จากส่วนแบ่งทางการตลาดของผู้จำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคม พบว่าปี 2018 ทาง Huawei ยังคงเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อันดับหนึ่ง แต่เติบโตได้ช้าลงเนื่องจาก Huawei ยังไม่สามารถขออนุญาตพิเศษจากรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกันกับ ZTE ซึ่งเป็นคู่แข่งของขนาดเล็กก็สะดุดกับปัญหาเดียวกัน
ที่ผ่านมาทางสหรัฐจัดการการออกใบอนุญาตการนำเข้าอุปกรณ์ในกับ Huawei และ ZTE ชั่วคราวให้ครั้งละ 90 วัน เพื่อใช้ในการนำเข้าอุปกรณ์
เมื่อเกิดสถานการณ์การคว่ำบาตรระหว่างจีนกับสหรัฐจึงเกิดเป็นแรงผลักดันเพิ่มเติม ทำให้ผู้ให้บริการบางรายไม่ได้รับความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์จาก Huawei โดยเฉพาะ AT&T, Verizon, T-Mobile และ Sprint ต้องหยุดการซื้ออุปกรณ์จาก Huawei และบริษัทในเครือ 68 แห่ง ทันทีเนื่องจากรัฐบาลขึ้นบัญชีดำทางพาณิชย์ เนื่องจากรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีความไม่มั่นใจในเรื่องความปลอดภัย
ที่ผ่านมาทาง Huawei ใช้เงินในปี 2561 ในการซื้อชิ้นส่วนไปแล้ว 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปีนี้มีการซื้อสินส่วนเพิ่มเติมจาก Qualcomm, Intel และ Micron Technology เพื่อให้สหรัฐเชื่อใจ
ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา มีความสัมพันธ์ที่ดีบางหรือเลวร้ายบางในบางจังหวะ แต่การแตกร้าวครั้งล่าสุดเกิดจากฉนวนเหตุทางเทคโนโลยี 5G เนื่องจากเทคโนโลยีที่เร็วกว่า 4G และเป็นตลาดที่ใหญ่แต่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะปี 2568
ทำให้พันธมิตรเครือข่ายหน่วยสืบราชการลับ Five Eyes ( ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริการ, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, แคนาดาและนิวซีแลนด์) ต่างหยุดการซื้ออุปกรณ์จาก Huawei ยกเว้นกลุ่มสหราชอาณาจักรที่เปิดโอกาศให้ขายอุปกรณ์บางชิ้นเท่านั้น
Huawei ยังรอดเนื่องจากยังมีตลาดอีก 170 ประเทศ ซึ่งเป็นส่วนแบ่งรายได้ 38% อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่วนแบ่งรายได้อีก 30% ในยุโรป แต่เพียง 2% ในอเมริกาเหนือ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มสหภาพยุโรประบุผ่าน Asia Times ชี้ว่า ไม่ได้รับผลประทบอย่างแน่นอนและยังติดตั้งโครงข่าย 5G ได้ทันเวลาจาก Ericsson และ Nokia
ส่วนประเทศที่มีประชาการใหญ่อันดับ 2 ชี้ว่าได้เตรียมการสต็อกอุปกรณ์ทางโทรคมนาคมไว้เป็นที่เรียบร้อย เพียงพอในการติดตั้งโครงข่าย 4G ทั้ง Huawei , ZTE , Samsung, Ericsson และ Nokia แต่สำหรับ 5G นั้นทางรัฐบาลกลางยังเล่นเกมต่อรองราคาอยูในขณะนี้ โดยอนุญาตให้ Huawei ทดสอบ 5G ภายในประเทศเท่านั้น
ข้อมูล asiatimes dailymail bloomberg coinspeaker techradar telecomlead