ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ “HILL ASEAN” (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN" คลังสมองทางวิชาการ ภายใต้บริษัทฮาคูโดโด อิงค์ บริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น เผยผลวิจัยฉบับล่าสุด หัวข้อ “THINK FUTURE-FORWARD: How ASEAN Lives Evolve as Technology Gets Smarter” (TECH ล้ำทำชีวิตเปลี่ยน) นำเสนอกลยุทธ์การตลาดไขความคิดและพฤติกรรมของ sei-katsu-sha ชาติอาเซียนที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากอิทธิพลของเทคโนโลยีอัจฉริยะ ในงานสัมมนา ASEAN Sei-katsu-sha Forum 2019 ครั้งที่ 5
การวิจัยปีนี้มีวัตถุประสงค์หลักต้องการศึกษาว่า เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง Internet of Things (IoT) Artificial Intelligence (AI) รวมถึงเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนแห่งอนาคตอื่นๆ จะก้าวเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเลือกแบรนด์ และขั้นตอนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคหรือบรรดา sei-katsu-sha อย่างไร รวมถึงยังได้แนะนำกลยุทธ์การตลาดที่ผู้ประกอบการธุรกิจและแบรนด์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อรับมือกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
“THINK FUTURE-FORWARD” การคิดเพื่อสร้างอนาคตด้วยตัวเราเอง
ด้วยแนวคิดที่ว่า วิธีที่ดีที่สุดในการทำนายอนาคตก็คือ การสร้างอนาคตขึ้นมาด้วยตัวเอง ดังนั้นในเวทีสัมมนา ASEAN Sei-katsu-sha Forum นับจากปีนี้เป็นต้นไป HILL ASEAN จะมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยภาพอนาคตของผู้บริโภคในอาเซียนเป็นหลักว่า จะมีพัฒนาการไปในทิศทางไหน ไปพร้อมๆ กับให้ข้อเสนอแนะด้านการตลาดที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถสร้างอนาคตขึ้นมาด้วยมือตนเองได้
HILL ASEAN เชื่อว่า IoT จะเป็นเทคโนโลยีแห่งยุคอนาคต ที่มีบทบาทสำคัญเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้บริโภคอาเซียน หลังจากที่สมาร์ทโฟนได้เข้ามาเปลี่ยนชีวิตเรามาแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อ IoT ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย จะเกิดสื่อรูปแบบใหม่ที่เราเรียกว่า “Assistive Media” ขึ้นซึ่งจะช่วยสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที ช่วยปลดปล่อยผู้บริโภคจากการกระทำซ้ำๆ ในแต่ละวันที่น่าเบื่อหน่าย (Bye-Bye Boring Routines) และนำไปสู่พฤติกรรมการช้อปปิ้งที่ต่างไปจากเดิม โดยเน้นการจับคู่ผู้บริโภคเข้ากับสินค้าและบริการตามความชื่นชอบของแต่ละคน (Match-Me Journey) กล่าวคือ ผู้บริโภคจะไม่เป็นฝ่ายนำข้อมูลสินค้าหรือบริการมาศึกษาเปรียบเทียบ แล้วค่อยตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ดีที่สุดด้วยตนเองอีกต่อไป แต่จะได้รับการแนะนำเกี่ยวกับสินค้าและบริการน่าซื้อจากระบบ AI แล้วจึงค่อยตัดสินใจซื้อสิ่งที่ตรงใจมากที่สุดแทน
จากแนวโน้มนี้ HILL ASEAN แนะนำให้ผู้ประกอบการธุรกิจและแบรนด์เตรียมสร้างอนาคตด้วยตนเอง ด้วยการเตรียมการดังต่อไปนี้
สนใจศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับงานวิจัย ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.hillasean.com
จับตา “IoT” เทคโนโลยีแห่งอนาคตเปลี่ยนชีวิตผู้บริโภค คลื่นลูกใหม่ไล่หลังสมาร์ทโฟน
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟนได้พลิกชีวิตของผู้บริโภคในอาเซียนไปอย่างมาก ทั้งนี้ อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งตัวเลขการใช้สมาร์ทโฟนต่อหัวในภูมิภาคนี้ยังสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางแห่งอีกด้วย HILL ASEAN จึงได้ตั้งคำถามในการวิจัยว่า แล้วในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีเทคโนโลยีอื่นใดอีกบ้างที่จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตของผู้คน และจะเป็นไปในรูปแบบใด
