โดย Ajit Pai ประธานคณะกรรมการกำกับการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FCC เตรียมลงคะแนนเสียงในแผนการสื่อสารระดับชาติหรือ The U.S. Federal Communications Commission plans ที่จะกำหนดแถบความถี่ที่สำคัญเนื่องจากต้องใช้ความกว้างของสัญญาณ 75 MHz บนคลื่นความถี่ 5.9 GHz เพื่อให้อุปกรณ์และตัวของค่ายรถยนต์สามารถแลกเปลี่ยนส่งสัญญาณหากันได้ในระบบแบบสั่นเป็นการเฉพาะ (DSRC) ส่งผลทำให้ลดการเกิดอุบัติเหตุ
Ajit Pai ประธานคณะกรรมการกำกับการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FCC กล่าวในงาน Wi-Fi World Congress ระบุว่า สาเหตุที่เลือกใช้ความถี่ย่านนี้เนื่องจาก ไม่ค่อยมีใครใช้งานและถูกทิ้งร้างมานาน ซึ่งทางภาครัฐต้องการให้คลื่น Wi-Fi ในบางความถี่ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันไม่หนาแน่นมากจนเกินไป เนื่องจากที่ผ่านมาคลื่น Wi-Fi ต้องรองรับความเร็วอินเทอร์เน็ตถึงระดับ Gbps ซึ่งเชื่อว่าเป็นทันเวลาการใช้งานทันที
การลงคะแนนครั้งแรกของวาระเรื่องนี้คือเดือนมิถุนายน 2562
ที่ผ่าน Toyota Motor Corp และ Ford Motor ได้ชะลอการตัดสินใจในเรื่องการติดตั้งเทคโนโลยี DSRC บนคลื่น 5,9 GHz เนื่องจากเกิดความไม่มั่นใจของภาครัฐ ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าอาจจะมีการใช้เทคโนโลยี 4G หรือ 5G บน C-V2X
เทคโนโลยี DSRC ช่วยทำให้รถยนต์เกิดการสื่อสารระหว่างกัน มีความแม่นยำสูงสุด 10 ครั้งต่อวินาที ทั้งความเร็วและการเร่งความเร็ว
นอกจากนี้คลื่นดังกล่าวจะนำมาปรับใช้งานกับการบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ ดังนั้นคลื่นนี้จึงมีความสำคัญ
ที่ผ่านมา ในกลุ่มประเทศยุโรป เตรียมออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางด้านสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งอัจฉริยะที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยที่ประชุมเตรียมยกเทคโนโลยี Wi-Fi ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ดีกว่า 5G หรือ C-V2X ซึ่งการนำเทคโนโลยี Wi-Fi เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการการจราจรในสหภาพยุโรป แต่เรื่องกลับพลิกล็อค สภา EU อนุมัติ Wi-Fi เป็นมาตรฐานบนรถยนต์ เหตุไม่กินรวบเหมือน C-V2X สำหรับฝั่งที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ WiFi ในรูปแบบ wifi-based ITS-G5 technology ได้แก่ VOWG, Renault และ Toyota