืองทองธานี จะนำ Carbon Event Smart Dashboard ของบริษัท CERO มาทดลองใช้เพื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกและดูเมตริกความยั่งยืนในเวลาจริง สำหรับงานที่จัดขึ้นที่ อิมแพ็ค อารีนา (IMPACT Arena) ที่ได้รับคัดเลือกแพลตฟอร์ม CERO จะส่งเสริมพฤติกรรมที่ยั่งยืนในหมู่ผู้เข้าร่วมงานและสอดคล้องกับความพยายามด้านความยั่งยืนที่กำลังดำเนินอยู่ของ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

4

CERO

 

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ประเทศไทย

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ต้องการเปลี่ยนความพยายามด้านความยั่งยืนเป็นเกม โดยให้นักเรียนติดตามและลดคาร์บอนฟุ๊ตพริทน์ของตนเองผ่านกิจกรรมต่าง ที่ออกแบบมาเพื่อส่งผลต่อพฤติกรรมประจำวันที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก

โครงการนำร่องนี้มุ่งเป้าที่นักเรียนของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จำนวน 200 คนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้านความยั่งยืนที่หลากหลายเป็นระยะเวลา เดือนผ่านแพลตฟอร์ม CERO ประกอบด้วยการรีไซเคิล การลดขยะ การเลือกอาหารที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและการประหยัดพลังงาน

5

GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด)

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ประเทศไทย

GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด) จะนำระบบและบริการการจัดการขยะที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแบบครบวงจรมาดำเนินการ เพื่อให้การเก็บข้อมูลขยะตามจุดต่างๆ ในงานที่จัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี  มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

6

Wongphai

(วงศ์ไผ่)

 

บริษัท คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค 

 

ประเทศไทย

วงศ์ไผ่จะจัดหาไม้ไบโอชาร์จำนวน 4 ตันให้กับบริษัท คิงด้อม ออแกนิค เนทเวิร์ค เพื่อนำไปใช้ในฟาร์มออร์แกนิก เพื่อเพิ่มผลผลิตของฟาร์มและสอดคล้องกับมาตรฐาน EU, USDA Organic (โดยเฉพาะในการผลิตมะกรูด ตะไคร้ และมะนาว)

การเพิ่มผลผลิตพืชและผลผลิตฟาร์มที่คาดว่าจะได้จากการใช้ไม้ไบโอชาร์มีดังนี้:

1) มะกรูด: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20  

2) ตะไคร้: มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-25

3) มะนาว: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20

7

Circular Unite

 

ยูโอบี

สิงคโปร์

Circular Unite จะนำแผนการตรวจสอบและจัดประเภทขยะมาใช้ที่ยูโอบี ซึ่งจะช่วยวัดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในระดับผู้เช่าที่สำนักยูโอบี พลาซา ได้อย่างละเอียด โครงการนี้จะช่วยให้การวัดข้อมูลขยะมีความแม่นยำและปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลขยะได้

8

GreenFi

 

ยูโอบี

สิงคโปร์

GreenFi กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูล ESG แบบ White-labelled ซึ่งจะช่วยให้ยูโอบีและบริษัทในเครือติดตามและจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซ ESG ของสินทรัพย์ได้ นอกจากนี้ยังมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย

9

Smart Tradzt

 

ยูโอบี

สิงคโปร์

Smart Tradzt จะจัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และพัฒนาโมเดลการประเมิน RFP สำหรับการจัดซื้อภายในทีม UOB CRES พื่อช่วยประเมินและรวมประสิทธิภาพด้าน ESG และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเวนเดอร์เข้ากับเกณฑ์การคัดเลือกในระยะยาว

โครงการนำร่องนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการตัดสินใจเลือกซัพพลายเออร์ที่ดียิ่งขึ้น

10

Smart Tradzt

 

DKSH Healthcare

สิงคโปร์

Smart Tradzt จะจัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และนำโซลูชัน Product Carbon Footprint (PCF) ในรูปแบบดิจิทัลมาใช้เพื่อคำนวณคาร์บอนฟุ๊ตพรินท์ของบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ของ DKSH Healthcare ซึ่งจะใช้แทนบรรจุภัณฑ์โฟมกันกระแทก

