29 ม.ค. 2562 4,961 610

ดีแทค มั่นใจ มีคลื่นครบ ทั้ง 900 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz และ 2300 MHz ประกาศพร้อมเดินหน้าแข่งขันกับรายอื่น

ดีแทค มั่นใจ มีคลื่นครบ ทั้ง 900 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz และ 2300 MHz ประกาศพร้อมเดินหน้าแข่งขันกับรายอื่น

dtac บอกได้เต็มปากว่า คลื่นความถี่ในระบบสัมปทานของดีแทคได้สิ้นสุดลงโดยสมบูรณ์ หลังการเยียวยาได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ดีแทคยังมีแบนด์วิดท์สำหรับดาวน์ลิงก์ที่กว้างที่สุดในตลาด สัญญาเช่าที่ตกลงกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ทำให้ดีแทคสามารถเข้าใช้เสาสัญญาณ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโครงข่ายได้ในระยะยาว นอกจากนี้ การลงทุนขยายโครงข่าย 2100 MHz และการให้บริการบนคลื่น 2300 MHz ที่โรมมิ่งกับ บมจ. ทีโอที ได้ช่วยเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมการให้บริการ และความจุของโครงข่าย และยังช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ช่วยลดความไม่แน่นอนของการดำเนินธุรกิจ และยังเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับดีแทคในการกลับมาเติบโตในปี 2562

นอกเหนือจากนี้ ความเสี่ยงทางกฎหมายของดีแทคที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงสัมปทานได้ลดลงอย่างมากจากการบรรลุข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทที่กำลังรอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำปีซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2562 ณ สิ้นสุดปี 2561 จำนวนฐานลูกค้าอยู่ที่ 21.2 ล้านราย ซึ่งทั้งหมดได้ลงทะเบียนภายใต้ดีแทค ไตรเน็ต (DTN) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของดีแทคที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการคลื่นความถี่ 2100 MHz 1800 MHz และ 900 MHz นอกเหนือจากนั้น การให้บริการดีแทค เทอร์โบ ‘dtac Turbo’ ได้คืบหน้ากว่าแผนที่วางไว้ โดยในปี 2561 มีจำนวนสถานีฐานที่ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์แล้วประมาณ 12,700 สถานี การพัฒนาโครงข่าย 2100 MHz ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพื้นที่การครอบคลุมสัญญาณ และความจุของโครงข่าย โดยโครงข่ายโดยรวมของดีแทคสามารถครอบคลุม 94% ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ

ตัวเลขผลประกอบการที่สำคัญสอดคล้องกับการคาดการณ์ผลประกอบการรายปี โดยรายได้จากการให้บริการไม่รวม IC สำหรับปี 2561 ลดลง 2.8% ขณะที่ EBITDA margin และ CAPEX อยู่ที่ 37.9% และ 1.95 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ การลดลงของรายได้จากการให้บริการมีผลมาจากความไม่แน่นอนในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการสิ้นสุดระบบสัมปทาน การลดลงของรายได้จากบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ (IDD) การจัดระเบียบการให้บริการ CPA เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง นอกจากนี้ EBITDA (ก่อนรายการอื่นๆ) ลดลง 6.7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก OPEX ของโครงข่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการขยายโครงข่าย และการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างต้นทุนหลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน อาทิเช่น ค่าโรมมิ่งของโครงข่าย 2300 MHz ที่ทำกับทีโอที ค่ามาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ เป็นการชั่วคราวระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ธันวาคม 2561 และค่าเช่าเสาสัญญาณ และโครงสร้างโครงข่ายพื้นฐานจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้บางส่วนได้ถูกชดเชย จากการลดลงของค่าใช้จ่ายในการขาย การตลาด และการบริหารงานทั่วไป

จากผลของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการบรรลุข้อตกลงระงับข้อพิพาทกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม จำนวน 9.5 พันล้านบาท ได้ถูกชดเชยบางส่วนจากค่าใช้จ่ายจากการเสื่อมราคาและการตัดจำหน่ายที่ลดลงหลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทำให้ผลประกอบการประจำปี 2561 มีผลขาดทุนจำนวน 4.4 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม กระแสเงินสดจากการดำเนินการ (EBITDA – CAPEX) ยังคงแข็งแกร่งโดยมีจำนวนอยู่ที่ 8.9 พันล้านบาทท่ามกลางการลงทุนอย่างมากในโครงข่าย นอกจากนี้ ฐานะทางการเงินยังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ที่ 1.2x และมีเงินสดอยู่ที่ 1.41 หมื่นล้านบาท

ดีแทควางแผน CAPEX ในปี 2562 ไว้ที่ 1.3 – 1.5 หมื่นล้านบาท

อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ด้วยระบบสัมปทานที่สิ้นสุดลง และปีประวัติศาสตร์แห่งการลงทุนด้านโครงข่ายในการขยายพื้นที่การครอบคลุมสัญญาณ และความจุของโครงข่ายทั้งบนคลื่น 2100 MHz และ 2300 MHz ที่ผ่านมา เราได้วางรากฐานที่ดีสำหรับการเติบโตในอนาคต และมีความมุ่งมั่นที่จะกลับไปสู่การเติบโตในปี 2562 โดยยังคงมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เราจะทำการปรับปรุงโครงข่าย และประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ดีแทคอย่างต่อเนื่อง”

ดิลิป ปาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงินของดีแทค กล่าวว่า “โครงสร้างต้นทุนของดีแทคได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ หลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นค่าใช้จ่ายชั่วคราว นั่นคือค่าใช้จ่ายจากมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ธันวาคม 2561 ค่าธรรมเนียมและต้นทุนการดำเนินงาน Regulatory costs ได้ลดลงอย่างมากเนื่องจากการที่ไม่ต้องจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้ให้กับ บมจ.กสท โทรคมนาคม อีกต่อไป นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการโรมมิ่งโครงข่ายบนคลื่น 2300 MHz ของบมจ.ทีโอที และค่าเช่าเสาสัญญาณ และโครงสร้างโครงข่ายพื้นฐานจาก CAT ได้เริ่มต้นในเดือนเมษายน และกันยายน 2561 ตามลำดับ ค่าตัดจำหน่ายของสิทธิในการใช้ทรัพย์สินภายใต้สัมปทานได้สิ้นสุดลงแล้วเช่นกันนับจากเดือนกันยายน 2561 แต่บางส่วนได้ถูกแทนที่ด้วยค่าตัดจำหน่ายของใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ในเดือนธันวาคม 2561 การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลเล็กน้อยต่อผลการดำเนินงานของดีแทคในปี 2561 และจะมีผลเต็มที่ในปี 2562 นี้ นอกเหนือจากนั้น เราต้องการเวลาในการประเมินศักยภาพสำหรับการกลับไปเติบโตอีกครั้งในปี 2562 และเราจะให้รายละเอียดการคาดการณ์ผลประกอบการสำหรับปี 2562 ในไตรมาสที่สองของปีนี้”

COMMENTS