รายงานศึกษาล่าสุดเผยให้เห็นว่า ผู้บริหารธุรกิจชั้นนำเริ่มดำเนินการเสริมสร้างการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ด้วยความรับผิดชอบ โดยองค์กรส่วนใหญ่ที่ใช้ AI ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 72 ของทั่วโลก ได้เริ่มอบรมด้านจริยธรรมให้กับบุคลากรด้านเทคโนโลยีของตน (ร้อยละ 70) และจัดให้มีคณะกรรมการด้านจริยธรรม เพื่อประเมินและตรวจสอบการใช้ AI ด้วย (ร้อยละ 63)
บรรยายภาพ: มีการอบรมจริยธรรมแก่บุคลากรด้
บรรยายภาพ: มีคณะกรรมการด้านจริยธรรมที่
องค์กรที่นำ AI ไปใช้ได้อย่าง “ประสบผลสำเร็จ” หรือ “ประสบผลสำเร็จอย่างสูง” ถือเป็นผู้นำด้าน AI ที่เริ่มนำในด้านจริยธรรมด้วย โดยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 92) ได้อบรมด้านจริยธรรมให้กับบุคลากรด้านเทคโนโลยีของตนแล้ว เทียบกับองค์กรอื่นทั่วไปที่ใช้ AI แต่อบรมด้านจริยธรรมแล้วประมาณร้อยละ 48
ผลการศึกษานี้ได้จากการสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้บริหารธุรกิจชั้นนำ 305 รายทั่วโลก โดยกว่าครึ่งเป็นผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสารสนเทศ (CIO) ด้านเทคโนโลยี (CTO) และด้านอนาลิติกส์ (CAO) ในหัวข้อ “AI Momentum, Maturity and Models for Success” ซึ่ง SAS เอคเซนเชอร์ แอปไพลด์ อินเทลลิเจนซ์ และ อินเทล ได้มอบหมายให้ ฟอร์บส์ อินไซต์ จัดทำเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561
รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีเอไอมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน กรอบจริยธรรมสำหรับการใช้งานเอไอ จึงสำคัญมาก
นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “องค์กรต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงประเด็นความกังวลและผลจากเทคโนโลยีเอไอที่เบี่ยงเบนไป เช่น ทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมและลำเอียง อย่างไรก็ดี ต้องถือว่าเป็นก้าวย่างที่ดีที่องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มทำอะไรมากกว่าการปฏิญาณว่าจะละเว้นไม่ใช้เทคโนโลยีเอไอในทางอันตรายหรือเกิดโทษ (do no harm) โดยควรมีแนวทางที่ชอบด้วยกฎหมาย ชัดเจน เหมาะสมกับการใช้ปฏิบัติ เพื่อพัฒนาระบบเกี่ยวกับเอไอให้ปลอดภัย โปร่งใส อธิบายได้ และน่าเชื่อถือ เพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดผลที่ไม่คาดคิดตามมา หรือสุ่มเสี่ยงที่จะขัดต่อกฎระเบียบ และอาจเป็นอันตรายต่อตัวบุคคล ธุรกิจ และสังคม บรรดานักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจึงต้องการให้มีแนวทางด้านจริยธรรมในลักษณะนี้”
นอกจากนี้ องค์กรผู้นำด้านเอไอยังตระหนักดีว่าระบบอนาลิติกส์ (Analytics) มีส่วนสัมพันธ์กับการนำเอไอมาใช้ได้อย่างประสบผลสำเร็จ โดยองค์กรถึงร้อยละ 79 ยอมรับว่าระบบอนาลิติกส์มีบทบาทหลักหรือสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของเอไอในองค์กร และมีเพียงร้อยละ 14 ที่ยังไม่เห็นผลหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยีเอไอ
“ผู้บริหารที่นำเทคโนโลยีเอไอมาใช้ต่างรู้ดีว่า ความสำเร็จด้านเอไอนั้น หมายถึงความสำเร็จด้านอนาลิติกส์นั่นเอง” นนทวัฒน์ กล่าว “ทุกคนต่างเห็นว่าอนาลิติกส์ได้เข้ามากุมบทบาทสำคัญในเทคโนโลยีเอไอ”
การกำกับดูแลเอไอไม่ใช่เรื่องเสริม แต่จำเป็นต้องมี
