8 ก.พ. 2562 28,465 11

โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) กำลังจะเกิดขึ้นจริง เสริมทัพการดูแลสุขภาพให้ฉลาดล้ำ ด้วยการนำ IoT และ RFID เข้ามาใช้

โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) กำลังจะเกิดขึ้นจริง เสริมทัพการดูแลสุขภาพให้ฉลาดล้ำ ด้วยการนำ IoT และ RFID เข้ามาใช้

มีการนำ Intelligent healthcare หรือการดูแลสุขภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ รวมไปถึงการนำ IoT เข้ามาใช้งานในทางการแพทย์ เป็นกุญแจสำคัญที่ท้าทายในการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ระบบ Intelligent เชื่อมโยงกับโซลูชั่นส์เพื่อลดต้นทุน เพิ่มปริมาณคนไข้ที่ดูแลได้มากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วย รวมไปถึงเสริมสร้างความพึงพอใจให้กับแพทย์และผู้ป่วย เป็นโอกาสสำคัญของตลาด IoT HealthCare ที่มีมูลค่า 158 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ จนถึงปี 2022

โอกาสที่ Intelligent HealthCare เข้ามามีบทบาท ในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ป่วย เพราะที่โรงพยาบาล พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องอยู่กับภาวะความเครียดในการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ไปจนถึงการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเจ็บป่วยที่ลุกลามมากขึ้นจนอาจคุกคามชีวิตคนไข้

ในศตวรรษที่ผ่านมา ความต้องการในการดูแลสุขภาพของผู้คนในท้องถิ่นมีมากขึ้น ต้องการการขยายตัวของโรงพยาบาลเพื่อรองรับปริมาณคนไข้ที่เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก้าวไป ความคาดหวังของผู้ป่วยเองก็เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่บริการ HealthCare ที่โรงพยาบาลต่างๆ ต้องคิดทบทวนใหม่ เพื่อมองหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการให้บริการเพื่อลดขนาดและลดบริการลง

อย่างที่เราทราบกันดีว่า เรามีการนำเทคโนโลยี แพทย์ทางไกล เข้ามาช่วย นั่นคือการนำการดูแลรักษา ออกนอกโรงพยาบาล นั่นหมายความว่า ผู้ป่วย ไม่จำเป็นต้องเข้าไปแออัดในโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่แพทย์จะทำการรักษาผ่าน telemedicine มีการรีโมทเข้ามารักษา และมีบริการพยาบาลที่เข้าไปดูแลผู้ป่วยประจำ เพื่อลดต้นทุนและช่วยเพิ่มปริมาณการดูแลผู้ป่วยให้มากขึ้น หาช่องทางสร้างรายได้ใหม่จากระบบการรักษาสุขภาพ เก็บข้อมูล big data และมีสตาร์ทอัพที่เป็น Digital Health เพื่อเริ่มต้นการดูแลสุขภาพดิจิตอล

ถ้ามองย้อนกลับไป เราแบ่งเป็น 3 ช่วง นั่นก็คือ

ช่วงที่ 1: แนวคิด “Digital Hospital” (ปี 2000 ถึง 2007)

สมัยนั้นเป็นคอนเซ็ปต์ หรือแนวคิด Digital Hospital ที่ตอนนั้นเรายังไม่เห็นภาพมากนัก เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในโรงพยาบาล โดยมีการเปลี่ยนจากกระดาษที่แพทย์จดประวัติคนไข้ เป็นการบันทึกบนคอมพิวเตอร์ โดยบันทึกไว้บน Electronic Health Records (EHRs) โดยแผนกระเบียนและจ่ายยาสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ในยุคนี้มีการพัฒนาไอทีและดิจิตอลเข้ามาช่วยด้านสุขภาพมากขึ้น โดย EHRs เข้ามาช่วยเรื่องหลังบ้าน การนัดหมายพบแพทย์ การออกใบเสร็จ แต่ในช่วงเวลานี้หลายโรงพยาบาลประสบปัญหาเรื่องการเงิน ทำให้การลงทุนในส่วนนี้ยากมากขึ้น

ช่วงที่ 2:  แนวคิด “Smart Hospital” (2007 ถึงปัจจุบัน)

เมื่อชุมชนด้านสุขภาพได้รับการยอมรับมากขึ้น รวมไปถึงการนำ EHR มาใช้อย่างแพร่หลาย และโรงพยาบาลกล้าที่จะลงทุนกับเทคโนโลยี ซึ่งการนำ EHR มาใช้ทำให้มองเห็นความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Smart Hospital โดยมีการออกพระราชบัญญัติสารสนเทศด้านสุขภาพ Health Information Technology for Economic and Clinical Health (HITECH) ซึ่งมีผลในปี 2009 อนุญาตให้ ONC จ่ายเบี้ยเลี้ยงหรือ incentive เพื่อจูงใจในการเปลี่ยนแปลง ในอีกหลายปีให้หลัง

ซึ่ง Smart Hospital เข้ามาช่วยสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาการรักษา และการดำเนินงานในด้านการบริหารรายได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยในการรักษาที่ดีขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในที่นี้เป็นการทำลายข้อจำกัดของโรงพยาบาล โดยสามารถรวบรวมข้อมูลจาก EHR อุปกรณ์ Wearable และข้อมูลบน Social Media และการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ

การพัฒนา Smart Hospital จะมีการพัฒนา "healthcare as a service" ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ บริการใหม่ที่ใช้ดิจิตอล การวิเคราะห์เพื่อการรักษาด้านสุขภาพ เพื่อให้มีต้นทุนที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้ และปรับให้เหมาะกับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน นั่นคือแนวคิด “high tech, high touch.” จะต้องมีการปรับทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง จนทำให้ต้นทุนอยู่ได้

หลักๆ แล้ว Smart Hospital ช่วยให้ผู้ป่วยมีประสบการณ์ที่ดีขึ้นกับโรงพยาบาล สามารถให้บริการนอกพื้นที่โรงพยาบาลได้ และยังใช้ EHR เก็บข้อมูลคนไข้ได้อยู่ และบุคลากรทางการแพทย์ จะไม่ต้องอุดอู้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมๆ อีกต่อไป มีการนำ Digital Workflow เข้ามาช่วย เพื่อการประสานงานอย่างราบรื่นของแพทย์ หรือพยาบาล ช่วยจัดการต้นทุนให้เหมาะสม รวมไปถึงการบริหารจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ การรีโมทเข้ามาตรวจสุขภาพ การใช้ RFID และ Real-Time Location System (RTLS) ช่วยลดต้นทุน การมอนิเตอร์อาการคนไข้ผ่านรีโมท Home Monitoring / Remote Care ทั้งการใช้ Mobile App และ Tele Medicine ตรวจสอบประวัติคนไข้ นอกจากนี้ จะมีโรงพยาบาลขนาดเล็ก ที่เน้นการดูแลเฉพาะทางมากขึ้น

และสิ่งสำคัญที่สุดคือ Security หรือความปลอดภัย เพราะก่อนหน้านี้ โรงพยาบาลมีความอ่อนไหวเรื่องความปลอดภัยด้านระบบเครือข่าย มีเรื่อง Cyber Security กับเรื่อง ransomware และ cyber attacks ที่มีข่าวอยู่บ่อยๆ

ช่วงที่ 3: อนาคต จะเป็นอย่างไรต่อไป?

ระบบ HealthCare System จะไม่ใช่แค่การรักษา แต่จะกลายเป็นฐานข้อมูลทางการแพทย์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกันในด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาการรักษาให้ดีขึ้น และต่อยอดไปถึงการสร้างรายได้ใหม่ เช่นสร้างฐานข้อมูลด้านพันธุกรรม 

สำหรับการนำไปใช้ จะมีการใช้ 2 เทคโนโลยีหลักคือ RFID และ IoT โดยใช้ RFID กับการ tracking ในขณะที่ IoT ใช้เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และประมวลผล

RFID

ใช้ในในรูปแบบ tag ในการระบุตำแหน่งสิ่งของต่างๆในโรงพยาบาล โดยมี RFID tag เป็นชิป ที่มีข้อมูลอยู่ภายใน เช่น ไอดี หมายเลขผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ มีเสาอากาศส่งสัญญาณไปยังตัวอ่าน โดยมีแบบ active และ passive ซึ่ง tag แบบ active  จะใช้ไฟเลี้ยงในตัว ส่วนแบบ passive จะใช้ไฟจากคลื่นของเครื่องอ่าน รับสัญญาณจาก RFID tags เพื่อระบุตำแหน่งในรัศมีที่ครอบคลุม จากนั้นส่งสัญญาณไปยัง tag ที่ตอบสนอง

IoT

เน้นใช้งานกับ RFID โดย Smart Asset Tracking มีการเก็บข้อมูลบน IoT วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลจากตัวอ่าน RFID หากมีการนำออกมาใช้หรือเคลื่อนย้าย

ในโรงพยาบาลจะมี tag แปะอยู่บนอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ถุงมือ ขวดพลาสติก ผ้าก๊อซ รวมไปถึงเครื่องมือแพทย์ ใช้นับชิ้นวัตถุสิ้นเปลือง มีเครื่องอ่านอยู่ในห้องพยาบาล เช่น บนกำแพง ประตู ส่งข้อมูล มีการตรวจจับ เชื่อมกับแผนที่ของโรงพยาบาล ถ้าแพทย์และพยาบาลต้องการใช้งาน IoT จะค้นหาสิ่งของที่อยู่ใกล้ที่สุด และบอกตำแหน่งที่วางของ

ยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพว่า โรงพยาบาลอัจฉริยะ ไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป

azure.microsoft.com dxc.technology scnsoft scnsoft medium.com/@iotap  

IoT https://www.canopusinfosystems.com/drone-iot-development-services/