19 ก.ค. 2562 1,890 89

AIS จับมือ ม.สงขลานครินทร์ เดินหน้าทดลอง ทดสอบ 5G ครั้งแรกในภาคใต้ เริ่มด้วยแนวคิด “Smart City, Smart Living” ทดลองโมเดลสมาร์ทซิตี้ ครั้งแรกในไทย

AIS จับมือ ม.สงขลานครินทร์ เดินหน้าทดลอง ทดสอบ 5G ครั้งแรกในภาคใต้  เริ่มด้วยแนวคิด “Smart City, Smart Living” ทดลองโมเดลสมาร์ทซิตี้ ครั้งแรกในไทย

เอไอเอส โดย มหัณณพ อภินันทนพงศ์ หัวหน้าส่วนงานปฎิบัติการภูมิภาค-ภาคใต้ และสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.) โดย ผศ.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมทีมนักพัฒนา นำโดย ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยงสขลานครินทร์ จับมือทดลอง ทดสอบเทคโนโลยี 5G ครั้งแรกในภาคใต้ ด้วยแนวคิด “Smart City, Smart Living” สร้างโมเดลสมาร์ทซิตี้ครั้งแรกในไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของภาคใต้ในการพัฒนานวัตกรรม และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่กำลังจะมาในอนาคต อาทิ 5G, IoT และโซลูชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษา นักพัฒนา และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G  ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบเทคโนโลยีแห่งอนาคต


โดยการลงพื้นที่ภาคใต้ครั้งนี้ เอไอเอสและมอ.ได้นำ 5G Use Case และ IoT Device มาทดลอง ทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง บนคลื่นความถี่ 28 GHz เพื่อทดสอบศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ใน 3 คุณสมบัติหลัก คือ ความเร็วที่เหนือระดับไปอีกขั้น, เครือข่ายที่ตอบสนองรวดเร็วและเสถียร (Latency) รวมถึงศักยภาพในการขยายการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ หรือ IoT ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างโมเดลเมืองอัจฉริยะ รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายและมีความปลอดภัย โดยมี Use Case เริ่มต้น ประกอบด้วย

1. นวัตกรรม Mobile Surveillance: นวัตกรรมเพื่อการตรวจตราและรักษาความปลอดภัยจาก Video Analytics และ AI ได้แบบเรียลไทม์ ด้วยการนำข้อมูลวิดีโอจากกล้องวงจรปิดบนยานพาหนะส่งต่อผ่านเครือข่าย 5G ที่จะสามารถวิเคราะห์ภาพจำแนกวัตถุรอบคันรถ, วิเคราะห์ความพร้อมของผู้ขับขี่ และการแจ้งเตือนความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ



2. นวัตกรรม Object Detection: นวัตกรรมจับวัตถุที่เคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำ ผ่าน 5G อาทิ ตรวจจับรถยนต์หรือบุคคลต้องสงสัย โดยข้อมูลจะแสดงผลเรียลไทม์ที่ War Room ของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ตำรวจแจ้งลักษณะบุคคลและรถต้องสงสัยเข้ามา ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยก็จะสามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของรถหรือคนร้ายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น


3. นวัตกรรม EV Autonomous: นวัตกรรมการสื่อสารระหว่างรถ EV ต่อรถ EV ผ่านเครือข่าย 5G ครั้งแรกของไทย (Vehicle to Vehicle communication system) ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง มีความหน่วงต่ำ และระบบมีความเสถียรมาก ทำให้รถยนต์สามารถสื่อสารข้อมูลการขับขี่ ข้อมูลความปลอดภัย และข้อมูลการจราจรไปมาระหว่างกันเองได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้คนขับ ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงป้องกันการจราจรติดขัดในเส้นทาง

จากการทดลอง ทดสอบครั้งนี้ จะทำให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหรรม และผู้เกี่ยวข้องใน 5G  Ecosystem เห็นภาพของประโยชน์ของ 5G ในหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาได้มีโอกาสพัฒนา Innovation Idea อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

COMMENTS