12 ก.พ. 2562 4,730 151

(รายงานฉบับเต็ม) รายงานผลสำรวจความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถือ (Mobile Internet) ในประเทศไทย ปี 2018 จาก nPerf

(รายงานฉบับเต็ม) รายงานผลสำรวจความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถือ (Mobile Internet) ในประเทศไทย ปี 2018 จาก nPerf

เผยแพร่ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562

อ่านรายงานต้นฉบับ

1. สรุปผลรวมการทดสอบความเร็ว 2G/3G/4G

1.1 คะแนน nPerf score วัดประสิทธิภาพ 2G/3G/4G โดยรวม

ค่าสูงสุด คือค่าที่ดีที่สุด

รางวัล The best mobile Internet performance in 2018: True Move H มีประสิทธิภาพการใช้งาน mobile Internet ได้ดีที่สุดในปี 2018

1.2 การวัดผลประสิทธิภาพ ในปี 2018

ผู้ใช้ nPerf ได้ทำการทดสอบจำนวน 1.2 ล้านครั้ง รวมผลทดสอบ speed test, browsing test และ streaming test ผ่านแอปพลิเคชั่น nPerf บนมือถือ (iOS, Android) ซึ่งมีการวัดผลตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของ nPerf เพื่อแสดงประสิทธิภาพในการใช้งานจริง (real performance) nPerf พิจารณาถึงประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ใช่เพียงการวัดค่า download speed แต่มองไปถึงเรื่องการทดสอบการ streaming และ browsing ด้วย

True Move H ได้รับรางวัล best mobile carrier เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ภายใต้หลักเกณฑ์ของการทดสอบ ที่วัดประสิทธิภาพในการใช้งานด้านต่างๆ 3 ปีที่ผ่านมา True Move H รั้งอันดับหนึ่ง ในผลรวมของการทดสอบ ด้วยคะแนน score ของ nPerf ที่ชื่อว่า nPoints ถึง 50,155 คะแนน ทำให้ True Move เป็นผู้นำอันดับแรก รองลงมาคือ dtac อันดับที่ 2 และ AIS อันดับที่ 3

สำหรับตำแหน่ง The best mobile carrier ในแต่ละประเภทของการทดสอบนั้น ปีนี้ True Move ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเทียบกับคู่แข่ง นอกจากนี้ ยังได้คะแนนดีที่สุดจากในทุกๆ ประเภทของการทดสอบ

Best download speed ความเร็ว 18.35 Mb/s

Best upload speed ความเร็ว 9.87 Mb/s

Best Latency อยู่ที่ 46.43 ms

Best browsing performance มีค่า performance rate ที่ 49.96%

Best streaming performance มีค่า performance rate อยู่ที่ 72.34%

AIS ได้เปรียบเรื่องของ Best 4G / LTE Advanced แต่ก็ยังน่าเป็นห่วงในบางปัจจัย

AIS รั้งอันดับที่ 3 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 แต่ AIS มีอาการน่าเป็นห่วง เนื่องจากค่า ISP success ratio นั้น พบว่ามีจำนวนผู้ใช้ AIS ที่ทดสอบแล้วล้มเหลว ซึ่งมีผลต่อผลการทดสอบโดยรวมของ AIS ด้วย แต่โชคดีว่า ช่วงสิ้นปี 2018 สถานการณ์ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม AIS มีความได้เปรียบในเรื่องการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 4G และ LTE-Advanced โดยมีค่า connection rate บน 4G ดีที่สุด 88.59 % ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ AIS มีโอกาสในการจับสัญญาณ 4G ได้มากกว่า True Move H ยิ่งไปกว่านั้น ค่า LTE-Advanced connection rate ของ AIS มีอัตราสูงถึง 45.01% ส่วน True Move H มีอัตรารองลงมาคือ 41.30% ในขณะที่ dtac ต่ำที่สุดคือ 27.59%

dtac กลับขึ้นมาอันดับที่ 2

อย่างที่เรารู้กันว่า ช่วงหลังๆ ดีแทค มีอาการไม่ดีนัก แต่ช่วงท้ายปี 2017 dtac กลับเข้ามาอยู่ในลู่แข่งได้อีกครั้ง โดยทำความเร็วในการดาวน์โหลดสูงเกือบ 2 เท่า ประสิทธิภาพดีขึ้น 88% จาก 9.74 Mb/s เป็น 17.74 Mb/s. กระโดดสู่ลำดับที่ 2 แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของ dtac โดยเฉพาะการเชื่อมต่อบน LTE-advanced หากดีแทคปรับตัวแรงกว่านี้ True Move H มีหนาวแน่นอน