ในช่วงหลายปีมานี้ IoT เป็นที่จับตามองมากจากทั่วโลกในฐานะเทคโนโลยีสำคัญแห่งอนาคต ต่อเนื่องจากสมาร์ทโฟน ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในโลกถูกเชื่อมต่อถึงกันด้วยอินเทอร์เน็ต โดยคาดการณ์กันว่า IoT จะยิ่งก้าวล้ำมากขึ้นไปเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทำให้แนวคิด “intelligence of things” เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยคาดการณ์กันว่า จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันด้วยเทคโนโลยี IoT จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของสมาร์ทโฟน ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ทำให้ปัจจุบันบริษัทไอทีต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือด ที่จะพัฒนาเทคโนโลยี IoT และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ HILL ASEAN คาดว่า การแพร่หลายของเทคโนโลยี IoT จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 3 ประการ คือ
การแพร่หลายของ IoT จะนำไปสู่สื่อรูปแบบใหม่ “Assistive Media”
ความนิยมในเทคโนโลยี IoT จะทำให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่ ที่ HILL ASEAN ตั้งชื่อให้ว่า “Assistive Media” ในยุคนี้ เราจะได้รับการสนองตอบในสิ่งที่ต้องการจากข้อมูล และ Solution ต่างๆ ที่ถูกกลั่นกรองมาเป็นพิเศษด้วยฐานข้อมูล Me Data และเทคโนโลยี AI ไม่เพียงชีวิตประจำวันของเราจะได้รับการช่วยเหลือให้สะดวกสบายมากขึ้น แต่ยังรวมไปถึงสื่อต่างๆ อีกด้วย
ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อเทคโนโลยี IoT เปลี่ยนสภาพไปสู่การเป็น Assistive Media
จากการวิจัย HILL ASEAN ระบุว่า ภายใต้สถานการณ์นี้ ผู้บริโภคอาเซียนจะเกิดพฤติกรรม 2 รูปแบบ
ประการแรกเรียกว่า Bye-Bye Boring Routines กล่าวคือ การดำเนินกิจกรรมซ้ำๆ ตามปกติในแต่ละวันจะลดลง เนื่องจากเทคโนโลยี IoT และAI จะเข้ามาช่วยให้กิจกรรมเหล่านี้ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่าย และเป็นไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยี IoT และ AI ยังจะทำให้กิจวัตรประจำวันที่น่าเบื่อเหล่านี้สนุกขึ้นได้ เช่น การซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ซึ่งปกติแล้วผู้บริโภคก็ไม่มีความชอบเป็นพิเศษ เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาไม่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกด้วยตัวเองอีกต่อไป
ประการที่สอง คือ พฤติกรรมที่เรียกว่า Match-Me Journey แทนที่จะต้องมาสิ้นเปลืองเวลาไปกับการศึกษาข้อมูล เปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่ดีที่สุด ผู้บริโภคจะได้รับคำแนะนำจากระบบ AI เกี่ยวกับสิ่งของและบริการ น่าซื้อ ซึ่งถูกกลั่นกรองมาแล้วว่าตรงกับความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค แล้วจึงค่อยทำการตัดสินใจซื้อในที่สุด
พฤติกรรมผู้บริโภครูปแบบใหม่ที่จะปรากฏในภูมิภาคอาเซียน
ข้อมูลความเป็นมาเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภครูปแบบใหม่ (จากการวิจัยเชิงปริมาณของฮาคูโฮโด)
เช่นเดียวกับในภูมิภาคอื่น ผู้บริโภคในประเทศอาเซียนต่างเหนื่อยล้ากับภาวะข้อมูลท่วมท้น และมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากเกินไป จึงต้องการให้มีใครสักคนมาช่วยจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ รวมถึงช่วยในกระบวนการตัดสินใจซื้อ
นอกจากนี้ ทัศนคติด้านบวกที่มีต่อเทคโนโลยี AI และการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในปริมาณมากยังสะท้อนว่า ผู้บริโภคอาเซียนมีแนวโน้มที่จะยอมรับคำแนะนำและการช่วยเหลือจากเทคโนโลยี IoT และ AI ได้ง่าย
แบรนด์ควรเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มนี้อย่างไร?
