รายงานของ the Center for Advanced Defense (C4ADS) และ The University of Texas เปิดเผยว่า มีการปลอมแปลง GPS เป็นจำนวนมากกว่า 9,883 เหตุการณ์ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องถึง 3 ปี ติดต่อกัน ส่วนใหญ่เป็นการโจมตีในพื้นที่ยุทธศาสตร์ โดยการลอกสัญญาณ GPS ให้รายงานข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำให้รายงานของมูลทางภูมิศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องแล้วส่งสัญญาณมายังเครื่องรับอุปกรณ์ GPS ทำให้อ่านผลผิด
วิธีการนี้เป็นวิธีการบล็อกสัญญาณ GPS จากอากาศโดยไม่ให้สัญญาณส่งมาถึงเครื่องรับบริเวณภาคพื้นดิน ถือว่าเป็นการปิดระบบสัญญาณซึ่งทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การปลอมแปลงสัญญาณ GPS มักอิงการปลอมแปลงสัญญาณ GNSS โดยใช้วิธี "ตบตาสัญญาณ" เป็นระบบดาวเทียมที่นำทางทั่วโลก โดยประเทศสหรัฐอเมริกายังคงพัฒนาระบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยทางสหรัฐได้ตั้งชื่อเทคโนโลยีใหม่คือ GNSSes ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้สัญญาณแม่นย่ำขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมาคนที่สามารถโจมตีระบบ GPS ได้ต้องมีเงินทุนในการซื้ออุปกรณ์และมีความรู้ในเวลาเดียวกัน ตัวอุปกรณ์ที่มีความซับซ่อนต้องใช้งบประมาณหลายแสนดอลลาร์สหรัฐแต่ในปัจจุบันสามารถใช้งบเหลือเพียง 300 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 9531 บาทต่อ 1 สถานี เนื่องจาซอฟต์แวร์ราคาถูก ( software-defined radios (SDRs)) โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดายบนหลังคาบ้านหรืออาคารเพื่อเป็นฐานในการกระจายสัญญาณ
อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กสามารถถอดเคลื่อนย้ายได้ง่าย
โดยทางรัสเซียใช้วิธีการนี้ในพื้นที่ยังต้องมีทหารประจำการหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือพื้นที่ที่ยังเป็นพื้นที่สงคราม เช่น ในบริเวณยูเครนและแหลมไครเมียซึ่งกองทัพรัสเซียยังคงประจำการอยู่
นอกจากนี้ทางนักวิจัย C4ADS ยังเหตุทำสัญญาณในลักษณะหลายครั้งในพื้นที่ คาบสมุทรไครเมีย และพื้นที่ในประเทศรัสเซียเอง สัญญาณที่พิกัด GPS ไม่สามารถใช้งานได้เลย คือ Tsibanobalka เนื่องจากเป็นพื้นที่ลำเลียงทหารเข้าและออกจากแหลมไครเมีย
นักวิจัย C4ADS พบเหตุการณ์ปลอมแปลงสัญญาณบริเวณช่องแคบเคิร์ช ทำให้พิกัดบริเวณสนามบินบริเวณเมือง Gelendzhik ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดการสับสน
ข้อมูล static1.squarespace