โดยเฉพาะในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบใบอนุญาต ทำให้เกิดการถือครองความถี่ในการให้บริการมากที่สุด
นอกจากนี้รายได้ของทาง Telenor ยังคงแข็งแกร่งสูงและสามารถลดต้นทุนในการให้บริการได้จำนวนมหาศาล มีจำนวนการเติบโต EBITDA สูงถึง 3%
ผลการดำเนินการในบริเวณสแกนดิเนเวียยังคงแข็งแกร่ง โดยในประเทศนอร์เวย์ทาง Telenor ได้เปิดตัวการลงทุน Fiber ใหม่
ในประเทศบังคลาเทศและปากีสถาน เป็นปีที่มีผู้ใช้บริการรายเดือนเพิ่มสูงขึ้น
ประเทศไทยและพม่า ผลการดำเนินการครึ่งปีหลังของปี 2561 ที่มีความท้าทายมากที่สุด ซึ่งทาง Telenor มองเป้ารวมว่าภายในปี 2563 จะยังคงเน้นการเติบโตด้านการเงินให้ได้มากที่สุด
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย
ที่ผ่านมาทาง dtac ในปี 2561 โดยเฉพาะไตรมาสที่ 4 ได้มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงจากระบบสัมปทานบนคลื่น 850 และ 1800 MHz โดยสิ้นสัมปทานตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2561 เป็นรูปแบบใบอนุญาต ทำให้ทางบริษัทสามารถลงได้ทุนอย่างมีความมั่นใจและเพื่อความปลอดภัยต่อการลงทุนโดยเฉพาะ
รายได้การใช้บริการและจำนวนเลขหมายมีปริมาณลดลง 5% ส่วนใหญ่เป็นผลจากผู้ใช้งานระบบเติมเงินมีจำนวนลดลง ทำให้สามารถจำนวนเลขหมายลดลงไป 0.1 ล้านเลขหมายโดยเฉพาะในไตรมาส 4 / 2018 สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเติบโตของจำนวนเลขหมายในระบบรายเดือนมีจำนวนไม่เพียงพอกับปริมาณการลดลงของระบบเติบเงิน
โดยรวมในปี 2561 จำนวนเลขหมายลดลง 6% ทำให้รายได้ EBITDA ลดลง 35% สาเหตุหลักรายมาจากจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้งานคลื่น 2300 MHz ของ TOT เป็นจำนวน 119 ล้าน NOK ส่วนนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้ EBITDA อยู่ในระดับสัดส่วน 29%
การรวมมือกับ CAT ในการติดตั้งเสาบริการมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการอยู่ที่ 2.1 พันล้าน NOK นอกจากนี้มีรายละเอียดในค่าใช้จ่าย dtac เช่นการบันทึกค่าเสื่อมของรูปแบบสัมปทาน ลดลง 0.9 พันล้าน NOK
ที่ผ่านมาทาง dtac พยายามสร้างโครงข่ายที่แข็งแรงโดยการมุ่งพัฒนาโครงข่ายให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นทั้งระบบ 3G และ 4G โดยเพิ่มเสาสัญญาณใหม่ 2300 MHz 13,000 แห่ง และมีการเพิ่มคลื่นในการให้บริการ 900 MHz เป็นจำนวน 2x5 MHz ซึ่งได้จัดประมูลไปในช่วงเดือนตุลาคม 2561
dtac ทำรายได้ในกับกลุ่ม Telenor ตลอดปี 2561 ไตรมาส เป็นอันดับ 2 ของกลุ่มด้วยรายได้รวม 4.9 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 18,274 ล้านบาท
- EBITDA อยู่ที่ 1.3 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 4,885 ล้านบาท
- เงินลงทุนระบบ dtac อยู่ที่ 13.6 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 50,532 ล้านบาท
dtac ทำรายได้ในกับกลุ่ม Telenor ตลอดปี 2561 ของกลุ่มด้วยรายได้รวม 18.9 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 70,080 ล้านบาท
- EBITDA อยู่ที่ 7.0 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 26,262 ล้านบาท
- เงินลงทุนระบบ dtac อยู่ที่ 16.5 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 61304 ล้านบาท
สรุปทั้งปี dtac หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้รายงานงบการเงินของปี 2561 บริษัทได้รายงานขาดทุน 4,369 ล้านบาท กำไรปีที่แล้วบริษัทมีกำไรอยู่ที่ 2,115 ล้านบาท