AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล เดินหน้าสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดดำเนินการรื้อถอนสัญญาบริเวณ ชายแดนจังหวัดสระแก้วว โดยมี ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมติดตามการปฏิบัติงานและมอบนโยบาย เพื่อสนับสนุนแผนการแก้ไขเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือบริเวณแนวชายแดนที่มีความเสี่ยง ภายใต้ยุทธการอรัญ 68 ระเบิดสะพานโจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทลายสัญญาณอินเตอร์เน็ตและสัญญาณโทรศัพท์ พร้อมเดินหน้าปฏิบัติการแก้ไขเสาส่งสัญญาณเพิ่มเติมในพื้นที่ 9 จังหวัด ตามมาตรการของ กสทช.
วรุณเทพ วัชราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า
“ในฐานะผู้ให้บริการระบบสื่อสาร
เอไอเอสพร้อมสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ หน่วยงานความมั่นคง ตำรวจ และกสทช.
อย่างเข้มงวดเสมอมา
ในประเด็นเกี่ยวกับการแก้ไขและควบคุมเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือบริเวณชายแดนที่มีความเสี่ยงนั้น
ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบกวดขัน และปฏิบัติตามมาตรการของ
กสทช. อย่างเคร่งครัดในพื้นที่เสี่ยง บริเวณชายแดน 7 จังหวัด 11 อำเภอ
เสร็จสิ้นเรียบร้อยตั้งแต่กลางปี 2567
รวมถึงยืนยันการเชื่อมต่อจุดสัญญาณกับผู้ให้บริการในประเทศเพื่อนบ้านต้องได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องเช่นกัน
เพื่อป้องกันการใช้สัญญาณก่ออาชญากรรมข้ามแดนจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ตามที่ กสทช. ได้ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อยกระดับเพิ่มความเข้มงวดไปอีกขั้น ขอให้ดำเนินการแก้ไขเสาส่งสัญญาณบริเวณแนวชายแดนอรัญประเทศ จ.สระแก้ว เมื่อได้รับคำสั่งเพิ่มเติมดังกล่าว AIS ได้ดำเนินการทันที ได้แก่ พื้นที่ตลาดเบญจวรรณ (ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 1 ภายในระยะ 50 เมตรจากเขตแดน) AIS ดำเนินการตามมาตรการเรียบร้อยแล้ว โดยรื้อถอนตัวกระจายสัญญาณทั้งหมดออกแล้ว และพื้นที่บ้านโคกสะแบง (ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 อยู่ห่างจากเขตแดน 300 เมตร) AIS ดำเนินการปิดสัญญาณทั้งหมดแล้ว และดำเนินการรื้อถอนตัวสายอากาศ (Antenna) ทั้งหมดออกแล้ว โดย AIS ได้เตรียมดูแลเครือข่ายการใช้งานให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยได้เตรียมรถสถานีฐานเคลื่อนที่และติด Small Cell เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารได้
ทั้งนี้ กสทช. ได้กำหนดให้ดำเนินการแก้ไขเสาส่งสัญญาณบริเวณแนวชายแดนเพิ่มเติมใน 9 จังหวัด ได้แก่ ด่านเจดีย์สามองค์/พุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี แม่สอด/พบพระ/แม่ระมาด จ.ตาก อรัญประเทศ/บ้านโคกสะแบง จ.สระแก้ว แม่สาย/เชียงของ/เชียงแสน จ.เชียงราย กาบเชิง จ.สุรินทร์ บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร เมืองหนองคาย จ.หนองคาย โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี และเมืองระนอง จ.ระนอง โดยมีกำหนดตามแผนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ประกอบด้วย การรื้อถอนเสาสัญญาณที่อยู่ในระยะไม่เกิน 50 เมตรจากชายแดน กรณีเสาที่อยู่ในระยะ 1 กม. จากชายแดน ให้ลดกำลังส่ง และปรับเสาให้สูงไม่เกิน 15 เมตร และเสาที่อยู่ในระยะไม่เกิน 3.5 กม. ให้ตั้งเสาอากาศความสูงไม่เกิน 30 เมตร”
นอกจากนี้ เอไอเอสยังได้ร่วมมือกับ กสทช. และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบังคับการตำสวจสอบสวนกลาง ทำการปิด IP Address ที่คนร้ายใช้ในการกระทำผิดอีกด้วย
“การควบคุมโครงข่ายสื่อสารในพื้นที่เสี่ยงเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการใช้งานในลักษณะที่ผิดกฎหมาย สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาลในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด และขบวนการคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ เอไอเอส ขอยืนยันถึงความพร้อมในการสนับสนุนทุกภารกิจของภาครัฐ เพื่อยกระดับการป้องกันและปราบปรามกลุ่มขบวนการผิดกฎหมาย พร้อมสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงให้แก่ประเทศและประชาชนทุกคน”
เกี่ยวกับ
AIS
บริษัท แอดวานซ์
อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ที่พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยผ่าน
4 กลุ่มธุรกิจ ด้วยฐานลูกค้ารวมกว่า 50.8 ล้านราย ได้แก่ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ด้วยคลื่นความถี่มากที่สุดรวม 1460 MHz ที่มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า
45.8 ล้านเลขหมาย, ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์
AIS 3BB FIBRE3 ด้วยจำนวนผู้ใช้งานกว่า 5 ล้านราย, ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร
และธุรกิจบริการดิจิทัล
ทั้งหมดนี้เพื่อเดินหน้าตามวิสัยทัศน์สู่องค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะ Cognitive
Tech-Co สนับสนุนความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจดิจิทัลและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
พบกับเราได้ที่ www.ais.th (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2567)