ยอมรับเลยว่าปี 2019 เป็นปีที่น่าตื่นเต้น เพราะมีทั้งการแข่งขัน การประมูลคลื่น การดีลสัญญา มีการแข่งขันกันน่าลุ้นตลอดทั้งปี ทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

2. ผลการทดสอบโดยรวม 2G/3G/4G

2.1 การเก็บข้อมูลการทดสอบและกลุ่มตัวอย่าง

แอปพลิเคชั่น nPerf มีรูปแบบการทดสอบแบบ full test* หรือแยกทดสอบ Speed Test โดยเก็บข้อมูลในช่วงของการทดสอบระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2018 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2018 มีการทดสอบจำนวน 1,197,530 ครั้ง โดยแยกการทดสอบตามรูปแบบการใช้งาน ดังนี้

ข้อมูลหลังจากคัดกรองการทดสอบซ้ำออกแล้ว ดูในหัวข้อ 5.1.3:

การทดสอบแบบ Full Test จะมี 3 รูปแบบการทดสอบคือ Speed, Web Browsing และ Streaming

การทดสอบในแต่ละ ISP แบ่งออกมาได้ดังนี้

2.2 2G/3G/4G success rate

ค่า success rate คือจำนวนการทดสอบที่สำเร็จ หมายถึงทดสอบเสร็จสิ้นกระบวนการทดสอบ โดยไม่แจ้งผิดพลาด ซึ่ง dtac ทดสอบสำเร็จมากที่สุด 

ทั้ง 3 โอเปอเรเตอร์แสดงฝีมือได้ดี

จากกราฟ จะเห็นว่า มีช่วงนึงที่ AIS กราฟตกลง แต่ก็กลับตัวได้ทันในช่วงสิ้นปี ส่วน True Move และ dtac ช่วงต้นปี ยังไม่ดีนัก แต่ตอนหลังก็ตีตื้นขึ้นมาได้ดี

2.3 2G/3G/4G download speed

(ค่าสูงกว่า คือดีกว่า)

True Move ทำคะแนนการดาวน์โหลดได้ดีที่สุดในปี 2018 โดย True move ครองความเป็นผู้นำ ในขณะที่ AIS และ dtac กำลังพยายามตีตื้นขึ้นมา แต่ก็ไม่ต่างจาก True Move มากนัก

 (ค่าสูงกว่า คือดีกว่า)

กราฟนี้แสดงประสิทธิภาพของผู้ให้บริการในการดาวน์โหลด โดยแสดง download speed ในแต่ละช่วงของปี อ้างอิงตาม network load (จำนวนเครื่องที่มีการเชื่อมต่อ)

เราเห็นความตั้งใจของโอเปอเรเตอร์ อย่างที่เราทราบกันว่าดีแทคมีการพัฒนาเครือข่าย ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ค่าดาวน์โหลดของดีแทคดีขึ้น

(ค่าสูงกว่า คือค่าที่ดีที่สุด)

กราฟนี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้ให้บริการในการดาวน์โหลดในแต่ละช่วงเวลาของวัน ขึ้นอยู่กับ network load (จำนวนครั้งในการเชื่อมต่อกับอุปกรฤณ์) และอย่างที่เราทราบดีว่า ตอนหัวค่ำ มีการใช้งานหนาแน่น กราฟจึงตกลงในทุกๆ โอเปอเรเตอร์

2.4 2G/3G/4G upload speed 

True Move มีความเร็วในการ upload ดีที่สุดในปี 2018 หากเทียบกับช่วงปี 2017 แล้ว True Move มีความเร็วในการ upload ดีขึ้น 20% 

