คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากคลื่น 5G และประเมินความเสี่ยงเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่โอเปอเรเตอร์ในสวิซ ได้มีการประมูลคลื่นให้บริการเครือข่าย 5G เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
หน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารของสวิตเซอร์แลนด์ อนุญาตให้ Swisscom เริ่มให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ อย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้ แต่ก็มีข้อกังขาเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ชาว Swiss กว่าครึ่ง เป็นกังวลเรื่องการแผ่รังสีจากเสามือถือ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อสุขภาพของพวกเขา เนื่องจากไม่มีความมั่นใจเรื่องการควบคุมการส่งสัญญาณคลื่นจากรัฐบาล
เข้าใจว่าเรื่องการตื่นตระหนกไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ 5G ก็ยังถือว่าเป็นของใหม่ แล้วความรู้สึกคนก็เข้าใจว่าคลื่นแรง คืออันตราย แต่ทั้งนี้ สัญญาณ 5G อยู่ในอากาศ เราก็ยังยืนยันไม่ได้ซะทีเดียวว่าไม่กระทบสุขภาพ
การรับส่งข้อมูลผ่าน 5G นั่นใช้ความถี่คลื่นต่ำ กลาง และสูง อย่างเช่น 600/700MHz และความถี่ 5GHz ซึ่งเป็นความถี่กลาง และต่ำกว่า ดังนั้นถ้าเรามองว่า 4G ปลอดภัย 5G ก็เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความกังวลเรื่องความถี่คลื่น ว่าคลื่นต่ำ และกลาง จะปลอดภัยกว่า ด้วยความไม่รู้ ก็ทำให้คิดกันไปถึงขนาดที่ว่า เสาไร้สายจะแปลงสภาพเป็นเตาไมโครเวฟขนาดใหญ่ แต่ก็ยังไม่มีใครหาบทสรุปเรื่องผลกระทบได้อย่างชัดเจน
สำหรับเรื่องมาตรฐานคลื่นการแผ่รังสี อุปกรณ์รับส่งสัญญาณไร้สายที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา จะต้องผ่านกระบวนการอนุมัติอย่างเป็นทางการจาก FCC เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องแผ่รังสี SAR ไม่เกินระดับสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้งาน
ถึงเวลาแล้วที่ผู้ให้บริการ ผู้ผลิตชิป และภาครัฐจะต้องออกมาแสดงความชัดเจนเรื่องความปลอดภัยของ 5G แล้ว ถ้าไม่เช่นนั้น ผู้ปกครองก็คงไม่กล้าให้บุตรหลานใกล้ชิดสมาร์ทโฟนเพราะห่วงผลกระทบ ถ้ามีการยืนยัน ผู้ใช้ก็จะได้สบายใจ ทุกคนอยากให้โลกดีขึ้นทั้งนั้น แต่หากมีความเสี่ยงบ้างก็ต้องศึกษาไม่ให้กระทบสุขภาพจนมีภาวะเสี่ยงจนน่าวิตก ซึ่งภาครัฐเองก็ยังปฏิเสธการจำกัดคลื่น จนกว่าจะมีการศึกษาถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างชัดเจน
ส่วนในบ้านเราที่กำลังจะมีการประมูล 5G ก็อยากให้ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่การศึกษาความเสี่ยงความปลอดภัยการแผ่รังสีคลื่นให้สาธารณชนได้มั่นใจด้วยเช่นกัน
ที่มา venturebeat