แพลตฟอร์ม PCF ของ Smart Tradzt ช่วยให้ DKSH Healthcare แชร์ข้อมูล PCF กับลูกค้าบรรจุภัณฑ์ และช่วยให้การคำนวณการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่ เป็นไปอย่างง่ายดายและแม่นยำ นอกจากนี้ DKSH Healthcare ยังมีแผนที่จะเผยแพร่ผลการศึกษาในรายงานความยั่งยืนของบริษัท เพื่อยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบอีกด้วย

Smart Tradzt ปฏิบัติตามกรอบการทำงาน PACT (Partnership for Carbon Transparency) ของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WBCSD)

11

Circular Unite

 

Ngee Ann Polytechnic

สิงคโปร์

Circular Unite จะนำระบบ IoT ติดตามขยะมาใช้เพื่อยกระดับการเก็บข้อมูลขยะและการรีไซเคิลที่แม่นยำในระดับผู้เช่าสำหรับโรงอาหารหนึ่งแห่งและอาคารสำนักงานหนึ่งแห่ง รวมถึงการฝึกอบรมทีมปฏิบัติการและการมีส่วนร่วมของผู้เช่า

โครงการนี้จะช่วยเพิ่มความชัดเจนในข้อมูลขยะ ปรับปรุงประสิทธิภาพการรีไซเคิลขึ้นร้อยละ 30 เพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะขึ้นร้อยละ 20 และเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานจากการเก็บข้อมูลขึ้นร้อยละ 90

12

Co.Efficient Alpha

 

Great Cosmo

มาเลเซีย

Co.Efficient Alpha มุ่งหวังที่จะติดตั้งระบบเพิ่มประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าที่โรงงานของ Great Cosmo เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อายุการใช้งานของอุปกรณ์ยาวนานขึ้น ตลอดจนปรับปรุงกำลังไฟฟ้าจริงและลดฮาร์มอนิก

เมื่อติดตั้งระบบเพิ่มประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าแล้ว คาดว่าบริษัท Great Cosmo จะลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณร้อยละ 10 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 13 ตันต่อเดือน

13

Intlife

 

HCK Capital Group

มาเลเซีย

Intlife จะนำระบบ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์ IoT มาใช้ในสำนักงานของ HCK Setia Alam (พื้นที่ 2,800 ตารางฟุต) เพื่อช่วยคาดการณ์และควบคุมการใช้พลังงานในเวลาจริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

โครงการนำร่องนี้ยังจะเป็นการสาธิตให้ลูกค้าเป้าหมายที่มาเยี่ยมชมโชว์รูมได้ชมจริง เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสีเขียวไปใช้ในสินทรัพย์ของตน

14

IVIS Tech

 

Great Cosmo

มาเลเซีย

IVIS Tech จะนำอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซนเซอร์ IoT, มิเตอร์ไฟฟ้า และเกตเวย์ดิจิทัล มาใช้กับสายการผลิตของบริษัท Great Cosmo ที่โรงงานในเมืองราวัง IVIS Tech จะบันทึกข้อมูลการดำเนินงานในโรงงานเป็นระยะเวลา เดือน เพื่อแสดงผลการใช้พลังงานในเวลาจริง ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงกระบวนการในปัจจุบันที่สามารถนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้

15

Wimera

 

GB Industries

มาเลเซีย

GB Industries ต้องการติดตามการใช้พลังงานในพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่เครื่องทำน้ำอุ่น พื้นที่การจุ่ม พื้นที่บรรจุภัณฑ์ และพื้นที่การบำบัดน้ำ บริษัท Wimera จึงเสนอวิธีการติดตามพลังงานบนคลาวด์สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องพร้อมมิเตอร์ไฟฟ้า เครื่องสำหรับโครงการนำร่องนี้

โครงการนี้จะนำไปสู่การลดการใช้พลังงานในพื้นที่เครื่องทำน้ำอุ่นของ GB Industries ที่ปัจจุบันมีเครื่องทำน้ำอุ่น 15 เครื่องและใช้พลังงานประมาณ 80,000 kWh ต่อเดือน