2.5 2G/3G/4G latency

(ค่าต่ำกว่า คือดีกว่า)

กราฟนี้ เราดูตัวเลขต่ำ เท่ากับมีค่า Latency ต่ำที่สุด โดย True Move และ AIS มีค่าความหน่วงเวลา best mobile latency ดีที่สุดในปี 2018 หากเทียบกับปี 2017 แล้ว True Move มีค่า latency ดีขึ้น 10 ms (ค่าต่ำลง คือเร็วขึ้น)

(ค่าสูงกว่า คือดีกว่า)

กราฟนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้ให้บริการในส่วนของ latency ตลอดทั้งปี อ้างอิงตาม network load (จำนวนครั้งในการเชื่อมต่อของอุปกรณ์) ซึ่งแต่ละผู้ให้บริการ ทำคะแนนได้ดี ไม่ต่างกันมากนัก

2.6 2G/3G/4G browsing test

ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพในการโหลดเพื่อแสดงผลเว็บไซต์ 5 เว็บไซต์ยอดนิยมของคนไทย (ยกเว้น YouTube)

(ค่าสูงที่สุด คือค่าที่ดีที่สุด)

True Move และ dtac มีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกันแบบสูสี ในการเข้าเว็บไซต์ผ่านบราวเซอร์ในปี 2018 โดย dtac ไล่กับ True Move แบบหายใจรดต้นคอ ตามมาด้วย AIS

(ค่าสูงที่สุด คือค่าที่ดีที่สุด)

กราฟนี้แสดงประสิทธิภาพในการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ ทั้งปี ขึ้นอยู่กับ network load (จำนวนครั้งในการเชื่อมต่ออุปกรณ์)

ยังคงรักษาช่วงจังหวะที่ไม่ให้ตก สำหรับ True Move และ dtac ในขณะที่ AIS ประสบปัญหาในช่วงไตรมาสที่ 4

2.7 2G/3G/4G streaming test

วัดประสิทธิภาพ คุณภาพในการรับชมวีดีโอบน YouTube

(ค่าสูงที่สุด คือค่าที่ดีที่สุด)

True Move เป็นผู้ให้บริการที่มีค่าประสิทธิภาพในการรับชมวีดีโอสตริมมิ่งในปี 2018

True Move มีคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2017 ในขณะที่อีก 2 ค่ายมีคะแนนลดลง

(ค่าสูงที่สุด คือค่าที่ดีที่สุด)

กราฟแสดงประสิทธิภาพในการสตริมมิ่งของผู้ให้บริการทั้งปี ขึ้นอยู่กับ network load (จำนวนครั้งในการเชื่อมต่ออุปกรณ์)

2.8 4G and 4G+ connection rate

nPerf เก็บข้อมูลวิเคราะห์เพื่อแยกการเชื่อมต่อ 4G และ 4G + โดยมองเรื่องการเชื่อมต่อ ซึ่งมีการคำนวณจากผลการทดสอบผ่านแอปพลิเคชั่น nPerf

โดยหลักการในการทดสอบนั้น ใช้กลุ่มตัวอย่างจากจำนวนการทดสอบบน 4G หรือ 4G+ จากผู้ให้บริการ โดยเอาจำนวนการทดสอบมาตั้ง แล้วกรองเฉพาะผลการทดสอบที่เกี่ยวข้อง การทดสอบทั้งหมดของผู้ให้บริการถูกตรวจสอบและแยกการทดสอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับ 4G ออกไป

หมายเหตุสำคัญ: เราไม่สามารถจำแนกได้ว่า การทดสอบใดเป็นการทดสอบในเชิงพาณิชย์ ซึ่งผลการทดสอบ อาจจะมาจากผู้ใช้ที่อาจจะไม่ได้ใช้มือถือที่รองรับ 4G หรือใช้มือถือ 4G แต่ไม่ได้ใช้แพ็กเกจ 4G โดยจะถูกคัดกรองออกไป เพื่อผลลัพธ์ที่โปร่งใสที่สุด

2.8.1 4G connection rate 

สถิติจากการทดสอบบน 4G จำนวน 502,787 ครั้ง โดยรุ่นของอุปกรณ์ 4G ดูในภาคผนวก

(ค่าสูงที่สุด คือค่าที่ดีที่สุด)

