โดยปัจจุบันผู้ที่ถือครองคลื่นนี้มีเพียงเจ้าเดียวคือ Oi นำคลื่น 700 MHz มาให้บริการ 4G
ตามรายงานของ TeleSynthesis ชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดของ Claro, TIM และ Vivo มีความต้องการคลื่นความที่ไม่น้อยกว่า 1,000 MHz ในการให้บริการ 5G ซึ่งมีความต้องการมากเพิ่มขึ้นถึง 703% และที่ผ่านมาผู้ให้บริการทั้ง 3 รายถือครองคลื่นความถี่ที่ต่ำว่า 1 GHz (เช่นคลื่น 800 MHz , 900 MHz) อยู่แล้ว เป็นจำนวนประมาณ 35-40% ของคลื่นที่ถือครอง
ส่วนใหญ่เป็นการถือครองคลื่นความถี่ในย่านคลื่น 1 GHz -3 GHz (เช่น คลื่น 1800 MHz , 2100 MHz, 2300 MHz, 2600 MHz)
โดยปกติของประเทศบราซิล เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ มีการแยกการถือครองตามภาคต่างๆ เช่นภ ภาคตะวันออก, ภาคตะวันตก, ภาคเหนือ, ภาคใต้
ซึ่งปัญหาของผู้ให้บริการบางรายยังติดปัญหาด้านข้อกฏหมายบล็อกไม่ให้ถือครองคลื่นมากกว่า 71.4 MHz โดยมีละเอียดดังต่อไปนี้
- โครงข่าย Vivo มีคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 1 GHz จำนวน 51.4 MHz ในพื้นที่ São Paulo, Minas Gerais และภาคตะวันออก
- โครงข่าย Claro มีคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 1 GHz จำนวน 51.4 MHz ในพื้นที่ São Paulo และเมืองหลวง
- โครงข่าย TIM มีคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 1 GHz จำนวน 64 MHz ในพื้นที่ในParanáและ Santa Catarina
ดังนั้นหากทำการซื้อคลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 20 MHz (10 + 10 MHz) ก็จะนำไปสู่การถือครองคลื่นความถี่เกินตามที่กฏหมายกำหนด
มีเพียงโครงข่าย Oi ที่มีความถี่ต่ำกว่า 1 GHz จำนวนเพียง 5 MHz เท่านั้น ยกเว้นในพื้นที่ Rio Grande do Sul, in the Midwest region และส่วนหนึ่งของภาคเหนือถือครอง 19 MHz
หน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศบราซิลทำหน้าที่คล้าย กสทช. ของประเทศไทย ชี้แจ้งว่าภายในประเทศผู้ให้บริการบางราย ถือครองคลื่นความถี่ช่วง 1 GHz และ 3 GHz (เช่น คลื่น 1800 MHz , 2100 MHz, 2300 MHz, 2600 MHz) สูงถึง 172.5 MHz
สำหรับการประมูล 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะแบ่งการประมูลคลื่นความถี่ดังต่อไปนี้
ชุดคลื่น 700 MHz: 20 MHz (10 MHz + 10 MHz)
ชุดคลื่น 2.3 GHz: 100 MHz (50 MHz + 50 MHz)
ชุดคลื่น 3.3 GHz: 100 MHz (50 MHz + 50 MHz)
ชุดคลื่น 3.5 GHz: 200 MHz (100 MHz + 100 MHz)
ชุดคลื่น 26 GHz (คลื่นมิลลิเมตร): 3,250 MHz (1,625 MHz + 1,625 MHz)
ซึ่งจะทำให้คลื่นมีมากเพียงพอต่อการให้บริการโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ พื้นที่ในภาคเหนือภาค, ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก-กลาง ซึ่งเอกสารการประมูลใช้เอกสารเดียวกับปี 2550 ซึ่งเป็นการประมูล 3G ผ่านการตรวจสอบจาก สำนักงานอัยการสูงสุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง