สื่อท้องถิ่น soyacincau รายงานว่า พนักงานของ Axiata ต้องการความเท่าเทียมกันเหมือน Telenor หลังจากที่มีการควบรวมกิจการ ซึ่งก่อนหน้านั้นทางกลุ่ม Telenor จะเขามาถือครองหุ้นในสัดส่วน 56.5% และ Axiata สัดส่วน 43.5% แต่การต่อรองครั้งนี้ยังคงไม่สิ้นสุด
ซึ่งมากกว่านั้นทาง Telenor ได้เสนอให้มีการตั้งสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับแนวคิดของ Axiata ที่ต้องการให้ตั้งสำนักงานใหม่ที่ประเทศมาเลเชีย ส่วนสาเหตุของ Telenor ที่ต้องการตั้งสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากการเมืองมีความนิ่งและมีเสถียรภาพมากกว่ากว่าประเทศมาเลเซีย
นอกจากนี้ รายงานข่าวหลายฉบับ ได้ระบุมีข่าวลือ เช่น Theedgemarkets และ Soyacincau กล่าวว่า พนักงานของ Axiata จะถูกปลอดออก หรือ พนักงานของ Celcom Bhd ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ Axiata ถือหุ้น พนักงานงานบางส่วนจะถูกปรับออกแล้วไปรวมกับ Digi ที่ Telenor บริหารงาน
Jamaludin Ibrahim ผู้บริหาร Axiata Group Bhd กล่าวว่า การควบรวมกิจการมีความคืบหน้าไปแล้ว 70% ซึ่งพยายามทำให้เสร็จทันตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งตั้งใช้ระยะเวลา 3-6 เดือน นับตั้งแต่ช่วงพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยขณะนี้ผ่านไปแล้วในเดือนที่ 4
ซึ่งมีหลายเรื่องอย่างมากที่เข้ามากระทบต่อการควบรวม เนื่องจาก Axiata-Telenor รวมกันมีจำนวนองค์กรทั้งหมด 14 บริษัท ใน 9 ประเทศ ซึ่งทำให้ทุกบริษัทมีความซับซ้อนในการควบรวม ได้แก่ ประเทศไทย บังคลาเทศ ปากีสถาน และเมียนมา ส่วน “Axiata” ทำธุรกิจอยู่ในกัมพูชา เนปาล ศรีลังกา และอินโดนีเซีย
การควบรวมกิจการในย่านเอเชียใต้นี้ยังถือว่ามีขนาดใหญ่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี ซึ่งในขณะนี้ มีความคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 70
โดยหากควบรวมกิจการแล้วจะทำให้ทาง Axiata มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 50 พันล้านริงกิต จาก 45.83 พันล้านริงกิต และกำไรสุทธิ 4 พันล้านริงกิตสำหรับการควบรวมกิจการ
ส่วนปัญหาความไม่พอใจของพนักงานและข้อตกลงสำหรับผลประโยชน์ของชาติ มีความคืบหน้าไปแล้ว 90% ซึ่งได้ตกลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว "โดยทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง" รวมถึงโครงสร้างการถือหุ้น
Sigve Brekke ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Telenor Group ชี้แจงว่า การดำเนินการครั้งนี้จะทำให้เป็น 1 ในในผู้เล่นโทรคมนาคมชั้นนำของเอเชียทำให้มีลูกค้าโดยรวมสูงถึง 300 ล้านหมายเลข
ข้อมูล
soyacincau theedgemarkets nst theedgemarkets reuters theborneopost