โดยในอดีตเทคโนโลยี 4G ทำหน้าที่ในการระบุตำแหน่งของรถยนต์และทิศทางการเดินทางผ่าน Google map ให้ถูกต้อง โดยขอบเขตของความเร็วทำได้เพียงเท่านั้น แต่ต่อไปเทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถเชื่อมต่อเพื่อให้ระบบเจรจาแลกเปลี่ยนเลยได้หรือการรับส่งสัญญาณกับไฟจราจรบนทางเท้าอีกด้วย ซึ่งส่งผลอย่างมากกับการประหยัดพลังงานและเชื้อเพลิง ทำให้รถยนต์สามารถตัดสินใจได้ด้วยต้นเองในการควบคุมรถยนต์ หรือชะลอตัวหากทางข้างหน้าต้องหลีกเลี่ยง เช่น รถติด,หรือเกิดอุบัติเหตุ
โดยผู้สนับสนุนเทคโนโลยี C-V2X ประกอบด้วยค่ายรถยนต์หลายค่าย Audi, BMW, Daimler, Ford Motor, GM, Honda, Hyundai, Nissan, Volkswagen และ Volvo โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี Intel, Samsung และ Qualcomm ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย Nokia และ Ericsson รวมถึงผู้ให้บริการอย่าง AT&T, T-Mobile, Verizon และ Vodafone
โดยความพร้อมทางด้านโครงข่าย Nokia ได้เปิดเผยว่า การเปิดตัวของ 3GPP รุ่น 15 ซึ่งเป็นมาตรฐาน 5G ที่คาดการณ์ว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2562 ทำให้รถยนต์มีความสามารถในการดาวน์โหลดวีดีโอและแผนที่สำหรับรถยนต์ได้ (ซึ่งเป็นมาตรฐานชั่วคราวเท่านั้น)
ตัวมาตรฐาน Release 16 ที่กำลังจะเปิดตัวในกลางปีหน้า พ.ศ.2563 จะประสานเทคโนโลยีให้ C-V2X มีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น หลายค่ายรถยนต์จะออกมาแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีอย่างรุนแรง เนื่องจากเทคโนโลยี 5G รุ่น Release 16 ทำให้เวลาแฝงของเครือข่าย (Network Latency) หรือการดีเลย์ของสัญญาณน้อยมาก ถึงระดับ 10 milliseconds (ซึ่งมาตรฐาน 4G มีการดีเลย์ของสัญญาณมากกว่านั้น)
เมื่อระบบการสื่อสารครบแล้ว หากคุณต้องการแซงรถบรรทุกก็สามารถส่งสัญญาณไปเซ็นเซอร์ไปยังรถบรรทุกเพื่อให้ชะลอตัวให้รวดเร็วมากที่สุด ซึ่งสามารถติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ได้ในราคาที่ไม่แพงเพียง 200 - 300 เหรียญดอลล่าสหรัฐเท่านั้น
นักวิเคราะห์ ChristianKim จาก IHS Markit เชื่อว่าเมนูที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการสตรีมวิดีโอ ,การอัปเดตเฟิร์มแวร์และข้อมูลอุบัติเหตุจราจร ซึ่งนี้เป็นข้อได้เปรียบที่ DSRC ไม่มี
ซึ่งผู้ให้บริการอย่าง Verizon หรือ AT&T จะเริ่มให้บริการฟรีเพื่อกระตุ้นตลาดการสื่อสารให้ทุกคนมาใช้งานเทคโนโลยี C-V2X แล้วทำการเชื่อมต่อระบบโดยตรงกับผู้ให้บริการ
โดยคลื่นความถี่ที่เป็นพระเอกสำหรับการสื่อสาร 5G ที่จะใช้ในระบบ C-V2X คือความถี่ 5.9 GHz ซึ่งมีความต้องการสเปกตรัมที่สูงกว่า DSRC (มาตรฐานก่อนหน้านี้) สูงถึง 4 เท่า ซึ่งตรงกับความต้องการในสหภาพยุโรป โดยประเทศจีนในบางเมืองและบางจุดเริ่มใช้งานเทคโนโลยี C-V2X นี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อกระทั่งโตโยต้าเองจากที่ลุย DSRC มานานยังต้องกลับมาวางแผนการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง C-V2X กับคลื่น 5.9 GHz โดยเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาส่งเสริม DSRC และ pWLAN โดยเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2564
ฟอร์ดเป็นหนึ่งใน บริษัท ที่ได้ข้อสรุปแล้ว ในปี 2565 ก็จะนำเทคโนโลยี C-V2X มาใช้งานเช่นเดียวกัน เนื่องจาก
ยิ่งเทคโนโลยี 5G เริ่มใช้งานแล้วเกิดความนิยมมากเท่าไร เชื่อมต่อสามร์ทโฟนหลายพันล้านเครื่อง เทคโนโลยีนี้จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น C-V2X เนื่องจาก C-V2X รับส่งสัญญาณเร็วกว่าน่าเชื่อถือและราคาถูกกว่า สามารถเชื่อมต่อกับไฟจราจรในรูปแบบใหม่ได้
ข้อมูล qualcomm cnet engadget