AIS มีประสิทธิภาพ 4G/LTE connection rate ดีที่สุดในปี 2018

AIS ยังคงเป็นผู้นำ แต่โอเปอเรเตอร์ทุกค่ายก็ทำคะแนนในส่วน 4G connection rate ได้ดีกว่าปี 2017 โดยเฉพาะ dtac

กราฟนี้แสดงภาพรวมของ 4G connection rate ตลอดทั้งปี แต่ละค่ายแทบไม่ต่างกัน 

2.8.2 4G+ connection rate 

สถิติจากการทดสอบบน 4G (Categories 6 หรือสูงกว่า) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อบน 4G+ (LTE Advanced with Carrier Aggregation) จำนวน 138,165 ครั้ง โดยรุ่นของอุปกรณ์ 4G+ ดูในภาคผนวก

(ค่าสูงที่สุด คือค่าที่ดีที่สุด)

AIS มีค่า 4G+/LTE-CA connection rate ดีที่สุดในปี 2018

กราฟนี้แสดงประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อ 4G+ connection rate ตลอดทั้งปี

ในปี 2018 DTAC ได้เริ่มพัฒนา 4G + ในช่วงฤดูร้อน และทำคะแนนได้ดี ไล่กวดคู่แข่งได้อย่างรวดเร็ว

2.9 2G/3G/4G nPerf score 

คะแนน nPerf score คำนวณออกมาเป็นแต้มสกุล nPoints เป็นภาพรวมของคุณภาพการเชื่อมต่อ โดยมีสัดส่วนของการคำนวณจากการทดสอบคือ 2/3 download + 1/3 upload, latency และการทดสอบที่มีผลกระทบจาก QoE (web browsing/streaming) ค่าของคะแนนชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมต่อ ความเสถียร throughputs และ latency เพื่อใช้แทนประสบการณ์ในการใช้งานจริงของผู้ใช้

ดังนั้น คะแนนนี้ ถือเป็นการสะท้อนคุณภาพการเชื่อมต่อโดยรวมจากผู้ใช้งานจริง

ผลทดสอบด้านล่างนี้ บ่งชี้คุณภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยนำเทคโนโลยีมาแบ่งกลุ่มเพื่อจัดประเภทของการให้คะแนน ในขณะที่การทดสอบบนหลากหลายเทคโนโลยีจะต้องมีการกำหนดให้สมดุลและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแสดงประสิทธิภาพของผู้ให้บริการในประเทศไทย

(ค่าสูงที่สุด คือค่าที่ดีที่สุด)

รางวัล The best mobile Internet performance ในปี 2018: True Move H ครองผู้นำบริการ mobile Internet ที่ดีที่สุดในปี 2018 

ขอบคุณที่เลือกใช้แอปพลิเคชั่น nPerf ตรวจสอบความเร็วและประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อ เทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นในท้องถิ่นของคุณ โดยเข้าไปที่ « Compare » ในท้ายการทดสอบ full test โดยมีการอัพเดต real time ทุกๆ 14 วัน

ค่าเฉลี่ยของการทดสอบ ตลอดทั้งปี 2018 Dtac นั้นไม่ต่างจาก True Move มากนัก ในเดือนธันวาคม 2018 น่าจับตามองในปี 2019!

3. คุณเอง ก็มีส่วนร่วมกับ nPerf ได้!

ใช้แอปพลิเคชั่น nPerf ใช้งานได้ฟรีบน Apple AppStore บน iPhone และ iPad และ Google Play สำหรับอุปกรณ์ Android รวมไปถึง Windows Store บนอุปกรณ์ที่ใช้ Windows 10

Download the nPerf App

Android http://android.nperf.com/

iOS http://ios.nperf.com/

Windows Phone http://wp.nperf.com/ 

นอกจากนี้ หากคุณใช้เน็ตบ้าน (ADSL, Docsis, Fiber)
สามารถทดสอบผ่านบราวเซอร์ได้ที่ www.nPerf.com หรือ http://speedtest.adslthailand.com/

4. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรายงานเพิ่มเติม

สามารถติดต่อ nPerf ผ่าน www.nPerf.com หรือเมนู "Contact Us" หรือติดต่อบนแอปฯ

หมายเลขโทรศัพท์ +33 482 53 34 11

nPerf Facebook – Twitter – Instagram

ที่อยู่ nPerf SAS, 87 rue de Sèze, 69006 LYON, France 

5. ภาคผนวก

5.1 Methodology รูปแบบของการทดสอบ

nPerf เป็นแอปพลิเคชั่นทดสอบความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถดาวน์โหลดได้บน Android, iOS (Apple) และ Windows Phone ทุกคนสามารถใช้งานแอปนี้ได้ฟรี เพื่อวัดประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนมือถือ ซึ่ง nPerf ใช้ข้อมูลจากผู้ใช้ที่ทดสอบจริงในการรวบรวมข้อมูลนำมาจัดทำรายงาน ดังนั้นรายงานของ nPerf จึงมีค่าความแม่นยำ เนื่องจากมีการเฉลี่ยจากการใช้งานจริง โดยดึงมาตามสัดส่วนของการทดสอบในแต่ละเดือน โดยมีลักษณะเป็น "crowdsourcing" เชื่อมระหว่างผู้ใช้ กับโอเปอเรเตอร์ ให้พัฒนาเครือข่ายให้ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ในประเทศไทย 

5.1.2 นิยามและวัตถุประสงค์ของการทดสอบ

5.1.2.1 Success rate 

ค่า success rate คือจำนวนที่ทดสอบสำเร็จเมื่อเทียบกับจำนวนการทดสอบทั้งหมด

5.1.2.2 การทดสอบ Speed และ latency 

วัตถุประสงค์ของ nPerf Speed Test คือการทดสอบประสิทธิภาพของเครือข่ายที่รองรับการเชื่อมต่อได้สูงสุด ในแง่ของ bit rate และ latency

ในการทดสอบ nPerf ได้จำลองการเชื่อมต่อในปริมาณมาก เพื่อหาค่าเฉลี่ยที่แม่นยำและถูกต้องที่สุด สำหรับเรื่องแบนด์วิธในการรับส่งข้อมูล

การวัดความเร็วเน็ต สะท้อนให้เห็นความสามารถ และประสิทธิภาพที่ผู้ให้บริการรองรับได้สูงสุด ซึ่งค่าการทดสอบตรงนี้ ไม่เหมือนกับการใช้งานจริงของผู้ใช้ อาจไม่สามารถนำมาอ้างอิง ในแง่ของ user experience ภายใต้การใช้งานอินเทอร์เน็ตปกติได้ เนื่องจากทดสอบบนเซิร์ฟเวอร์ของ nPerf

ในส่วนของ user experience จะใช้การวัดผลจากการทดสอบ quality of service (QoS)

5.1.2.3 nPerf servers

เพื่อทดสอบขีดความสามารถสูงสุดของแบนด์วิธในการใช้งานตลอดเวลา nPerf ใช้ servers ที่ dedicated สำหรับการทดสอบนี้โดยตรง

ซึ่งสถานที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ nPerf ได้ติดตั้ง dedicated servers ที่โอเปอเรเตอร์ในไทยคือ AIS และ True Move เพื่อการวัดผลที่ทีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับปริมาณ bandwidth ทั้งหมดของประเทศไทย ใหญ่กว่า 350 Gb/s

5.1.2.4 การทดสอบ browsing test

การทดสอบ browsing test ใช้วิธีการเปิดหน้าเว็บไซต์ยอดนิยมในประเทศไทย จำนวน 5 เว็บ ซึ่งไม่รวมหน้าเว็บ YouTube

ผลการทดสอบสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการท่องเว็บไซต์ของผู้ใช้ผ่านบราวเซอร์ อย่างไรก็ตาม อาจทำให้ผลการทดสอบต่ำลงได้หากเครื่องที่ใช้เป็นรุ่นเก่า

