ซึ่งหลายๆ คนยังนิยมเชื่อมต่อ Wi-Fi จึงไม่มีข้อกังขาว่าทำไม Wi-Fi ถึงได้รับความนิยมมาก Frontiir ผู้ให้บริการ Wi-Fi ในพม่า สร้างกำไรจากการให้บริการ Wi-Fi เพื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างไหลลื่น ในราคาค่าบริการ 3 เหรียญ ต่อเดือน แต่เมื่อเทียบแล้ว มีต้นทุนการวางโครงข่ายต่ำกว่า Cellular
Allen Miu, CTO และ co-founder ของ Frontiir ได้กล่าวในงาน Wi-Fi NOW APAC ในเซียงไฮ้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เรามีโมเดลในการทำธุรกิจที่ยั่งยืน สำหรับการเชื่อมต่อผู้คนนับพันล้านคน โดยไม่ต้องมีโฆษณา ไม่ต้องลงทะเบียน เหลือแต่ความง่ายในการใช้งานเพื่อเชื่อมต่อผู้คน ซึ่งเรื่องราวของ Allen Miu นั่นน่าทึ่ง เพราะว่า Frontiir มีมุมมองในการแข่งขันในตลาดที่รู้จริงในพม่า
ตัวจริงเรื่องสัญญาณครอบคลุม และสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด
Allen Miu กล่าวว่า การให้บริการอินเทอร์เน็ตของ Frontiir ภายใต้ชื่อ ‘Myanmar Net’ นั่นเป็นมากกว่าการเป็นเครือข่าย Wi-Fi ในร้านกาแฟ แต่ครอบคลุมทั้งเมืองของพม่า ทั้งอินเทอร์เน็ต Fixed และ Mobile ด้วยค่าบริการที่เข้าถึงได้ 3 เหรียญต่อเดือน เมื่อเทียบกันแล้ว ถือว่าค่าบริการถูกกว่า 3G ถึง 8 เท่า โดย CPE สามารถเช่าในราคา 2.6 เหรียญสหรัฐ ซึ่งราคาต่ำขนาดนี้ ทำให้ Frontiir ทำกำไรได้
Frontiir เข้าใจตลาดในพม่า มีแผนที่จะส่งมอบบริการอินเทอร์เน็ตในตลาดคนรุ่นใหม่และมองว่าการแข่งขันที่ดุเดือด ทำให้ต้องลุยสร้างโครงข่ายมหาศาล ซึ่งกำไรน้อยและใช้งบลงทุนเยอะ ดังที่เห็นในกลุ่ม Telco และ ISP ที่กำลังเติบโต
Allen Miu เสริมว่า ตั้งแต่พม่าเริ่มเปิดเสรีทางการตลาดในปี 2013 ผู้ให้บริการทั้ง 4 รายก็ได้รับอนุญาตให้บริการ ในขณะที่ Frontiir ก็ยังมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มมากขึ้น และยังคงทำกำไรได้ดี
ต้นทุนในการให้บริการ Wi-Fi ต่ำกว่า Cellular รวมไปถึงการบำรุงรักษาก็ถูกกว่าด้วย
Frontiir ให้บริการ Wi-Fi บนคลื่น unlicensed ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก โดยประเมินว่า การสร้างโครงข่าย ใช้เงินทุนเพียง 5% ของค่าใช้จ่ายที่สร้างโครงข่าย 3G ในระบบ Cellular ซึ่ง Wi-Fi มีต้นทุนต่ำกว่า และสร้างระบบที่รองรับการใช้งานได้เพียงพอ นั่นหมายถึงว่า ประหยัดเงินได้เยอะ โดย Frontiir มีเวนเดอร์คือ Cambium Networks และ Ruckus Networks
อีกความภูมิใจของ Allen Miu ก็คือ ลูกค้ามีความพึงพอใจมากถึง 95% โดยส่วนแบ่งการตลาดของ Frontiir อยู่ที่ 35% บริษัทจ้างพนักงาน 1,600 คนในพม่า และรวมไปถึงเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์
ในยุค Wi-Fi ครองเมือง ทางผู้ให้บริการ ก็อยากให้ลูกค้าใช้สมาร์ทโฟนที่รองรับ Wi-Fi 5GHz ด้วยเช่นกัน
แม้จะประสบความสำเร็จในการให้บริการ แต่เมื่อมีผู้ใช้เยอะๆ Wi-Fi 5GHz จะใช้บริการได้คล่องตัวกว่า สิ่งที่อยากให้เกิดก็คือ จำนวนสมาร์ทโฟนที่รองรับ Wi-Fi 5GHz มีเยอะขึ้น ในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งผู้บริหารบอกว่า จำนวนสมาร์ทโฟนในเครือข่าย 25% ที่รองรับ Wi-Fi 5GHz ซึ่งทางเครือข่าย มี Wi-Fi 5GHz ให้บริการอยู่แล้ว แต่ตัวเครื่องที่รองรับยังมีน้อย เข้าใจว่า ราคาสมาร์ทโฟนที่รองรับ Wi-Fi 5GHz ยังต้องมีราคาหมื่นอัพ
และนี่คือตัวอย่างของแนวคิดเฉพาะตัวของ Allen Miu ที่คิดวิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้ง และมีเวนเดอร์ช่วยจับมือไปด้วยกันในโลกดิจิตอล
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้คนสามารถเชื่อมต่อได้ ถ้า Wi-Fi ครอบคลุม สมาร์ทโฟนทุกเครื่องต่อ Wi-Fi ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นไฮเอ็นต์ เรามองเฉพาะฟังก์ชั่นที่จำเป็น
ที่มา wifinowevents Facebook Myanmar Net internet in myanmar