17 พ.ค. 2562 2,185 33

FCC จับตา นำ Blockchain มาช่วยในการตรวจสอบ ติดตาม เพื่อรองรับการขยายตัวของคลื่น Wi-Fi ไร้สาย

FCC จับตา นำ Blockchain มาช่วยในการตรวจสอบ ติดตาม เพื่อรองรับการขยายตัวของคลื่น Wi-Fi ไร้สาย

ความต้องการในการใช้คลื่น Wi-Fi ไร้สายยุคใหม่ ขยายตัวอย่างรวดเร็วภายใต้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มากขึ้น อย่างเซ็นเซอร์ IoT ทำให้ภาครัฐของ U.S. พยายามมองหาวิธีในการจัดเก็บข้อมูล ตรวจสอบและติดตามการใช้งานคลื่น

คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ หรือ Federal Communications Commission (FCC) ต้องการที่จะตรวจสอบและติดตามการทำงานเทคโนโลยีของคลื่น โดยนำเอา blockchain เข้ามาช่วยในการตรวจสอบการเพิ่มขึ้นของคลื่นไร้สาย

"ลองนึกภาพดูว่า โลกของ Internet of Things มีอุปกรณ์มากถึง 50 พันล้านชิ้น และมีคุณสมบัติเชื่อมต่อไร้สาย และทุกอุปกรณ์ เชื่อมโยงถึงกันได้ เราควรมีวิธีในการจัดการคลื่นแบบเรียลไทม์ ในการรับรู้ความเคลื่อนไหวของคลื่น ซึ่งหากมีการขัดข้องในการเชื่อมต่อแล้ว เราจะสามารถรู้ได้เลย Jessica Rosenworcel ผู้บริหารของ FCC กล่าวในระหว่างการประชุม Business of Blockchain ของ MIT Technology Review เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

จากข้อมูลปัจจุบันของ Juniper Research จำนวนเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อบน Internet of Things (IoT) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 21 พันล้านเครื่องในปีนี้ พุ่งไปแตะที่ 50 พันล้านเครื่องในปี 2022

Blockchain ช่วยให้ธุรกิจออโตเมชั่น รู้จักกันแบบ "smart contracts" มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างอุปกรณ์ IoT

ในขณะที่ฐานข้อมูลของ blockchain มีการจัดเก็บการกระจายข้อมูลด้วย distributed ledger technology (DLT) โดยใช้รูปแบบ peer-to-peer เพื่อแบ่งปันข้อมูลที่ตรงกัน ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันภายใต้ข้อจำกัดของจำนวนโหนด 

การใช้รูปแบบการตรวจจับคลื่นแบบนี้ ทำให้ FCC รับรู้การกระจายสัญญาณของคลื่นความถี่  ถือได้ว่าตอบโจทย์สิ่งที่หน่วยงานยังไม่สามารถทำได้ในขณะนี้

Rosenworcel ยังบอกอีกว่า ต่อจากนี้ไป หากเราทราบวิธีและรูปแบบของคลื่นที่มีการใช้งาน ทำให้ blockchain เข้ามาช่วยในการบันทึกรูปแบบของคลื่นในอากาศ 

ทุกคนที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ใน chain สามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นทุกคนสามารถตรวจสอบคลื่นได้อย่างโปร่งใส

การรับรู้ว่ามีคลื่นความถี่ใดบ้างที่มีการใช้งาน ทำให้สามารถบริหารจัดการคลื่นได้ดีขึ้น และยังสามารถออกแบบและพัฒนาชิปเซ็ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งปกติแล้ว FCC มีการออกใบอนุญาตใช้คลื่นไร้สาย ล่าสุดได้มีการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 28GHz สำหรับการใช้งาน 5G ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน มีค่าใช้จ่ายเยอะ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยในการตรวจสอบข้อมูลในการประมูลใบอนุญาต เธอกล่าว 

ทุกวันนี้เราขาดแคลนคลื่น และหากมีการนำคลื่นความถี่ใหม่ออกมา ก็ควรจะได้รับการบริหารการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยก่อนหน้านี้ ฝ่ายบริหารของโอบาม่าได้นำเสนอแนวคิดในการแบ่งปันคลื่น เนื่องจากมีคลื่น Wi-Fi หนึ่งที่ไม่ถูกใช้งาน ทำให้ถูกมองว่า มีการนำคลื่นมาใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น

แนวคิดนี้น่าสนใจ เพราะว่าสามารถนำมาพัฒนาการใช้คลื่นได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาใช้คลื่นย่านความถี่ 3.5GHz สำหรับการสื่อสารด้านเรดาร์ทางทหาร หากเรารู้ว่า คลื่นย่านใดว่างจากการใช้งาน แล้วสามารถใช้คลื่นในย่านนั้นได้ ทำให้ FCC บริหารการใช้คลื่นได้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันได้ 

หาก FCC และหน่วยงานอื่น ตรวจสอบคลื่นแบบเรียลไทม์ได้ ทำให้สามารถรู้ได้ว่าคลื่นใหม่มีการใช้งาน และควรมีการเปิดใช้ใบอนุญาติคลื่นใด และนำ AI เข้ามาช่วยในการจัดสรรอุปกรณ์เพื่อการบริหารคลื่นได้ดีที่สุด

หน่วยงาน Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) ซึ่งดูแลเรื่องการบริหารจัดการคลื่น Spectrum Challenge ต้องการรู้ว่าคลื่นใดที่มีการใช้งาน ณ ขณะนั้น ซึ่งผลจะออกมาช่วงปลายปีนี้

FCC ได้เริ่มมองหาช่องทางในการนำ Blockchain มาใช้ในการจัดการคลื่น แต่ก็ได้มีการหารือกันในเรื่องของกฎหมายใน Capital Hill และ Silicon Valley ซึ่งในปัจจุบัน เราเคยเห็นองค์กรด้านวิศวกรรม เช่น IEEE เริ่มพูดคุยเรื่องการเข้าถึงรูปแบบของคลื่นและการใช้ Blockchain นอกจากนี้ยังมีสหภาพการสื่อสารนานาชาติของ U.N. ที่ตรวจสอบเรื่องการสื่อสารด้วย

Rosenworcel เชื่อว่า หาก FCC มีการบริหารจัดการโดยใช้  blockchain-based ทำให้สามารถตรวจสอบคลื่นล่วงหน้าได้ 5 - 10 ปี หากฐานข้อมูลมีการจัดเก็บได้ดี

Blockchain อาจไม่จำเป็นใน U.S. แต่ blockchain จะกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารคลื่นเศรษฐกิจในต่างประเทศที่ไม่มีอำนาจจากส่วนกลางในการตรวจจับคลื่น

หลังจากนี้คือเรื่องการบริหารการจัดเก็บฐานข้อมูล และสิ่งที่ตามมาคือต้นทุนที่ลดลง การนำ Blockchain มาช่วยนั้นมีประโยชน์และช่วยในการจัดเก็บฐานข้อมูล คลื่นที่มีอยู่แล้วไม่ได้ถูกตรวจสอบและบริหารจัดการคลื่นอย่างเป็นระบบ ส่งผลต่อธุรกิจอื่น อย่างเช่น สายการบิน เกษตรกรรม ดูแลสุขภาพ ที่นำเรื่องของคลื่นไปใช้บริหารได้ดีขึ้น และนี่ไม่ใช่แค่เรื่องภายในประเทศ แต่ส่งผลต่อทั่วโลก

ที่มา itworld computerworld

COMMENTS