การคำนวณระยะเวลาเปิดหน้าเว็บไซต์ หากใช้เวลาเปิดเว็บ 10 วินาที หรือนานกว่านั้น จะได้ค่า performance rate 0% แต่ถ้าใช้เวลาเปิดหน้าเว็บน้อย จะได้ค่า performance rate อยู่ที่ 100% ยกตัวอย่าง เช่น ใช้เวลาเปิดเว็บ 2 วินาที จะได้ค่า performance rate 80%

5.1.2.5 YouTube streaming test

เป้าหมายของการทดสอบ streaming test คือการวัดประสิทธิภาพในการเล่นวีดีโอ ผ่านแพล็ตฟอร์มยอดนิยมคือ YouTube ซึ่งนิยมใช้งานกันทั้งประเทศไทยและทั่วโลก

การวัดประสิทธิภาพ มองเรื่องการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ YouTube และเข้าสู่บัญชี โดยการทดสอบจะวัดผลระหว่างผู้ใช้และเซิร์ฟเวอร์ของ YouTube

เราคำนวณจากระยะเวลาในการโหลดวีดีโอ (ก่อนหน้า หรือระหว่างเล่น) (แถบวิ่งที่เราเห็นตอนดูวีดีโอ) หาก ratio ระหว่างเล่นวีดีโอ และระยะเวลา reading time รวม (reading + loading) เท่ากับ 1 คือโหลด buffer เสร็จก่อนเล่นวีดีโอ เทียบประสิทธิภาพเท่ากับ 100% แต่ถ้ามีอัตราห่างจาก 1 ถือว่าใช้เวลาในการ buffer เยอะ ให้คะแนน 0% โดยนับจากเวลาโหลด เทียบกับความยาววีดีโอ เช่น ถ้าใช้เวลาในการโหลด 1.50 วินาที ความยาววีดีโอ 1 วินาที จะเท่ากับ 0.75 นั่นคือ ค่าต่ำกว่า 1 จะได้ 0%

5.1.3 การกรองผลการทดสอบ เพื่อความแม่นยำ

การทดสอบ มีทั้งการเก็บข้อมูลจากการทดสอบแบบ Auto และแบบ Manual เพื่อกรองผลการทดสอบซ้ำ และอาจมีค่าเบี่ยงเบนทำให้ผลการทดสอบผิดเพี้ยนได้ เช่น การทดสอบด้วย robot

ซึ่งอัลกอริทึ่มของ nPerf จะใช้การทดสอบที่มีความเกี่ยวข้อง และกรองผลการทดสอบที่ผิดปกติออกไป สังเกต location ในการทดสอบซ้ำๆ รวมไปถึงการแบ่งการทดสอบให้ชัดเจน และในแต่ละผู้ให้บริการ มีการทดสอบที่โรมมิ่งกับเครือข่ายอื่น ซึ่งอาจส่งผลต่อการทดสอบได้

5.1.3.1 กรองเฉพาะอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ 4G เท่านั้น

เพื่อไม่ให้มีความได้เปรียบ - เสียเปรียบเรื่องอุปกรณ์ที่จับสัญญาณได้ดีกว่า จึงแบ่งการทดสอบบน 4G ตามเงื่อนไขว่า อุปกรณ์จะต้องรองรับ 4G ไม่ใช่ 4G+

5.1.3.2 กรองเฉพาะอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ 4G+ เท่านั้น

เพื่อการทดสอบและวัดผล 4G + connection rate จะคัดเฉพาะอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G+ โดยมีรายชื่อรุ่นในภาคผนวก

5.1.4 การเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบในปี 2018

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018 มีการเปลี่ยนแปลงสูตรการคำนวณ nPerf score ที่สะท้อนประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยสูตรการคำนวณแบบใหม่นี้ จะพิจารณาค่า latency และมองถึงความสำคัญของค่า upload กับ user experience (browsing, streaming) มากขึ้น ซึ่งสูตรการคำนวณใหม่นี้ มีการเริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2018

รายงานการทดสอบ อ้างอิงจากการทดสอบในปี 2018 ด้วยสูตรคำนวณแบบใหม่  

ดูรายการรุ่นเครื่องรองรับ 4G และ 4G+ ในหัวข้อ 5.2 และ 5.3 ที่นี่

COMMENTS