การส่งสิ่งของขึ้นไปในครั้งนี้ร่วมกับยานนิว เชฟเพิร์ด (New Shapard) ของบริษัท บลู ออริจิน (Blue Origin) ซึ่งทำการส่งขึ้นไปจากพื้นที่ของรัฐเวส เท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยยานลำนี้ จะขึ้นไปในแนวดิ่งและร่อนลงกลับมาจอดในแนวดิ่งเช่นกัน โดยยานลำนี้ จะสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า 100 ปอนด์ต่อเที่ยวบิน มีประสิทธิภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ถึง 6 คนเพื่อขึ้นไปเหนือพื้นโลกกว่า 100 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นจุดของเส้นคาร์มัน (Karman line) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างอากาศกับอวกาศ
“ภารกิจของเที่ยวบินไปอวกาศในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่อยากทำให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางอวกาศ” วรายุทธ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ มิว สเปซ กล่าว “และนับเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือผู้ที่มีความฝันที่อยากจะเดินทางไปในอวกาศเป็นความจริงมากขึ้น”
ในปีที่ผ่านมา มิว สเปซ ได้จัดร่วมจัดแสดงนิทรรศการและติดตั้งกระดานผ้าขนาดใหญ่เพื่อเปิดให้ผู้ที่เข้าร่วมงานที่สนใจร่วมลงชื่อไปในอวกาศกับ มิว สเปซ ในงานมหกรรมด้านดิจิทัลเทคโนโลยีระดับนานาชาติ Digital Thailand Big Bang 2018 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานหลายท่าน โดย มิว สเปซ ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ท่าน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย และร่วมลงนามในกระดานผ้าดังกล่าวเพื่อส่งขึ้นไปในอวกาศด้วย
“กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในเอเชีย เป็นความภาคภูมิใจที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถและโอกาสของคนไทยในการเข้าร่วมกิจกรรมทางอวกาศ เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ให้กับประเทศไทยด้วย และเรายังมีการทำกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้งในอนาคตอันใกล้นี้” กล่าวโดย วรายุท
นับเป็นกิจกรรมทางอวกาศ ครั้งที่ 2 ของมิว สเปซ ได้ส่ง Payload ไปยังอวกาศโดยร่วมกับยานนิว เชฟเพิร์ด (New shepard) โดยในกิจกรรมทางอวกาศครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2561 มิว สเปซ ได้ร่วมกับหลายหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาของไทย ในการส่งอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง ดังเช่น อุปกรณ์สำหรับการห้ามเลือด ท่อนาโนคาร์บอน และบรรจุภัณฑ์อาหารสูญญากาศ เพื่อทำการศึกษาผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติของวัสดุและผลิดภัณฑ์เหล่านั้น ในสภาวะไร้น้ำหนัก (Micro Gravity)
มิว สเปซ ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 มีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านอวกาศในเอเชียแปซิฟิค ซึ่งในเดือนที่แล้ว มิว สเปซ ได้ส่งข้อเสนอเข้าร่วมในโครงการด้านอวกาศกับนาซ่า เพื่อพัฒนาระบบการลงจอดของยานอวกาศบนดวงจันทร์ โดยเป็นดำเนินงานร่วมกับบริษัทผู้ผลิตอวกาศยานในสหรัฐอเมริกาและอยู่ในขั้นตอนของการคัดเลือกผู้ที่นำเสนอโครงการ โดยนาซ่าจะเป็นผู้คัดเลือก