12 ธ.ค. 2567 88 0

เปิดตัวโครงการ Commu Max ต่อยอดแซนด์บ็อกซ์นวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายรัฐระยะที่ 2

เปิดตัวโครงการ Commu Max ต่อยอดแซนด์บ็อกซ์นวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายรัฐระยะที่ 2

วช. จับมือ มธ. เปิดตัวหลักสูตรออนไลน์Commu Max ระยะที่ 2” พลิกโฉมการสื่อสารนโยบายภาครัฐในยุคดิจิทัล


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ “Commu Max ระยะที่ 2” ภายใต้โครงการต่อยอดแซนด์บ็อกซ์นวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายภาครัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการสื่อสารของบุคลากรภาครัฐในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30–11.00 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม อาคาร วช.8 ชั้น 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ รวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วม


Commu Max ระยะที่ 2 ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาการสื่อสารในยุคดิจิทัล เพื่อสร้างผลดีและผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศให้สามารถเข้าถึงสู่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี กล่าวว่า 

“ในนามของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งมีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาความรู้และนวัตกรรม ดิฉันรู้สึกภูมิใจที่ได้เห็นการจัดโครงการนี้ขึ้น ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายภาครัฐ โดยการนำเสนอแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในหน่วยงานภาครัฐ และการพัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อการสื่อสารนโยบายภาครัฐ  ในปัจจุบัน การพัฒนาด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ได้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายในการพัฒนาประเทศชาติ และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐ ที่จะสามารถเพิ่มขึ้นขอบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาภาคีเครือข่ายในการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานในด้านการประชาสัมพันธ์ จึงได้มีการจัดโครงการนี้ขึ้น  ด้วยโครงการ Commu Max ระยะที่ 2 จึงไม่ใช่เพียงการฝึกอบรมทั่วไป แต่เป็นการสร้างระบบการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานรัฐ เพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือจากประชาชน”


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  กล่าวว่า “ด้วยบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการสนับสนุนและผลักดันโครงการพัฒนาหลักสูตรนวัตกรการสื่อสาร Commu Max ให้คำปรึกษาและสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการ รวมถึงการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารและการสร้างภาคีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ยังมุ่งมั่นในการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อขยายขอบเขตของโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มองเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรภาครัฐในด้านการสื่อสารและนวัตกรรม เพื่อให้พร้อมเผชิญกับความท้าทายและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานในหน่วยงานของตนอย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มองเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรภาครัฐในด้านการสื่อสารและนวัตกรรม เพื่อให้พร้อมเผชิญกับความท้าทายและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานในหน่วยงานของตนอย่างมีประสิทธิภาพ”

รายละเอียดของหลักสูตรและกิจกรรมพิเศษในโครงการ Commu Max 


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันยพร สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการ ได้ขึ้นกล่าวเปิดตัวหลักสูตร Commu Max และกิจกรรมภายในโครงการ หลักสูตรออนไลน์ Commu Max นี้  ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะผ่านบทเรียนดิจิทัลที่ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ ถึง 7 บทเรียน เช่น กลยุทธ์การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารในยุคดิจิทัล , การผลิต Short Video  , การผลิตอินโฟกราฟิก , Data Storytelling และการเริ่มต้นการจัดรายการ Talk และ Podcast เป็นต้น รวมทั้งจะได้เรียนรู้ในบทเรียนสุด Exclusive อาทิ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในหน่วยงานภาครัฐ และการพัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อการสื่อสารนโยบายภาครัฐ และบทสรุปของนวัตกรรมการสื่อสาร และ บทเรียน Panel Discussion 


และได้กล่าวถึงรายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ เช่น กิจกรรม MasterClass Workshop ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไซต์ ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริง โดยมีผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรร่วมกันพัฒนาการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการสือสารสำหรับนโยบายภาครัฐ รวมถึงมี Special Talk ในการอบรมในครั้งนี้ด้วย 


และไฮไลท์หลักของโครงการฯ Commu Max นี้ที่สำคัญอีกหนึ่งกิจกรรมคือ การประกวดผลงานนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ กิจกรรมจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้เครื่องมือสื่อสารในรูปแบบใหม่ สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ที่จะสามารถแสดงศักยภาพด้านการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการ ยกยองหน่วยงานที่มีความตั้งใจในการพัฒนาการสื่อสารเชิงนโยบาย สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และสามารถสร้างแรงกระเพื่อม ในการส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐ ได้พัฒนานวัตกรรมการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ในโครงการฯ Commu Max ระยะที่ 2 นี้ ได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายที่นอกเหนือจากหน่วยงานภายในกระทรวง อว. จากโครงการในระยะที่ 1 ได้มีการขยายไปสู่หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และขยายผลของการพัฒนาด้านการสื่อสาร และสร้างภาคีเครือข่าย อีกทั้งยังมีการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ หรือหลักสูตร Commu Max หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหลัก พร้อมเนื้อหาที่ได้รับการอัปเดตให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร  

การเสวนา หัวข้อ “โอกาสและความท้าทายของการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในปัจจุบัน” ภายในงานยังได้จัดเสวนาในหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายของการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในปัจจุบัน” โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ ในวงการสื่อสารมวลชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารในองค์กรภาครัฐ อาทิ ดร.ประวีณมัย บ่ายคล้อย และคุณกมลวรรณ ตรีพงษ์ ผู้ประกาศข่าวจากช่อง 3 เอชดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญธิญาน์ อมรอิสริยาชัย อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั้ง 3 ท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารและมีประสบการณ์ในแวดวงสื่อมวลชน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้แง่คิดในการพัฒนาการสื่อสารสำหรับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรในปัจจุบันได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ 


โครงการต่อยอดแซนด์บ็อกซ์นวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายภาครัฐ (ระยะที่ 2): แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในหน่วยงานภาครัฐและการพัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อการสื่อสารนโยบายภาครัฐ

1. หลักการและเหตุผล

โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารสำหรับหน่วยงานภาครัฐผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารเชิงนโยบาย รวมถึงการสร้างความโปร่งใสและเชื่อมโยงภาคีเครือข่าย ทั้งนี้การสื่อสารภาครัฐต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี และความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานภาครัฐจึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการจัดการเนื้อหาและตอบสนองต่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) และสร้างกลยุทธ์การสื่อสารที่สามารถรับมือกับข่าวสารเท็จและข้อมูลบิดเบือนบนสื่อออนไลน์

2. วัตถุประสงค์

1. ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับกลยุทธ์การสื่อสารในหน่วยงานภาครัฐ โดยวิเคราะห์จากกรณีศึกษาของหน่วยงานที่มีความโดดเด่น

2. พัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรการเสริมสร้างศักยภาพนวัตกรการสื่อสาร (communication innovator) ในรูปแบบออนไลน์ 

3. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงกลยุทธ์แก่บุคลากรภาครัฐ

4. จัดประกวดผลงานนวัตกรรมการสื่อสารนโยบายภาครัฐดีเด่น เพื่อสร้างแรงจูงใจและความภาคภูมิใจในผลงานการสื่อสาร

3. กลุ่มเป้าหมาย

1. บุคลากรหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน

2. ผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์

3. หน่วยงานและองค์กรของรัฐที่สนใจเข้าร่วมประกวดผลงานนวัตกรรมการสื่อสาร

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. บุคลากรภาครัฐมีความสามารถในการผลิตเนื้อหาและใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ

2. หน่วยงานภาครัฐมีแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจนและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

3. เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาครัฐที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารและสามารถนำแนวทางที่เป็นเลิศนำไปปรับใช้ได้

ผลงานนวัตกรรมการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในภาครัฐ