2 ก.ค. 2562 2,108 16

National Student e-Wallet แห่งอนาคต กับไลฟ์สไตล์วันนี้

National Student e-Wallet แห่งอนาคต กับไลฟ์สไตล์วันนี้

เรื่องราวของ “สังคมไร้เงินสดในโรงเรียน” ในประเทศไทยนั้นเริ่มปูพื้นฐานมาพร้อม ๆ กับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยนำยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประการ มาปรับใช้และพัฒนา ได้แก่ National Digital ID และ National e-Payment ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการ integrate เทคโนโลยีเข้าไปในบัตรประจำตัวนักเรียน/นักศึกษา (Student Smart ID Card) เชื่อมโยงฐานข้อมูลส่วนบุคคล หรือเชื่อมระบบเติม/จ่ายเงิน เข้าไปในบัตรสำหรับใช้แตะจ่ายเงินซื้ออาหาร-เครื่องดื่มที่โรงอาหาร ใช้ซื้อสินค้าในสหกรณ์ หรือใช้หยิบยืมหนังสือในห้องสมุด ก็สามารถทำได้ด้วยบัตรเพียงใบเดียว เป็น ecosystem หนึ่งของ cashless society ในรั้วสถาบันการศึกษาที่หลาย ๆ แห่งกำลังพัฒนาและนำมาปรับใช้กันแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งเหมือนและต่างกับแนวทางของต่างประเทศที่เน้นพัฒนาสร้างเป็น e-Wallet เฉพาะให้กับนักเรียน/นักศึกษา อย่าง K12 Student Wallet โดยมอบสิทธิ์การดูแลแก่ผู้ปกครองของเด็ก ๆ ให้ได้มีส่วนพิจารณาและจัดการค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนได้แบบเรียลไทม์

นอกจาก e-Wallet จะช่วยเพิ่มความสะดวกในเรื่องการใช้จ่ายโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสดแล้ว วันนี้มันยังสามารถใช้ดูแล “ความสุข” กับคนในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือแม้กระทั่งคนที่เราไม่รู้จักแต่ต้องการความช่วยเหลือด้วยการบริจาค ให้เราสามารถเทคแคร์เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ได้ และยังเป็นการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี มาช่วยปลูกฝังวินัยการใช้เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ดียิ่งขึ้น ไม่สปอยล์เรื่องการใช้จ่ายในวัยเรียนที่ไม่มีความเหมาะสมและเกินความจำเป็น

ผลสำรวจจาก VISA คาดว่าในอนาคตคนไทยจะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ เร็วสุดภายใน 3 ปี ขณะที่ผู้บริโภคที่นิยมใช้เงินสดในการทำธุรกรรมทางการเงินมีเพียง 43% โดยมี 42% พกเงินสดน้อยลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่น่าสนใจคือ กว่า 60% ของคนที่พยายามใช้เงินผ่านช่องทางดิจิทัลสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้หนึ่งวันโดยไม่ต้องใช้เงินสด และมีจำนวนถึง 45% ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดเลยได้นานกว่า 3 วัน นั่นสะท้อนให้เห็นเทรนด์การใช้จ่ายเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่วันนี้เพียงแตะ สแกน จ่ายเงิน สิ่งนี้ไม่ใช่แค่การ transform อุตสาหกรรม แต่ยังเป็นการ transform พฤติกรรมการใช้จ่ายตั้งแต่วัยเรียนอีกด้วย

นอกจากนี้ ทรูมันนี่ยังมีข้อมูลและสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้ใช้ e-Wallet ที่เป็นกลุ่มนักศึกษา ในช่วงครึ่งปีแรก 2562 (มกราคม - กรกฎาคม 2562) กลุ่มนักศึกษาสามารถสร้างมูลค่าธุรกรรมต่าง ๆ บน TrueMoney Wallet ไปแล้วกว่าหลายร้อยล้านบาท ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่โดดเด่นควบคู่กับการเติบโตของเทคโนโลยีที่จะช่วยผลักดันอีโคซิสเต็มของ e-Wallet ในประเทศไทยให้เติบโตต่อเนื่อง จนอาจนำไปสู่การสร้างแพลตฟอร์ม National Student e-Wallet ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตก็เป็นได้

 

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 257 คน จาก 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า

แน่นอนว่ากลุ่มคนวัยเรียนถือเป็นกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์โดดเด่น นำเทรนด์ และกำลังถูกจับตามองจากแบรนด์ต่าง ๆ ในอนาคต หากภาครัฐ ภาคเอกชน ในระบบการศึกษาสามารถทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ เราอาจจะมีแพลตฟอร์ม e-Wallet ที่เข้าใจทุกโจทย์การใช้จ่ายในด้านการศึกษาทุกระดับก็เป็นได้ มีความเป็น Inclusivity ไปสู่การเป็น National Student e-Wallet แก่เด็กและเยาวชนไทย ใช้ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนสำเร็จการศึกษา โดยผูกและเชื่อมโยงทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาไว้ ตั้งแต่กองทุน เงินทุนกู้ยืม ค่าเล่าเรียน และจิปาถะอื่น ๆ เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างพฤติกรรมการจับจ่ายที่ล้ำสมัยและมีความปลอดภัยไปอีกขั้น ไม่ต้องแยกกันพัฒนาและผลักดันเหมือนวันนี้ แต่เป็นการร่วมมือกันพัฒนาในทุกภาคส่วน เพราะสิ่งเหล่านี้อาจนำกลับมาซึ่งประโยชน์แก่ทุกคนในอนาคต

คาดการณ์ประโยชน์ของ National Student e-Wallet แห่งอนาคต

COMMENTS