30 ส.ค. 2562 1,876 15

เอไอเอสและไมเนอร์ ร่วมมือกับ ไอบีเอ็ม สร้างบุคลากรรองรับ ‘ตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา’ ผ่านโมเดลการศึกษา P-TECH

เอไอเอสและไมเนอร์ ร่วมมือกับ ไอบีเอ็ม สร้างบุคลากรรองรับ ‘ตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา’ ผ่านโมเดลการศึกษา P-TECH



(บรรยายภาพ) ผู้บริหารไอบีเอ็ม ปฐมา จันทรักษ์ (ซ้ายสุด) รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด และ แฮเรียต กรีน ประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหาร ไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิก (ที่สี่จากซ้าย) ร่วมถ่ายภาพกับพันธมิตรภาคธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐ ในการประกาศชื่อพันธมิตรภาคธุรกิจกลุ่มแรกคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือไมเนอร์ เข้าร่วมโครงการโมเดลโรงเรียน P-TECH (Pathways in Technology Early College High School) ของไอบีเอ็ม ในงาน IBM Think Thailand 2019 โครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้นักเรียน-นักศึกษาได้สัมผัสกับ ‘ตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา’ (new collar) ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการบริการ โดยงานนี้จัดขี้น ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

AIS และ Minor นำร่องเป็นตัวแทนภาคเอกชนไทย ปลุกปั้นแรงงานสายดิจิทัล ผสานความรู้ทางวิชาการและประสบกาณณ์จริงในภาคธุรกิจ ผ่านโมเดลการศึกษา P-TECH โดย IBM และกระทรวงศึกษาธิการ


AIS โดย สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวถึง การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรภาคธุรกิจกลุ่มแรกในโครงการโมเดลโรงเรียน P-TECH (Pathways in Technology Early College High School) ของ IBM ที่พัฒนาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในพันธมิตรภายใต้โครงการ P-TECH เพื่อร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาด้านการศึกษาไทย ที่มุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรมืออาชีพในสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในยุคที่ทุกอุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของ Digital Disruption”

“สำหรับ AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล - Digital Life Service Provider เรามองเห็นทั้งความท้าทายและโอกาสอย่างมหาศาล จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคดิจิทัลในตลอดช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา จึงเตรียมความพร้อม ทั้งในแง่ของการปรับโครงสร้างองค์กรและบรรยากาศในการทำงานอย่างเหมาะสม สำคัญที่สุดคือ พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรผ่านหลากหลายรูปแบบ สร้างวัฒนธรรมในการตื่นรู้ รวมถึง สร้างทีมทำงานที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Innovation และ Big Data เพื่อร่วมทำงานตอบโจทย์ในส่วนงานธุรกิจดิจิทัลได้อย่างแข็งแกร่ง เราจึงมองเห็นความต้องการบุคลากรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสายงานด้านไอทีและวิศวกร อาทิ  AI, Fintech, Digital Payment , IoT, Cloud, Big Data, Blockchain, AR-VR, Cyber Security เป็นต้น”


ทั้งนี้ IBM และกระทรวงศึกษาธิการ จะผนึกกำลังร่วมกับองค์กรภาคธุรกิจอย่าง AIS, Minor ในการพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการทำงานที่จำเป็นสำหรับอาชีพในยุคนี้ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และสเต็ม (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) เปิดโอกาสให้นักเรียน-นักศึกษาได้สัมผัสกับ ‘ตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา’ (new collar) ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการบริการในยุคดิจิทัล พร้อมสนับสนุนพันธกิจของรัฐบาลในการสร้างการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และการพัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญที่ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ

“ในฐานะภาคเอกชนที่ต้องการกลุ่มบุคลากรในสายงานดังกล่าว AIS ตั้งใจที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการระดมองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนภาคการศึกษาของประเทศสร้างบุคลากรสายพันธุ์ Digital มาเสริมนโยบายการขับเคลื่อนประเทศผ่านการจ้างงานจากบริษัทในเครือข่าย P-TECH ให้เด็กไทยได้เรียนรู้ พัฒนาตนเอง พร้อมเป็นหนึ่งในตัวเลือกของตลาดแรงงานที่ศักยภาพสูงในอนาคตต่อไป” สมชัย กล่าวสรุป
 
ไอบีเอ็มประกาศว่าบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือไมเนอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทในอุตสาหกรรมบริการ ร้านอาหาร และไลฟ์สไตล์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ได้กลายเป็นพันธมิตรภาคธุรกิจกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการโมเดลโรงเรียน P-TECH (Pathways in Technology Early College High School) ของไอบีเอ็ม โดยไอบีเอ็ม เอไอเอส ไมเนอร์ และกระทรวงศึกษาธิการจะร่วมมือกันเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และสเต็ม (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) พร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านวิชาการ และเปิดโอกาสให้นักเรียน-นักศึกษาได้สัมผัสกับ ‘ตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา’ (new collar) ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการบริการ

กระทรวงศึกษาธิการและไอบีเอ็มได้เปิดตัวโครงการ P-TECH ในประเทศไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนพันธกิจของรัฐบาลในการสร้างการเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง และการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญที่ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ ไอบีเอ็มเริ่มดำเนินโครงการ P-TECH มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เพื่อเปิดมิติใหม่ด้วยการปูทางจากระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและมหาวิทยาลัยสู่การทำงาน โดยเป็นโมเดลที่ผนึกความรู้ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาควิชาการและภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะของนักเรียน

โครงการ P-TECH ในประเทศไทยจะเริ่มจริงในปีการศึกษา 2563 ในรูปแบบโปรแกรมการเรียน 5 ปี และเน้นการศึกษาในสายอาชีวศึกษา โดยนักศึกษาที่จบหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรขั้นสูงตามสาขาที่เรียน นักเรียนที่ร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากไอบีเอ็มและพันธมิตรภาคธุรกิจที่เข้าร่วม ทั้งในแง่การแนะแนวจากผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและด้านธุรกิจจากอุตสาหกรรมต่างๆ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาเยี่ยมชมสถานที่ทำงานจริง และการรับนักศึกษาเข้าฝึกงานโดยได้รับค่าตอบแทน โดยเมื่อจบหลักสูตร นักเรียนกลุ่มนี้จะมีโอกาสในการได้รับการพิจารณาเข้าทำงานเป็นอันดับแรกๆ กับไอบีเอ็ม เอไอเอส ไมเนอร์ และพันธมิตรภาคธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ นักเรียนที่ร่วมโครงการยังจะได้เรียนหลักสูตรต่างๆ ที่ครอบคลุมถึงทักษะที่จะเป็นที่ต้องการในศตวรรษที่ 21 อาทิ วิทยาศาสตร์ข้อมูล อนาไลติกส์ ดีไซน์ธิงค์กิง อไจล์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น ภาวะผู้นำ เป็นต้น

“โมเดล P-TECH และการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ องค์กรธุรกิจอย่างเอไอเอสและไมเนอร์ในวันนี้ รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ จะช่วยสร้างความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีและการทำงานที่จำเป็นสำหรับอาชีพยุคใหม่ และ ‘ตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา’ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน โดยตำแหน่งงานเหล่านี้ต้องการบุคลากรที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แต่ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นปริญญาตรี” ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “ความร่วมมือกับเอไอเอสและไมเนอร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรภาคธุรกิจลำดับแรกของเรา จะเป็นปัจจัยที่ช่วยเตรียมทักษะที่จำเป็นให้แก่นักเรียน เพื่อให้พวกเขามีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จได้ในโลกธุรกิจจริง”

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในพันธมิตรภายใต้โครงการ P-TECH เอไอเอสมองเห็นความท้าทายด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในยุค Digital Disruption เรามองว่าโครงการ P-TECH ที่เราและพันธมิตรต่างๆ ร่วมมือกัน จะมีส่วนช่วยสร้างบุคลากรมืออาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการของประเทศและองค์กรธุรกิจทั้งในวันนี้และในอนาคต เรามองเห็นความต้องการบุคลากรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสายงานด้านไอทีและวิศวกร อาทิ  AI, fintech, digital payment , IoT, cloud, big data, blockchain, AR-VR, Cyber Security เป็นต้น โครงการ P-TECH ที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่าน case study และความรู้ในมุมอุตสาหกรรมจากโลกธุรกิจจริง จะเปิดโอกาสให้นักเรียนไทยได้รับความรู้ที่มีคุณค่าและกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงทักษะต่างๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสและเส้นทางสายอาชีพใหม่ๆ ให้พวกเขาต่อไป”

ปัทมาวลัย รัตนพล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไมเนอร์ได้ดำเนินโครงการเพื่อช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถที่จำเป็นสำหรับการทำงานกับกลุ่มเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โครงการ P-TECH เป็นอีกหนึ่งก้าวย่างของความพยายามของเราในการที่จะนำองค์ความรู้และทักษะใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เข้าเสริมศักยภาพให้แก่นักเรียน ทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมการบริการด้วย ดังนั้น การผนวกทักษะเหล่านี้เข้ากับหลักสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบันจะช่วยให้ไมเนอร์และพันธมิตร P-TECH มั่นใจได้ว่าคนรุ่นต่อไปจะมีความพร้อมในการเข้าสู่โลกการทำงาน และจะมีส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป”

ในประเทศไทย ความสนใจในอาชีพสายสเต็มลดลงเหลือประมาณร้อยละ 20[1] และมีนักศึกษาเพียงร้อยละ 32 ที่จบการศึกษาในสายสเต็ม[2] สวนทางกับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลโดยรวมที่คาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 25 ของจีดีพี ของไทยภายในปี พ.ศ. 2570[3]

ปัจจุบัน โมเดล P-TECH ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้ขยายไปแล้วในมากกว่า 19 ประเทศและคาดว่าจะมีการนำไปใช้ในโรงเรียนมากกว่า 200 แห่งทั่วโลกภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 โดยมีพันธมิตรจากบริษัทต่างๆ กว่า 650 บริษัทในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพ และการผลิตขั้นสูง และพร้อมเปิดรับสถาบันการศึกษาและองค์กรธุรกิจจากทุกภาคส่วนในประเทศไทยที่มีสนใจเข้าร่วมโครงการ P-TECH

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ P-TECH โปรดเข้าไปที่ www.ptech.org

COMMENTS