29 มี.ค. 2562 1,854 86

Facebook ดึง Capacity ของ Data Center ที่เหลือใช้มาให้บริการ Fiber-Optic

Facebook ดึง Capacity ของ Data Center ที่เหลือใช้มาให้บริการ Fiber-Optic

อย่างที่เราทราบกันดีว่า Facebook ตั้ง Data Center ไว้หลายที่ แต่กระนั้นเองก็ไม่ได้ถูกใช้งานได้เต็ม Capacity โดย Facebook มีแผนเปิดบริการ “middle mile” เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษาทั่วประเทศ โดย Facebook ได้ตั้งบริษัทลูก ที่ชื่อว่า Middle Mile Infrastructure เพื่อจำหน่าย capacity ส่วนเกิน หรือเหลือใช้บนไฟเบอร์

ยักษ์ใหญ่แห่ง Social Media Platform อย่าง Facebook นำเสนอบริการเชื่อมต่อ fiber-optic โดยใช้ Capacity ที่ไม่ได้ใช้งานระหว่าง Data Center สำหรับ 3rd Parties

Middle Mile Infrastructure บริษัทย่อยของ Facebook เริ่มให้บริการไฟเบอร์ให้กับ Data Ceter ของสถานศึกษาใน Virginia, Ohio​ และ North Carolina โดยบริษัทได้ประกาศผ่าน Blog เขียนโดย Kevin Salvadori ผู้บริหารด้านการลงทุนเครือข่าย

ความตั้งใจของเราคือ ต้องการเปิดโอกาสให้ 3rd Parties รวมไปถึงผู้ให้บริการท้องถิ่นและระดับประเทศ​ สามารถซื้อ Capacity ที่เหลือของเราไปใช้งานได้ ซึ่ง Capacity ที่เหลือนี้ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายปัจจุบัน และผู้ให้บริการในอนาคตได้อีกด้วย 

การเปิดโอกาสใหม่ๆ นี้ ช่วยให้สามารถขยายการให้บริการไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ และให้บริการในพื้นที่ห่างไกล และด้อยโอกาส ซึ่งมีระยะใกล้จากเส้นทางสายไฟเบอร์

ถ้าพูดให้ชัดๆ บริษัทไม่ได้ให้บริการ Fiber กับลูกค้าโดยตรง อย่างที่ Google Fiber ทำ แต่มองการให้บริการ สำหรับผู้ให้บริการ และผู้ประกอบการ โดยจะเริ่มในปีนี้ และใช้ระยะเวลาประมาณ​ 18 - 24 เดือน

หนึ่งในเส้นทางเชื่อมต่อกับ Data Center ใน Ashburn, Virginia กับวิทยาเขตของสถานศึกษาใน New Albany, Ohio นั่นหมายความว่า ไฟเบอร์จะวิ่งผ่านรัฐ West Virginia ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ด้อยโอกาสในการให้บริการบรอดแบนด์ เนื่องจากบรรดาผู้ให้บริการและโอเปอเรเตอร์นั้นเข้าถึงได้ช้าในการให้บริการในพื้นที่ห่างไกล

แต่สิ่งหนึ่งที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon, Microsoft, Google​ และ Facebook ทำก็คือ จะต้องสร้างโซลูชั่นที่รองรับและสนับสนุน เนื่องจากไม่สามารถตัดอะไรออกไปได้ อย่างเช่นโครงการ Open Compute Project ที่คลอดออกมาจากการที่ฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ปัจุบันไม่สามารถรองรับได้ดีพอ จึงมีการรวมตัวกันเพื่อสร้างมาตรฐานเปิดช่วยเหลือกันเอง

สิ่งสำคัญของการเริ่มสร้างพื้นฐานของเครือข่ายให้แข็งแกร่งเพื่อเชื่อมต่อกับ Data Center ซึ่งมีขนาดพอๆ กับศูนย์การค้าหรือต้องย้ายข้อมูลจำนวนมาก Facebook ได้เปิดตัว Fabric Aggregator ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่กำหนดได้เองตามความต้องการ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของทราฟฟิก ที่อาจมีปริมาณการใช้งานสูงกว่าขีดจำกัดฮาร์ดแวร์ของ Cisco 

แล้วข้อดี - ข้อเสียล่ะ ?

มองได้หลายมุม ในมุมหนึ่ง ก็ยินดีกับ Facebook ที่เข้ามารุกในส่วนของ capacity ซึ่งก็แนวๆ เดียวกับ Amazon Web Services (AWS) ในช่วงแรกๆ ที่นำ capacity ที่เหลือเยอะเกินความจำเป็นมาใช้ และต่อมาได้มีการแตกขยายออกเป็น Boom, EC2 และ S3 อย่างที่เราเห็นกัน

ในทางตรงกันข้าม ก็มองได้จากการสร้างการ์ดจอที่เกินความจำเป็นในช่วงที่ Crypto มาแรงขั้นสุด แต่เมื่อตลาด Crypto พังทลายลง ลองเดาว่าใครที่ต้องแบกสต๊อกที่ล้นในคลังสินค้าบ้าง?

ถ้าเรามองเรื่อง Capacity ของ Data Center ส่วนเกิน Google เองใช้เงินไป 13 พันล้านเหรียญสำหรับการขยาย Data Center ในปีนี้ ในขณะที่นักวิจัยและการตลาดมองว่าตลาดจะโต 22.73 พันล้านเหรียญในปีนี้ ซึ่งน่าแปลกใจที่ยังไม่ถูกใช้งบเยอะตามที่คาดไว้

Data Ceter ก็เช่นกัน ถ้าเราเห็นห้างร้าง เราอาจจะได้เห็น Data Center ร้างก็เป็นได้ หากมี Capacity เหลือใช้มากจนเกินไป

ที่มา networkworld fb.com code.fb.com opencompute

COMMENTS