โดยมูลค่าการตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 17 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 5 ปีข้างหน้าเนื่องจากเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้น มีความต้องการระบบ backhaul เนื่องจากผู้ใช้งานต้องการความต่อเนื่องของคุณภาพสัญญาณ
โดยระบบไมโครเวฟสำหรับ backhaul ส่วนใหญ่ใช้คลื่นความถี่ 4-5 GHz ถึง 80 GHz แต่สำหรับการช่วยรับส่งสัญญาณไมโครเวฟผ่านยุค 5G จะต้องทำงานในรูปแบบ E-band ซึ่งเป็นช่วงความถี่ระหว่าง 70 GHz และ 80 GHz ซึ่งการรับส่งด้วย E-band จะมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 36%
เช่น ผู้ขายส่งอุปกรณ์อย่าง NOKIA ได้ดึงเทคโนโลยีระบบไมโครเวฟ E-band สามารถทำความเร็วได้ระดับ 10-20 Gbps ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งาน 5G ส่วนใหญ่ โดยที่การทำ backhaul ยังคงใช้ Fiber Optical เป็นโครงสร้างหลัก
สำหรับประเทศที่มีความต่อการใช้งาน ระบบไมโครเวฟสำหรับ backhaul มาก เช่น ประเทศอินเดีย มีอัตราใช้ 70-80% ในขณะที่ในยุโรปมีแนวโน้มว่าไมโครเวฟจะแยกจากกันเล็กน้อยเนื่องจากภูมิภาคนี้รัฐบาลผลัดดันใช้ Fiber Optical เป็นโครงสร้างหลัก
Fiber Optical ในหลากเหตุการณ์พิสูจน์เป็นเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการความจุขนาดใหญ่จริง แต่ต้องลงทุนสูงและต้องใช้เวลาในการลากสาย แต่สำหรับเทคโนโลยีระบบไมโครเวฟจะมีประโยชน์เมื่อสภาพภูมิศาสตร์ไม่เอื้ออำนวยต่อการวางโครงข่ายไฟเบอร์หรืออาจใช้เป็นเทคโนโลยีชั่วคราว สามารถฟื้นระบบ 5G ได้เร็วที่สุดจากภัยธรรมชาติและความหน่วงแฝงที่ต่ำลง ซึ่งต้องวางระบบให้ดีในพื้นที่มีความชื้นของอากาศ และฝุ่นละอองมากเกินไป
สำหรับอนาคตของการวางโครงข่ายคลื่นไมโครเวฟกำลังนำเทคโนโลยี D-band ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่สูงกว่ามากระหว่าง 141 GHz และ 175 GHz มาให้บริการต่อไป
ข้อมูล ecfsapi.fcc.gov fiercewireless ecfsapi.fcc.gov ft