เผยนโยบายของ Michael Sherwood ผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีของเมือง ซึ่งคลุกคลีอยู่กับทีมเว็บไซต์ Network World ในการประชุม IoT World Conference ที่ซิลิกอนวัลเลย์ในสัปดาห์นี้
ระบบใช้กล้องอัจฉริยะในการประมวลผลตามเงื่อนไขที่ Sherwood วางไว้ โดยข้อมูลจะถูกส่งกลับไปยัง Private Cloud ของเมือง โดยวิเคราะห์รูปแบบของการจราจรเพื่อเทียบพฤติกรรมการขับรถย้อนศรและพฤติกรรมด้านการจราจรรายบุคคล
Sherwood กล่าวว่า ทั้งนี้ การพิจารณาด้านความปลอดภัย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการนำ IoT เข้ามาใช้ในอนาคต ซึ่งภาพใหญ่นั้นมีเป้าหมายคือทำให้ข้อมูลนั้นเผยแพร่ต่อสาธารณะ ไม่เพียงแค่การตรวจสอบความโปร่งใส แต่ช่วยให้พัฒนาและสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ๆให้กับ Vegas เพื่อยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น
การเก็บข้อมูล Public Data นั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลผ่าน IoT เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ โดยมีการนำเอาผลต่างๆ มารวบรวมและร่วมกับวิเคราะห์ข้อมูล เช่นงาน hackathon เมื่อปีที่ผ่านมา มีการนำแอปบน Alexa เข้ามาช่วยในการรวบรวมจำนวนสัญญาณไฟจราจรว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อติดตามข้อมูลการใช้พลังงานของเมือง และจัดการจราจร
เช่นเดียวกับการนำ IoT เข้ามาช่วย แทนที่จะต้องเพิ่มพนักงานไอทีเพื่อรันระบบใหม่ เรามีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจราจรเข้ามาช่วยได้เยอะ
อีกแนวคิดคือการจัดการจราจรในยุคนี้มี Uber และ Lyft และบริการเรียกรถต่างๆ เพื่อจัดทำข้อมูลเช่น RideShare สามารถจอดรถได้ทั้ง 2 ฝั่งถนนนี้ และมีแอปให้คนขับรถบรรทุกหลักเลี่ยงย่านที่การจราจรแออัด
มุมมองของ Sherwood มองว่า เรากำลังมองหาวิธีที่ทำให้ถนนมีชีวิต เต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่สามารถนำมาช่วยการจัดการจราจรได้
สวนสาธารณะที่ปลอดภัย
แนวคิดการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับชีวิตคนในเมือง โครงการนำร่องนี้คาดหวังให้ Las Vegas เป็นเมืองแห่งความปลอดภัย โดยติดตั้งกล้องอินฟราเรด ทำให้ทราบได้ว่ามีคนอยู่ในสวน โดยคำนึงเรื่องความเป็นส่วนตัว และมีการนำเรื่องเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าเข้ามาช่วยทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอินฟราเรด
แต่ทั้งนี้ แม้จะเป็นโครงการ IoT แต่ก็ต้องใช้งบประมาณ ซึ่งจะเริ่มจากสวนสาธารณะแห่งเดียวก่อน แล้วมาดูข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ว่านำไปใช้กับข้อมูลอื่นๆ ได้หรือไม่
จากที่กล่าวมาทั้งหมด โครงการนี้ใช้ต้นทุนต่ำ และการบำรุงรักษาในระยะยาว สามารถพัฒนาและอบรมความรู้เบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่เทศบาลสามารถบำรุงรักษากล้องอัจฉริยะในสวนอย่างง่ายๆ สิ่งที่ตามมาคือความปลอดภัย และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มากกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ถือว่าสำเร็จ ถ้าประสิทธิภาพที่ได้มา ดีกว่าต้นทุนที่เสียไป