ผลสำรวจจาก J.D. Power พบว่า ผู้บริโภคมี "ความเชื่อถือในระดับต่ำ" ต่อรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และมี "ความเชื่อถือในระดับกลาง" ต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสาเหตุหลักคือหวั่นเกิดอุบัติเหตุสูง โดยมีค่าความเสี่ยงต่อความล้มเหลวหรือความผิดพลาด high fear of failure (71%) และเป็นกังวลเรื่องความผิดพลาดในการตัดสินใจ (57%) ในขณะยานพาหนะอยู่บนถนน
ผู้บริโภค ตื่นเต้นกับนวัตกรรม แต่ก็หวั่นเกรงต่ออุบัติเหตุจากข่าวต่างๆ จากความผิดพลาดด้านเทคนิค ซึ่งนำมาสู่อุบัติเหตุ จนก่อให้เกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น Uber ชนนักปั่นจักรยานเสียชีวิต หรือแม้แต่เรื่องความปลอดภัยจากการถูกแฮก เคยมีรายงานว่ารถยนต์อัจฉริยะจาก Jeep และ Land Rover ถูกจับตาโดยนักวิจัยแฮกเกอร์หมวกขาว
และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีรายงานที่น่าสนใจเรื่องการโจมตีทางไซเบอร์ (cyberattack) ที่อาจมีผลต่อรถยนต์อัจฉริยะซึ่งสามารถเข้าควบคุมรถยนต์ได้ และทาง Ford ก็ได้รับทราบความพยายามในการแฮกแล้ว
ประชาชนทั่วไปทราบดีว่า รถยนต์ไร้คนขับมีการพัฒนาไปไกลกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญได้คาดหวังไว้ ซึ่งถ้าเอาตามตรง ผู้บริโภครับรู้ข่าวสารการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับมานานแล้ว และเห็นการทดสอบและข่าวคราวต่างๆ บนถนน มาร่วมๆ 5–6 ปีแล้ว ส่วนรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ผู้บริโภคห่วงเรื่องข้อจำกัดของระยะเวลาแบตเตอรี่ ซึ่งขับไปได้ไม่ไกลนัก และเป็นกังวลเรื่องสถานีชาร์จไฟ โดย 74 เปอร์เซนต์ของผู้บริโภคระบุว่า ไม่เต็มใจที่จะรอชาร์จไฟมากกว่า 30 นาที เพื่อชาร์จพลังงานให้รถวิ่งได้ 200 ไมล์
ผู้บริโภคยังกังวลเรื่องความครอบคลุมของสถานีชาร์จไฟรถยนต์ให้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และเรื่องต้นทุน ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยมากกว่าครึ่ง (61%) ในผลสำรวจมองว่า รถยนต์แบบนี้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าใช้น้ำมัน ถ้าวัดระดับความเชื่อมั่น 100 คะแนน รวมทั้งหมด มั่นใจใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเกินครึ่งคือ 55 คะแนน ในขณะที่ความมั่นใจที่มีต่อรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมีเพียง 36 คะแนนเท่านั้น (ความน่าเชื่อถือระดับต่ำ)
เห็นได้ชัดว่า อุตสาหกรรมต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ไร้คนขับ งานนี้หินมาก เพราะข่าวคราวอุบัติเหตุต่างๆ มีเข้ามาบ่อยครั้ง จนรับรู้กันทั่ว