โดยที่ Fiber เส้นหลักของ TIM สามารถรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ระหว่าง 400 Gbps ในระยะทาง 900 กิโลเมตร ระหว่างโรมถึงมิลาน และ ความจุของโครงข่ายสามารถรับส่งข้อมูลระหว่าง 550 Gbps เชื่อมต่อระหว่างโรมและฟลอเรนซ์
ความสำเร็จนี้เป็นความสำเร็จของการรวมแพลตฟอร์ม TERAFLEX ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของ ADVA ซึ่งสามารถปรับความถี่ความยาวภายใน Fiber ได้ ซึ่งแตกต่างจากระบบ Fiber เดิมความเร็วรับส่งอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ทำให้ประหยัดพลังงานมากกว่า 60%
โดยเป้าหมายของการสร้างโครงสร้างใหม่นี้ ต้องการสร้างระยะทางมากกว่า 2,500 กิโลเมตร ให้มีความจุ 300 Gbps โดยบางจุดจะทำการเพิ่มความเร็ว 600 Gbps ระยะทาง 100 กิโลเมตร
Michele Gamberini ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมเครือข่ายและบริการของ TIM กล่าวว่า เทคโนโลยีของ TIM ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการพัฒนาโซลูชั่น โดยผลสำเร็จล่าสุด 600 Gbps โดยเฉพาะโครงข่ายรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่สำคัญการวางโครงข่ายดังกล่าวสามารถพัฒนาระบบ 5G ได้ในอนาคต
TeraFlex เป็นโซลูชั่นที่สามารถช่วยเพิ่มความสามารถของโครงข่ายในราคาที่คุ้มค่ามากกว่าเดิม ที่สำคัญการรับส่งข้อมูลแบนด์วิดท์เพิ่มระบบ 600 Gbps ไม่ส่งผลกระทบต่อความซับซ้อนของโครงข่าย
ข้อมูล tomshw tech.everyeye vaaju