10 ก.ค. 2562 3,630 226

Google เปิดตัวอินเทอร์เน็ตผ่าน Balloon ในพื้นที่ห่างไกลของ Kenya

Google เปิดตัวอินเทอร์เน็ตผ่าน Balloon ในพื้นที่ห่างไกลของ Kenya

ภาพจาก Reuters บอลลูน ในโครงการ Loon เป็นอุปกรณ์ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ บินข้ามภูมิประเทศที่กันดารในนิวซีแลนด์ [ภาพนี้ ถ่ายเมื่อเดือนที่แล้ว]

ในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ เสาส่งสัญญาณมือถือถูกตัดขาด บอลลูนจึงเข้ามาช่วยให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ให้กับโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ต่อเนื่อง ให้บริการโดยบริษัท Alphabet บริษัทแม่ของ Google

มีคำถามว่า Loon สามารถให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่  โดยบริษัทมีคำตอบอยู่ว่า ได้ร่วมมือกับ Telkom Kenya ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของแอฟริกา ให้บริการพื้นที่พักอาศัยของประชาชนซึ่งเป็นภูเขาของเคนย่า เพื่อให้มีโอกาสในการใช้งาน 4G ในราคาท้องตลาดทั่วไป

เมื่อเร็วๆนี้ เราได้รับอนุมัติให้บินข้ามประเทศเคนย่า และวางแผนที่จะส่งบอลลูนเพื่อทดสอบเครือข่ายร่วมกับ Telkom โดยโฆษก Scott Coriell บอกว่า ตั้งเป้าในการให้บริการเชิงพาณิชย์ในเคนย่าภายในสิ้นปีนี้

Loon ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2013 เพื่อสร้างบอลลูนที่ให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ในพื้นที่ห่างไกล ในประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ก็เป็นเรื่องยาก เพราะว่าจะต้องมีเซลล์ส่งสัญญาณบนบอลลูน หรือเรียกง่ายๆ คือเอาเสามือถือไปไว้บนบอลลูน ต้องออกแบบให้น้ำหนักเบา แต่แข็งแรง ทนทาน บนความสูง 12 ไมค์จากพื้นโลก แต่อุปสรรคคือแรงลมและพื้นที่หรือภาวะไม่มีแสงแดด

ข้อมูลจากรอยเตอร์บอกว่า บอลลูนอาจเข้าใกล้เมืองมากเกินไป ซึ่งอาจรบกวนการสื่อสารอื่นๆ ได้ รวมไปถึงค่าบำรุงรักษา เพราะจะต้องเปลี่ยนทุกๆ 5 เดือนเมื่อบอลลูนเสื่อมสภาพ โดยมีราคาหลายหมื่นดอลล่าร์ แต่แม้ว่าจะมีข้อจำกัด พนักงานบริษัทกว่า 200 คน ใช้เวลาหลายปีในการมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อเทคโนโลยีสำหรับพื้นที่ห่างไกลในเปรู

บอลลูนถูกนำมาใช้ในหลายเหตุการณ์ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 8.0 ริกเตอร์ โดย Loon ส่งบอลลูนไปยังพื้นที่ ซึ่งได้รับผลกระทบ โดย Alastair Westgarth CEO ของบริษัท ได้แถลงว่า ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุ โดยร่วมมือกับ Telefónica ในการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และครั้งต่อๆ มาก็เข้ามาช่วยในหลายๆ ภัยพิบัติ เช่น ปี 2017 ช่วยอุทกภัยในภาคเหนือของเปรู และพายุเฮอร์ริเคน มาเรียให้กับชาวเปอร์โตริกัน

สิ่งที่แตกต่างกันคือเรื่องความเร็วในการให้บริการ ตอบสนองความหายนะจากภัยพิบัติได้รวดเร็ว ในเปอร์โตริโก ต้องใช้เวลาถึง 4 สัปดาห์ กว่าบอลลูนจะให้บริการได้ แต่ในตัวอย่างนี้เราใช้เวลาเพียง 48 ชั่วโมง เพราะเราติดตั้งเครือข่ายให้กับ Loon เตรียมไว้แล้ว

ถึงแม้จะมีการลงทุนเยอะ อย่างเช่นที่เปอร์โตริโก และเปรู โดยไม่ได้รับการสนับสนุนหรือชดเชยจากรัฐบาลและ Telefónica เลย แต่ต่อจากนี้ไป เราพยายามทำเพื่อสิทธิการใช้อินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานของประชาชน แม้จะไม่มีภัยพิบัติก็ตาม โดยพยายามจะประสานงานร่วมกับ Telefónica ต่อไป สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ซึ่งยังมีข้อจำกัดด้านกฎหมายในแต่ละประเทศอยู่ แต่ล่าสุด เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเคนย่า 

washingtonpost techcrunch reuters learningenglish.voanews.com

COMMENTS