25 ก.ค. 2562 2,230 206

ต่างชาติชี้ ไทย และกลุ่ม APAC ต้องลงทุนโครงข่าย LTE - MCPTT ผ่าน L-band เหตุให้พื้นที่ไร้สัญญาณ 4G และ push-to-talk

ต่างชาติชี้ ไทย และกลุ่ม APAC ต้องลงทุนโครงข่าย LTE - MCPTT ผ่าน L-band เหตุให้พื้นที่ไร้สัญญาณ 4G และ push-to-talk

ที่ผ่านมาทั่วโลกเริ่มรวมเทคโนโลยี 4G LTE - MCPTT กับโซลูชันดาวเทียม L-band และเกตเวย์ push-to-talk รวมไว้ในโครงข่ายเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นโครงข่ายใหม่ เพื่ออุดช่องโหว่ในการให้บริการในพื้นที่ห่างไกลและทำให้การสื่อสารทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ถือว่าเป็นหนึ่งในสาธารณูปโภคตลอดจนเทคโนโลยีการขนส่ง

ที่ผ่านมาในการให้บริการทางโทรคมนาคมทางวิทยุในกลุ่มประเทศ APEC ยังเกิดเหตุการจุดขาว (white spots) ซึ่งเป็นจุดไม่มีสัญญาวิทยุใดๆ เข้าถึงหรือรับได้เพียงน้อยนิด ทำให้เกิดข้อจำกัดการสื่อสาร สิ่งเหล่านี้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านกฏหมาย, การเข้าถึงการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หากชีวิตอยู่ในความอันตราย รวมถึงการจัดหาทรัพยากรน้ำสะอาด เป็นต้น

ยิ่งในพื้นที่ห่างไกลอย่าง ประเทศไทย, เวียดนามและอินโดนีเซีย บางพื้นที่การสื่อสารยังเข้าไม่ถึงทำให้ประชาชนและผู้ให้บริการเกิดความชะงักงันทางด้านการสื่อสารระหว่างกัน

ดังนั้น การสื่อสารที่เปลี่ยนคลื่นความถี่วิทยุ LMR หรือ DMR แบบดั้งเดิมไปเป็นเทคโนโลยีวิวัฒนาการระยะยาว (LTE) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมามีประเทศสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลียและเกาหลีใต้ ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย

สหรัฐฯได้เปิดตัวระบบ FirstNet ได้ออกแบบสร้างโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองชีวิตและชุมชนของรัฐในระบบ LTE ให้สามารถใช้งาน push-to-talk (MCPTT) ซึ่งเป็นการนำความจุ 4G LTE มาให้บริการเพิ่มเติม โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล การลงทุนระบบ MCPTT มีความสำคัญอย่างยิ่ง (ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดจาก adslthailand : โครงข่ายไม่ล่ม... สหรัฐ แจก Black SIM ซิมกู้ภัย 4G บนคลื่น 700 MHz ด้วยงบ 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ http://www.adslthailand.com/post/5585 )

พื้นที่ดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาด้วยการนำเทคโนโลยี L-band satellite มาช่วยให้บริการระบบ LTE MCPTT โดยที่ดาวเทียม L-band ให้การเชื่อมต่อที่ต่อเนื่องและต่อเนื่องโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้การขยายระบบวิทยุที่ใช้ VHF / UHF ด้วยโซลูชั่น push-to-talk (PTT) หรือ 2G / 3G / LTE สามารถทำให้ผู้ให้บริการดาวเทียมรวมสัญญาณวิทยุในการให้บริการได้

แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ภูมิภาคกลุ่ม APAC ซึ่งยังมีจุดขาว (white spots) พื้นที่ไร้สัญญาณวิทยุควรลงทุนเรื่องการสื่อสารดังกล่าวและกระโดดสู่ระบบ LTE MCPTT

สำหรับเขตพื้นที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วยทั้งประเทศออสเตรเลีย , ประเทศบรูไน, ประเทศแคนาดา, ประเทศชิลี ชิลี, ประเทศจีน, เขตปกครองพิเศษฮ่องกง , ประเทศอินโดนีเซีย , ประเทศญี่ปุ่น , ประเทศเกาหลีใต้ , ประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย, ประเทศเม็กซิโก, ประเทศนิวซีแลนด์ , ประเทศปาปัวนิวกินี , ประเทศเปรู , ประเทศฟิลิปปินส์ , ประเทศรัสเซีย, ประเทศสิงคโปร์, เขตปกครองพิเศษไต้หวัน, ประเทศไทย, ประเทศสหรัฐ และประเทศเวียดนาม

ข้อมูล
criticalcommunicationsreview
http://www.adslthailand.com/post/5585

COMMENTS