คำว่า VPN ในความหมายในที่นี้ คือการตั้งค่าเร้าเตอร์ ไม่ใช่การเปลี่ยนปลายทาง อย่างเช่น การเข้าอินเทอร์เน็ตจากจีน ที่เราคุ้นเคยกัน แต่เป็น VPN ที่ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Smart TV หรือการใช้ VPN เพื่อป้องกันไม่ให้ ISP จับตา และมอนิเตอร์ว่าเราใช้อุปกรณ์ IoT อะไรบ้างในบ้าน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาโดยทั่วไป มักจะทำการตั้งค่า เพื่อใช้ VPN ในขณะที่บางคนอาจมองว่า มันไม่คุ้มกับความยุ่งยากนี้ บางคนมองว่า การตั้งค่า VPN เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ดังเช่นผู้เชี่ยวชาญทำนั้น บางคนก็มองว่าไม่ควร
ทำไมถึงจะต้องใช้ VPN บน Router?
ประโยชน์ของ VPN จริงๆ แล้ว ไม่ใช่การเปลี่ยนทิศทางในการเข้าเว็บที่ถูกปิดกั้น แต่เป็นการปกป้องเครือข่ายด้วย VPN ที่ทำให้อุปกรณ์ของเราปลอดภัย ตั้งแต่ ตู้เย็นต่อเน็ตได้ ไปจนถึงโทรศัพท์มือถือ เพราะถูกตั้งค่าให้เชื่อมต่อหลัง VPN เปรีบเหมือนเบี่ยงเส้นทางไปอีกเส้น ทำให้คนร้ายที่ดักจับเราในเส้นทางหลัก ไม่พบเรา ซึ่งเราก็ปลอดภัย อันนี้มีประโยชน์ แต่พวกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ที่ไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ของตนเอง ก็อาจไม่ปลอดภัย และอาจจะตั้งค่า VPN ไม่ได้ หรือไม่ก็ไม่มีหน้าจอให้ตั้ง VPN แต่ข้อดีนั่นก็คือ การที่อุปกรณ์เชื่อมต่อบน VPN จะไม่สามารถถูกมอนิเตอร์ทราฟฟิกการใช้งานของเราได้
ปัจจุบันมีบริษัท VPN จำนวนมาก ซึ่งให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 5 อุปกรณ์บน VPN พร้อมกัน และบางคนอาจจะแบ่งขายสล็อตให้อุปกรณ์อื่นๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา เมื่อเร้าเตอร์ของคุณใช้ VPN หากเราใช้งาน VPN ทุกอย่างที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย จะมองเห็นเพียงแค่อุปกรณ์เดียว
บริการ VPN ต่างๆ แนะนำให้คุณตั้งค่าเร้าเตอร์เพื่อใช้ VPN ซึ่งไม่ได้ตั้งค่าง่ายเหมือนอย่างการติดตั้งแอปบนคอมพิวเตอร์ นี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่บริษัท VPN บางแห่ง มีเร้าเตอร์ที่ตั้งค่าไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ขายพร้อมใช้เลย
ยกตัวอย่าง ExpressVPN ที่แนะนำวิธีการตั้งค่า VPN บนเร้าเตอร์ สอนตั้งค่า VPN สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องเครือข่าย สามารถทำตามได้เลย
ในขณะที่ บางคนไม่ยอมใช้เร้าเตอร์ที่ตั้งค่า VPN เพราะเกรงว่า เมื่อตั้งค่าเร้าเตอร์แล้ว จะมีคนอื่นๆ ที่สามารเข้าถึง dashboard เดียวกันนี้ได้ เพื่อใช้จัดการตั้งค่าเร้าเตอร์อื่นๆ ซึ่งคนทั่วไปจะเข้าไปดู dashboard เร้าเตอร์ตัวเองแค่ครั้งเดียว แล้วไม่เข้าไปดูอีกเลย เพราะ VPN เป็นการใช้เส้นทางอีกเส้น แต่ในมุมนึงก็คือเส้นทางที่อาจจะเปลี่ยว และคนไม่รู้จัก เราก็อาจรู้สึกไม่ปลอดภัยเช่นกัน
บางบริการ ไม่ซัพพอร์ต VPN
บางอุปกรณ์ ไม่สามารถทำงานได้ร้อยเปอร์เซนต์ เมื่อเชื่อมต่อ VPN ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร, Microsoft Office 365, Netflix และบริการอื่นๆ ที่ทำงานบน VPN ไม่ได้ ซึ่งพอใช้ VPN แล้วมันจะเปลี่ยนเส้นทาง อย่าง Netflix เนี่ย อ้างอิงจากประเทศที่เราใช้งาน ถ้าใช้ VPN ระบบจะมองว่าเราอยู่ประเทศอื่น ซึ่งผิดข้อกำหนดของบริการสตริมมิ่ง Netflix และบริการอื่นๆ ก็มักจะบล็อค VPN ด้วยเช่นกัน
บางคนอาจเข้าใจไปในทางที่ว่า VPN ให้หลบการตรวจจับหรือเข้าเว็บต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ หากจับสังเกตได้ว่าคุณเชื่อมจาก New York แล้วอีกวันเชื่อมต่อจาก Vancouver อาจถูกผู้ให้บริการมองว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายน่าสงสัยและอาจล็อกการเข้าถึงบัญชีธนาคาร เพื่อความปลอดภัย
อีกเรื่อง ถ้าอุปกรณ์ไม่รองรับ VPN อย่างเช่น server ไม่รองรับ VPN แล้วตู้เย็นต่อเน็ต ทำให้ไม่ได้รับการอัพเดตซอฟต์แวร์ล่าสุด การตั้งค่า VPN บนเร้าเตอร์ อาจมีประโยชน์กับบางอุปกรณ์ แต่บางอุปกรณ์อาจพบปัญหา
ท้ายที่สุดแล้ว การที่บริการต่างๆ พบว่าคุณมีการใช้ VPN นั้นทำให้ location ในการใช้งานแปลกไป ทำให้ผู้บริการ พบพฤติกรรมต้องสงสัย (จาก location) สุดท้ายแล้วบางบริการอาจต้องปิด VPN ถึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
อีกทางเลือกที่น่าสนใจคือ เลือกใช้เร้าเตอร์นึงที่ตั้งค่า VPN ไว้ กับอีกตัวที่กำหนดค่าตามปกติ หากมีปัญหากับ VPN ก็แค่เปลี่ยนไปใช้เร้าเตอร์อีกตัว ถ้าบนมือถือก็แค่ปิดไวไฟ เปิดใหม่ ปิดแอป แล้วเปิดใหม่ แต่เราต้องเป็นเจ้าของเร้าเตอร์ และรู้ว่าชื่ออะไร ต่อไวไฟตัวไหนที่เป็น VPN และต้องต่อกับไวไฟตัวไหนที่กำหนดค่าปกติ