แม้จะมีกระแสว่า เทคโนโลยีเอไอทำงานได้โดยอิสระ ปราศจากการแทรกแซงของมนุษย์ แต่งานวิจัยนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า องค์กรผู้นำด้านเอไอตระหนักดีว่า การกำกับดูแลเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเรื่องจำเป็น ไม่ใช่เรื่องเสริม โดยร้อยละ 74 ขององค์กรผู้นำด้านเอไอเปิดเผยว่า ได้ดูแลการใช้งานอย่างระมัดระวัง โดยจัดให้มีการประเมินและตรวจสอบผลอย่างน้อยทุกสัปดาห์ (ขณะที่มีเพียงร้อยละ 33 ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AI น้อยกว่า ได้ทำการตรวจสอบ) นอกจากนี้ ร้อยละ 43 ของกลุ่มผู้นำด้านเอไอยังเผยว่า องค์กรมีกระบวนการที่สามารถเพิ่มเติมหรือลดผลได้ที่ดูผิดสังเกตในระหว่างตรวจสอบ (ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 28 ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AI น้อยกว่า มีกระบวนการลักษณะนี้)
บรรยายภาพ: มีการประเมินหรือตรวจสอบงานที่ได้จาก AI บ่อยแค่ไหน
31% รายสัปดาห์ / 18% รายวัน / 5% รายชั่วโมง / 26% อย่างน้อยเดือนละครั้ง / 16% 1-2 ครั้งต่อปี / 4% เกือบไม่เคยเลย
ทั้งนี้ รายงานระบุว่ากระบวนการกำกับดูแลยังต้องใช้เวลาพัฒนาอีกมาก กว่าที่จะเท่าทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเอไอ
“หากสามารถเข้าใจวิธีการตัดสินใจของเอไอได้ จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและช่วยให้มนุษย์กำกับดูแลเอไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นนทวัฒน์ กล่าวและเสริมว่า “สำหรับนักพัฒนาและลูกค้าที่วางแผนนำเอไอไปใช้ โดยพัฒนาอัลกอริทึมที่โปร่งใสและอธิบายได้ รวมทั้งใช้ระบบเอไอทำงานโดยแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ฝีมือมนุษย์ เส้นทางการพัฒนาจึงยังอีกยาวไกล จนกว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นจนถึงระดับที่มีการนำเอไอไปใช้อย่างแพร่หลาย”
ดังนั้น การที่องค์กรต่าง ๆ พัฒนาแนวทางการใช้เอไออย่างมีจริยธรรม และเสริมความเชื่อมั่นว่าจะมีการกำกับดูแลที่ดี จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะองค์กรตระหนักดีว่าหากผลจากการใช้เอไอออกมาคลาดเคลื่อน จะส่งผลกระทบต่อไปยังส่วนอื่น ๆ สำหรับองค์กรที่นำเอไอมาใช้แล้วหรือมีแผนจะนำมาใช้ พบว่าร้อยละ 60 มีความกังวลเรื่องการใช้เอไอในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับข้องกับลูกค้า เช่น องค์กรจะดูแล้งน้ำใจหรือไม่ หรือยิ่งทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในองค์กรน้อยลงก็เป็นได้
ผลการศึกษาอื่น ๆ ที่ได้จากการสำรวจนี้ ได้แก่:
“ยิ่งกระแสการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งมีความท้าทายหรือมีปัญหาที่ต้องแก้” รอส แกกนอน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยแห่ง Forbes Insights กล่าว “แต่คุณประโยชน์และโอกาสต่าง ๆ ที่จะได้จากเอไอนั้น มีมากมายอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินงาน ไปจนถึงการเพิ่มผลิตภาพและรายได้ สิ่งที่ผู้บริหารควรถามตัวเอง ไม่ใช่ว่าควรใช้เอไอหรือไม่ แต่ควรถามตัวเองว่าจะนำมาใช้เร็วที่สุดได้เมื่อไรต่างหาก”
นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย
เกี่ยวกับการวิจัยนี้
การสำรวจได้ข้อมูลจากผู้บริหารองค์กรระดับโลก 305 รายในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก จัดทำขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 โดยฟอร์บส์ อินไซต์ ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยเชิงกลยุทธ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นผู้นำทางความคิด ของฟอร์บส์ มีเดีย สำหรับรายงานฉบับเต็ม ดาวน์โหลดได้ทาง เว็บไซต์