ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในประเทศไทยกำลังเริ่มดำเนินการลงทุนด้านเทคโนโลยีในระบบคลาวด์ อัพเกรดฮาร์ดแวร์ไอที และไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ขณะที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่เริ่มในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเริ่มโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ตามรายงานดัชนี “ความพร้อมทางด้านดิจิทัลของเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” (‘APAC SMB Digital Maturity Index’) ที่ซิสโก้ได้เผยแพร่ในวันนี้
รายงานดัชนีดังกล่าวได้จัดทำโดยบริษัทวิจัย ไอดีซี (IDC) โดยอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 1,340 ราย เรื่องความพร้อมด้านดิจิทัลของเอสเอ็มอีใน 4 แง่มุมทางด้านธุรกิจ ได้แก่ 1) การปรับใช้เทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน 2) กลยุทธ์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในองค์กร 3) กระบวนการ และการกำกับดูแล 4) ความสามารถในการจัดหา จัดการ และรักษาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อทำงานด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
จากการพิจารณา 4 แง่มุมดังกล่าว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภูมิภาคอาเซียน (ยกเว้นสิงคโปร์) ได้ถูกจำแนกว่ามีความพร้อมทางด้านดิจิทัลในระดับ ‘Digital Indifferent’ ซึ่งหมายถึงการดำเนินการทางด้านดิจิทัลเพียงแค่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาด แทนที่จะขับเคลื่อนด้วยแนวทางเชิงรุก (proactive tactical approach)
ขณะที่เอสเอ็มอีในไทยพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจเหล่านี้ลงทุนในเทคโนโลยีคลาวด์เป็นอันดับแรก (13.3%) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของการปรับใช้ระบบคลาวด์ทั่วภูมิภาคนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถปรับขนาดของระบบได้อย่างรวดเร็วตามความจำเป็น โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากสำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอที
การมีโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่เหมาะสมนับว่าจำเป็นอย่างยิ่งต่อการตอบสนองความต้องการในการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีในไทยและรองรับความสำเร็จในระยะยาว เอสเอ็มอีตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และ 12.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า องค์กรของตนกำลังลงทุนในด้านการอัพเกรดซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ด้านไอที
ขณะที่เอสเอ็มอีในไทยดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล ก็มีการปรับใช้เทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างกว้างขวาง โดย 11.7% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นหนึ่งในสามเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในการลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเอสเอ็มอีให้ความสำคัญกับเรื่องของการรักษาความปลอดภัย โดยถือเป็นหัวใจหลักของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า “ธุรกิจเอสเอ็มอีในไทยเร่งดำเนินการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ทั้งนี้ เอสเอ็มอีมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการสร้างจีดีพีและแรงงานของไทย ซิสโก้ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในการนำเสนอโซลูชันด้านไอทีให้แก่เอสเอ็มอี เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพของธุรกิจ ตั้งแต่โซลูชันบนระบบคลาวด์ไปจนถึงไฟร์วอลล์สำหรับไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซิสโก้ให้การสนับสนุนแก่เอสเอ็มอีที่ต้องการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและขยายธุรกิจสู่ตลาดในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาช่องว่างทางด้านทักษะดิจิทัลในประเทศไทย โดยโครงการ Cisco Networking Academy ได้จัดการฝึกอบรมความรู้ให้แก่ผู้เรียนเกือบ 50,000 คนในประเทศไทย และดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการเพิ่มพูนทักษะความเชี่ยวชาญให้แก่บุคลากรเพื่อรองรับความต้องการของโลกดิจิทัลในอนาคต”
อย่างไรก็ดี เอสเอ็มอีในไทยยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หรือ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุถึงอุปสรรคสำคัญๆ เช่น การขาดแคลนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินงานและข้อมูลลูกค้า (17.9%), การขาดแคลนทักษะด้านดิจิทัลและบุคลากร (15.7%) และการขาดแคลนกระบวนการคิดที่เป็นดิจิทัล (digital mind-set) หรือความท้าทายทางด้านวัฒนธรรมภายในองค์กร (14.0%)
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังชี้ว่า โครงการของรัฐบาลส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อเอสเอ็มอีไทยในการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (55.7%) ระบุว่าตนเองรับรู้ถึงโครงการภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนเอสเอ็มอี และได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ขณะที่ 32.9% รับรู้ แต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเหล่านั้น
สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า “ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจไทย ในปี 2561 ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามล้านรายในประเทศไทยสร้างงานให้กับคน 12.16 ล้านคน คิดเป็น 43.2% ของจีดีพีของประเทศ การใช้ประโยชน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลและการใช้ประโยชน์จากไอทีกับผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดจิ๋ว หรือ Micro, Small & Medium Enterprise (MSME) นั้นมีความสำคัญและค่อยๆกลายเป็นรากฐานใหม่สำหรับผู้ประกอบการในปัจจุบัน ซึ่งจะสร้างประโยชน์ด้านนวัตกรรม ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและโอกาสใหม่ ๆ ในตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มผู้ประกอบการรายใหม่จำนวนมากในตลาด พัฒนาความได้เปรียบในการแข่งขันและขจัดอุปสรรคทางการตลาดโดยเฉพาะจากภาค MSME ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในประเทศส่วนใหญ่”
“เราช่วย MSME ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์และสร้างธุรกิจใหม่โดยเสนอโปรแกรมและรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงงานระดับภูมิภาค อันที่จริงสิ่งที่ท้าทายและสำคัญที่สุดสำหรับหลาย ๆ ประเทศในอาเซียนในขณะนี้คือ “ความจำเป็นในการนำดิจิทัลไปใช้ในวิสาหกิจขนาดเล็ก” ด้วยเหตุนี้เนื่องในโอกาสการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปี 2562 สสว.จะจัดกิจกรรมอาเซียนภายใต้หัวข้อ “การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันสำหรับผู้ประกอบการขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) ในภูมิภาคอาเซียน” โดยมีจุดประสงค์ในการพัฒนาช่องทางการตลาดดิจิทัลและเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการขนาดจิ๋วในภูมิภาคอาเซียน”
รายงานดัชนีดังกล่าวเสนอคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีในไทยดำเนินการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้รวดเร็วมากขึ้น:
รายงานดังกล่าวย้ำว่ามากกว่า 60% ของเอสเอ็มอีในเอเชีย-แปซิฟิกเริ่มปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น และความแพร่หลายของสมาร์ทโฟน เอสเอ็มอีเหล่านี้กำลังสร้างนิยามใหม่ให้กับประสบการณ์และความคาดหวังของลูกค้า การดิสรัปของธุรกิจ และในบางกรณี อาจสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้นมา โดยใช้ประโยชน์จากการลงทุนและการระดมทุน