Purpose Branding: กำหนดนิยามคุณค่าของแบรนด์ ชัดเจนเหมาะกับสถานการณ์
เมื่อมี Assistive Media เป็นตัวช่วยนำเสนอแบรนด์ “อันดับ 1” ในแง่ต่างๆ เช่น แบรนด์อันดับ 1 ในใจ, แบรนด์ที่ถูกค้นหาเป็นอันดับ 1, แบรนด์ที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 หรือแบรนด์ที่มีราคาถูกที่สุด ฯลฯ จะทำให้การค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ชนิดใดชนิดหนึ่งน้อยลง สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือ ให้คำนิยามที่ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นจะเป็นประโยชน์และจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในเวลาหรือสถานการณ์ไหน ซึ่งข้อมูลทั้งสองส่วนนี้จะกลายมาเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการทราบมากที่สุด
Life Solutions: พัฒนา Solution ครบวงจร ตอบโจทย์ทุกปัญหาผู้บริโภค
เพื่อที่จะเป็นสินค้าที่ได้รับการเลือกจากผู้บริโภคและ Assistive Media แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องทำอะไรที่มากกว่าการผลิตและขายสินค้าเท่านั้น นั่นคือการนำเสนอ “life solutions” หรือสินค้าและบริการที่พัฒนาเป็นพิเศษ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งพวกเขาจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน โดยผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ อาจจะต้องร่วมมือกันสร้างระบบนิเวศขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอสิ่งเหล่านี้แก่ผู้บริโภคได้อย่างครบวงจร
นอกจากนี้ในการพัฒนา Solution ผู้ประกอบการอาจต้องพิจารณาด้วยว่า Solution ที่พัฒนาขึ้นมานั้นจะช่วยแก้ปัญหาตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง
Real-Time Marketing: นำเสนอคอนเทนต์โดนใจ ฉับไวตรงสถานการณ์
แนวทางการทำการตลาดแบบ Real-time marketing ที่เน้นการสร้างคอนเทนต์การสื่อสาร ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความสนใจของผู้บริโภคแต่ละคนได้อย่างทันท่วงที จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาจต้องใช้ทั้งข้อมูลที่แบรนด์มีอยู่แล้วร่วมกับข้อมูลจาก Me Data มาผสานรวมกัน โดยการทำตลาดแบบนี้จะช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การใช้ประโยชน์จาก Me Data และการสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาเป็นของแบรนด์เอง จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรทำ
รายละเอียดการเก็บข้อมูลเทคโนโลยี IoT ใน 6 ชาติอาเซียน
การเก็บข้อมูลด้วยการเยี่ยมบ้าน กลุ่มเป้าหมาย และเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
เกี่ยวกับศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN หรือ HILL ASEAN)
ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือฮิลล์ อาเซียน (HILL ASEAN) ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 เพื่อเป็นคลังสมองทางวิชาการภายในองค์กร ที่มุ่งศึกษาวิจัยผู้คนในชาติอาเซียน ตามแนวคิด sei-katsu-sha ทั้งนี้ HILL ASEAN ได้เริ่มเข้ามาดำเนินงานในประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานของกลุ่มลูกค้า โดยนำเอาองค์ความรู้ด้านการวิจัย sei-katsu-sha มาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาดและวิธีเข้าถึงผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน